การพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อการใช้นวัตกรรมการจัดการบริการสุ ขภาพในการยกระดับคุณภาพการดำเนินงานของเขตสุขภาพที่ 8

ผู้แต่ง

  • ณัฐนันท์ สุตะวงศ์ กองตรวจราชการ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

ข้อเสนอเชิงนโยบาย, นวัตกรรมการจัดการบริการสุุขภาพ, เขตสุขภาพที่ 8

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลสำเร็จในการนำนโยบายกระทรวงสาธารณสุขไปสู่การปฏิบัติ และ วิเคราะห์ปัจจัยแห่งความสำเร็จ และนวัตกรรมการจัดการบริการสุขภาพ ตามนโยบายกระทรวงสาธารณสุข รวมทั้ง จัดทำและพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อการใช้นวัตกรรมการจัดการบริการสุขภาพ ในการยกระดับคุณภาพการ ดำเนินงานของเขตสุขภาพที่ 8 กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรของเขตสุขภาพที่ & โดยการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 59 คน ระยะเวลาตั้งแต่เดือนตลาคม 2565 ถึง กมภาพันธ์ 2567 เก็บข้อมูลโดยไช้แบบบันทึกจากการทบทวน เอกสาร แบบสัมภาษณ์ที่ใช้ในการสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ใช้ สถิติเชิงพรรณนาในการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า มีการดำเนิน โครงการสำคัญ จำนวน 6 โครงการ โดยผลการนำนโยบายบายกระทรวงสาธารณสุขสู่การปฏิบัติงานในภาพรวมมีการปฏิบัฏิบัติ อยู่ในระดับมาก (Mean-3.88, SD-0.342) และทัศนคติติต่อการนำนโยบายกระทรวงสาธารณสุขสู่การปฏิบัติงาน ใน เขตสุขภาพที่ & ในภาพรวม มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก (Mean=4.09, SD-0.457) ส่วนปัจจัยแห่งความสำเร็จใน การดำเนินงาน ได้แก่ (1) การบริหารจัดการและการประสานงาน (2) ทรัพยากรและการสนับสนุน (3) การมีส่วน ร่วมของชุมชน (4) เทคโนโลยีและนวัตกรรม และ (5) การติดตามและประเมินผลโดยมีนวัตกรรมการจัดการบริการ สุขภาพ ที่ใช้ในการดำเนินงานตามนโยบายกระทรวงสาธารณสุข ได้แก่ (1) R8 NHSO Sandbox (2) R8 Anywhere (3) R8: NSD และ (4) R8 Medical Hub โดยมีข้อเสนอเชิงนโยบายสำหรับระดับหน่วยงานที่กำหนดนโยบาย คือ นโยบายระยะสั้น ได้แก่ (1) การเพิ่มประสิทธิภาพระบบข้อมูลและการรายงาน (2) การส่งเสริมการฝึกอบรม บุคลากร (3) การสนับสนุนการใช้เทคโนโลยี (4) การพัฒนามาตรฐานการบริการสุขภาพ (5) การส่งเสริมการมี ส่วนร่วมของชุมชน (6) การเพิ่มช่องทางการสื่อสารกับประชาชน และนโยบายระยะยาว ประกอบด้วย (1) การ วางแผนระยะยาวในการพัฒนาบุคลากร (2) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านสุขภาพ (3) การวิจัยและพัฒนา นวัตกรรมทางการแพทย์ (4) การสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน (5) การพัฒนาระบบการเงินและ การประกันสุขภาพ และ (6) การสร้างระบบการวิจัยและพัฒนาที่เป็นระบบ

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. ยุทธศาสตร์์ชาติ พ.ศ. 2561 - 2580 (ฉบับประกาศราชกิจ จานุเบกษา). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ; 2561.

กองยุทธศาสตร์และแผนงานสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุุข. แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ระยะที่ 13 (พ.ศ.2565-2569) [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [สืบค้นเมื่อ 10 ม.ค. 2565]. แหล่งข้อมููล: http://spd.moph.go.th/book-manual-ebook//

สำนักงานเขตสุขภาพที่ 8. รายงานเขตสุขภาพที่่ 8 [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [สืบค้นเมื่อ 10 ม.ค. 2565]. แหล่งข้อมููล: https://r8way.moph.go.th/r8way/index/

ปิยนุุช ลอยเลิศหล้า. การนำนโยบายสู่การปฏิบัติ [วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาบริหารการศึกษา]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2559. 231 หน้า.

ศิริชัย กาญจนวาสี. สถิติเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2556.

ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง. การวัดและประเมินผลการศึกษา. พิมพ์ครังที่ 3. กรุงเทพมหานคร: วี.พริ้นท์ (1991);2559.

กาญจน์หทัย กองภา, สมิหรา จิตตลดากร. การนำนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขไปปฏิบัติ: กรณีศึกษา SMART HOSPITAL ในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ2564;6(3):152-64.

ประภาส อนันตา, เสฐียรพงษ์ ศิวินา. รูปแบบการนำแผนเชิงกลยุทธ์ ไปสู่การปฏิบัติของหน่วยบริการปฐมภููมิ อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดขอนแก่น2556;20(1):9-18.

Wagstaff A, Lindelow M. Are health shocks different? Evidence from a multishock survey in Laos [ Internet]. 2008 [cited 2023 Jan 18]. Available from: https://doi:10.1002/hec.1293.

Grumbach K, Bodenheimer T. Can health care teams improve primary care practice ? [Internet] . 2004 [cited 2023 Jan 17]. Available from: https:// doi:10.1001/jama.291.10.1246.

Barrett M, Davidson E, Prabhu J, Vargo S. Service inno¬vation in the digital age: key contributions and future directions. MIS Quarterly [Internet]. 2015 [cited 2022 Dec 23]. Available from: https://misq.org/service-inno¬vation-in-the-digital-age-key-contributions-and-fu¬ture-directions.html.

Frank L, Concannon TW, Patel KV. Health Care Resource Allocation Decision making During a Pandemic. RAND Corporation [Internet]. 2020 [cited 2022 Dec 23]. Available from: https://www.rand.org/pubs/research_ reports/RRA326-1.html

Russo EB. Taming THC. Potential cannabis synergy and phytocannabinoid-terpenoid entourage effects. British Journal of Pharmacology [Internet]. 2011 [cited 2022 Dec 23]. Available from: https://pubmed.ncbi.nlm.nih. gov/21749363/

Caroline Clarkek. Strategic Planning in Healthcare 2023. In: Loh E, Long P, Spurgeon P, editors. Springer Nature Singapore Pte Ltd [Internet]. 2019 [cited 2022 Dec 22] Available from: https://www.researchgate.net/publica¬tion/329811952_Strategic_Planning_in_Healthcare

สุุวรรณา สืบนุการณ์, ปิยะวัฒน์ ธีรวัฒนานนท์ , ณัฐพงศ์ กิตติคุุณ. ผลกระทบของนวัตกรรมการจัดการบริการสุขภาพต่อคุณภาพการดำเนินงานระบบสุขภาพระดับภูมิภาคในประเทศไทย. วารสารวิจัยระบบสุุขภาพ 2565;16(2):123- 34

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-08-31

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ