การพัฒนาแผ่นปิดแผลจากสารสกัดใบชะพลูที่มีประสิทธิผลในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus สาเหตุของการอักเสบของแผล

ผู้แต่ง

  • อลีนา มาแสง สาขาวิชาชีววิทยา โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ นครปฐม
  • ภารดี สุวรรณแก้ว สาขาวิชาชีววิทยา โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ นครปฐม
  • สิร์ดาภัทร์ ไกรภัสสร์พงษ์ สาขาวิชาชีววิทยา โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ นครปฐม
  • ธัญรัตน์ ดำเกาะ สาขาวิชาชีววิทยา โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ นครปฐม
  • รัชฎา บุญเต็ม ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม
  • อรวรรณ ปิยะบุญ สาขาวิชาชีววิทยา โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ นครปฐม

คำสำคัญ:

ยาปฏิชีวนะ, วิธี agar disc diffusion, สารสกัดใบชะพลู, แผ่นปิดแผล

บทคัดย่อ

เชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดการอักเสบของแผล จึงได้ใช้สารสกัดจากชะพลูในการยับยั้งการเกิดแผลอักเสบซึ่งเป็นอีกทางเลือกในการหลีกเลี่ยงการใช้ยาปฏิชีวนะที่อาจส่งผลข้างเคียงหรือ ก่อให้เกิดการดื้อยา วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย S. aureus ของสารสกัดหยาบจากใบชะพลู และพัฒนาเป็นแผ่นปิดแผลสารสกัดหยาบใบชะพลู ที่สามารถยับยั้งการเกิดแผลอักเสบได้ ซึ่งทำการศึกษาโดยสกัดใบชะพลูด้วยเมทานอลความเข้มข้น 95% แล้วทดสอบประสิทธิผลการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียด้วยวิธี agar disc diffusion พบว่าสารสกัดหยาบจากใบชะพลูที่ความเข้มข้น 22% (w/v) มีความเหมาะสมที่สุดในการ พัฒนาเป็นแผ่นปิดแผล หลังจากนั้นจึงพัฒนาแผ่นปิดแผลโดยผสมกับสารสกัดหยาบจากใบชะพลูที่ความเข้มข้น 22% (w/v) และทดสอบการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย S. aureus พบว่าแผ่นปิดแผลจากสารสกัดหยาบจากใบชะพลูความเข้มข้น 22% (w/v) แผ่นปิดแผลผสมยาปฏิชีวนะ streptomycin ความเข้มข้น 2% (w/v) และแผ่นปิดแผลตามท้องตลาดสามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย S. aureus ได้ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้นแผ่นปิดแผลจากสารสกัดใบชะพลูจึงสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในด้านผลิตภัณฑ์ทางเภสัชกรรมได้

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2018-02-26

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้