ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลเวชปฏิบัติที่ปฏิบัติงานในหน่วยบริการปฐมภูมิ เขตบริการสุขภาพที่ 4

ผู้แต่ง

  • ระเบียบ คำพิมพา ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • วันเพ็ญ แก้วป่าน ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • สุรินธร กลัมพากร ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • จุฑาธิป ศิลบุตร ภาควิชาชีวสถิติ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

พยาบาลเวชปฏิบัติ, คุณภาพชีวิตการทำงาน, หน่วยบริการปฐมภูมิ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตการทำงานและปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลเวชปฏิบัติที่ทำงานในหน่วยบริการปฐมภูมิ เขตบริการสุขภาพที่ 4 ของกระทรวงสาธารณสุข รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลเวชปฏิบัติจำนวน 314 คน ซึ่งสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามแบบตอบด้วยตนเอง วิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสถิติค่าไค- แสควร์ค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และสถิติวิเคราะห์พหุถดถอยแบบขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่า พยาบาลเวชปฏิบัติมีคุณภาพชีวิตการทำงานด้านความพึงพอใจจากการช่วยเหลือผู้อื่น ความเหนื่อยหน่ายจากการทำงานและความเครียดที่เกิดจากประสบการณ์ความทุกข์ในการช่วยเหลือผู้อื่นในระดับปานกลาง ร้อยละ 46.7, 42.5 และ 54.4 ตามลำดับ ปัจจัยด้านคุณลักษณะงาน บรรยากาศองค์กร การรับรู้การปฏิบัติงานในบทบาทพยาบาลเวชปฏิบัติสิ่งคุกคามสุขภาพ และการจัดบริการเพื่อตอบสนองความคาดหวังของผู้รับบริการ สามารถทำนายความพึงพอใจจากการช่วยเหลือผู้อื่นได้ร้อยละ 20.0 (R2-Adj.=0.20, p<0.05) ปัจจัยด้านบรรยากาศองค์กร สิ่งคุกคามสุขภาพ คุณลักษณะงาน การจัดบริการเพื่อตอบสนองความคาดหวังของผู้รับบริการ ปริมาณงาน และความยากเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพของผู้รับบริการ สามารถทำนายความเหนื่อยหน่ายจากการทำงานได้ร้อยละ 27.0 (R2-Adj=0.27, p<0.05)และปัจจัยด้านอายุ สิ่งคุกคามสุขภาพ ปริมาณงานและความยากเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพของผู้รับบริการ สามารถทำนายความเครียดที่เกิดจากประสบการณ์ความทุกข์ในการช่วยเหลือผู้อื่นได้ร้อยละ 19.0 (R2-Adj.=0.19, p<0.05 )ผลการศึกษามีข้อเสนอแนะแก่ผู้บริหารหน่วยงานควรจัดระบบและรูปแบบการทำงานโดยป้องกันสิ่งคุกคามสุขภาพในขณะทำงาน จัดทำนโยบายที่ส่งเสริมคุณค่าการปฏิบัติการพยาบาล เสริมสร้างบรรยากาศองค์กรที่ดีและสมรรถนะในการทำงาน และจัดบริการให้สอดคล้องกับความคาดหวังของผู้รับบริการเพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลเวชปฏิบัติให้ดีขึ้น

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2017-10-25

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้