การจัดตั้งศูนย์อาเซียนด้านสาธารณสุขฉุกเฉนและโรคอุบัติใหม่ในอินโดนีเซีย ไทย และเวียดนาม:ทางออกที่ทุกประเทศต่างได้ประโยชน์หรือไม่
คำสำคัญ:
ศูนย์อาเซียนด้านสาธารณสุขฉุกเฉินและโรคอุบัติใหม่; อาเซียน; ประเทศที่ตั้ง; การเจรจาบทคัดย่อ
จากผลกระทบจากการระบาดของโควิด 19 ต่อเศรษฐกิจและสังคมของภูมิภาคอาเซียนอย่างกว้างขวางทำให้ประเทศสมาชิกอาเชียนตระหนักถึงความจำเป็นในการจัดตั้งศูนย์อาเซียนเพื่อเตรียมความพร้อมในการตอบโต้กับภาวะสาธารณสุขฉุกเฉินและโรคอุบัติใหม่ และได้ทำการศึกษาความเป็นไปได้การจัดตั้งศูนย์ฯ ช่วงกลางปี 2563 ผลการศึกษาพบว่ามีความเป็นไปได้ในการจัดตั้งศูนย์ดังกล่าว ทำให้ผู้นำอาเซียนประกาศการจัดตั้งศูนย์อาเซียนด้านสาธารณสุขฉุกเฉินและโรคอุบัติใหม่ (ASEAN Center for Public Health Emergencies and Emerging Diseases:ACPHEED) ในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 37 จัดขึ้นในเดือนพฤศจิกายน 2563 หลังจากนั้น ประเทศสมาชิกอาเซียนหลายประเทศรวมทั้งประเทศไทยได้แสดงเจตจำนงในการเป็นประเทศที่ตั้งศูนย์ดังกล่าว โดยประเทศสมาชิกอาเซียนได้ประชุมหารือและเจรจาการคัดเลือกประเทศที่ตั้งศูนย์ฯ นานเกือบสองปี จึงบรรลุฉันทมติให้มีการจัดตั้ง ACPHEED ใน 3 ประเทศ ได้แก่ ประเทศไทย อินโดนีเซียและเวียดนาม โดยจัดตั้งสำนักเลขาธิการศูนย์ ACPHEED ในประเทศไทย ซึ่งกว่าจะบรรลุฉันทมตินี้ได้ ประเทศคู่แข่งได้เจรจากันอย่างเข้มข้นก่อนการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ของการเจรจาจาก “ยึดจุดยืน” เป็น “ยืดผลประโยชน์ร่วม” จนบรรลุผลลัพธ์ที่ทุกฝ่ายต่างพึงพอใจ บทความ นี้นำเสนอความพยายามของประเทศสมาชิกอาเซียนในการจัดตั้ง ACPHEED ต่อเนื่องจากบทความพิเศษ “ศูนย์อาเซียน ด้านสาธารณสุขฉุกเฉินและโรคอุบัติใหม่: ข้อเสนอของประเทศไทย” ซึ่งพิมพ์เผยแพร่วนวารสารวิชาการสาธารณสุขเมื่อเดือนธันวาคม 2565 มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอพัฒนาการของการคัดเลือกประเทศที่ตั้ง ACPHEED และกลยุทธ์ของการเจรจาการคัดเลือกประเทศที่ทำให้สามารถบรรลุฉันทมติได้ รวมทั้งถอดบทเรียนที่สำคัญจากกระบวนการดังกล่าวเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพด้านสุขภาพโลกของประเทศไทยในการเจรจาระหว่างประเทศ
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.