การประเมินสมรรถนะด้านอาหารปลอดภัยของประเทศไทย ตามกฎอนามัยระหว่างประเทศ พ.ศ. 2548
คำสำคัญ:
กฎอนามัยระหว่างประเทศ พ.ศ. 2548, อาหารปลอดภัย, หน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่อบทคัดย่อ
ประเทศไทยต้องพัฒนาสมรรถนะในการป้องกัน ตรวจจับ และตอบโต้ภัยสุขภาพที่มาจากอาหาร ตามตัวชี้วัดทั้งสิ้น 22 ตัว ของกฎอนามัยระหว่างประเทศ (International Health Regulations: 1HR) พ.ศ. 2548 การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบสมรรถนะด้านอาหารปลอดภัย และเสนอแนะเพื่อพัฒนาสมรรถนะของประเทศไทย ผู้วิจัยได้พัฒนาแนวทางตลอดจนเกณฑ์การประเมินสมรรถนะด้านอาหารปลอดภัยที่สอดคล้องกับ ตัวชี้วัดของ IHR ประเมินสมรรถนะในระดับส่วนกลางโดยใช้วิธีการเชิงคุณภาพจาก 12 หน่วยงาน ประเมินสมรรถนะในระดับจังหวัด โดยเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง กับงานอาหารปลอดภัยจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกแห่ง จำนวน 200 คน ประเมินตนเอง และประเมินซ้ำโดยคณะทำงานพัฒนาระบบคุณภาพงานอาหารปลอดภัยระดับจังหวัด (คณะทำงานฯ) ใน 14 จังหวัดที่สมัครใจ ระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2556 ถึงกันยายน พ.ศ. 2557 ผลการประเมินในส่วนกลางผ่านเกณฑ์ทุกหน่วยงาน ในระดับจังหวัด ร้อยละ 84.2 (64 จังหวัด) ผ่านเกณฑ์สมรรถนะที่ได้คะแนนสูง ได้แก่ สมรรถนะด้านการเฝ้าระวังโรค การมีนโยบาย ด้านสื่อสารความเสี่ยง สมรรถนะที่ได้คะแนนต่ำ ได้แก่ การตอบโต้ และด้านการพัฒนาบุคลากร เมื่อเปรียบเทียบ ค่าเฉลี่ยร้อยละคะแนนที่ได้จากการประเมินตนเอง และคณะทำงานพัฒนาระบบคุณภาพงานอาหารปลอดภัยระดับ จังหวัดพบว่า 2 จังหวัด (ร้อยละ 14.0) มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p<0.05 จากผลการประเมินข้างต้นประเทศไทยควรจัดทำแผนรับมือในภาวะฉุกเฉินความปลอดภัยอาหาร และการพัฒนาหน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่อที่มีอาหารและน้ำเป็นสื่อเชี่ยวชาญในทุกระดับ
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2018 Journal of Health Science- วารสารวิชาการสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.