การพัฒนาศักยภาพในการป้องกัน โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน แบบมีส่วนร่วมของชุมชน: กรณีศึกษา ตำบลคลองแดน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วม, การป้องกันโรคอุจจาระร่วง, แรงงานข้ามชาติบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพการป้องกันโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันของชุมชนตำบลคลองแดน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา กลุ่มผู้เข้าร่วมโครงการวิจัยครั้งนี้คือ แกนนำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุข ตัวแทนแรงงานข้ามชาติ ตัวแทนองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นและตัวแทนเจ้าหน้าที่สาธารณสุข โรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองแดน จำนวน 61 คน เก็บข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้แบบสัมภาษณ์ และข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้แบบบันทึกและแบบสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า ผู้เข้าร่วมกิจกรรม พัฒนาศักยภาพในการป้องกันโรคอุจจาระร่วงเป็นเพศชาย ร้อยละ 70.00 มีอายุเฉลี่ย 29 ปี สถานภาพสมรส ร้อยละ 82.26 และเป็นแกนนำชุมชนร้อยละ 32.79 อาสาสมัครสาธารณสุขร้อยละ 32.79 ตัวแทนแรงงานข้ามชาติร้อยละ 29.51 เจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ร้อยละ 3.27 และนักวิชาการสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ร้อยละ 1.64 ส่วนผลการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมโดยใช้เทคนิค A-1-C (Appreciate Influence Control)ได้โครงการแก้ไขปัญหาในชุมชน จำนวน 4 โครงการ (1) โครงการอบรมให้ความรู้เรื่องโรคอุจจาระร่วงแก่แรงงานข้ามชาติต่อเนื่อง (2) โครงการเยี่ยมบ้านแรงงานข้ามชาติโดยแกนนำที่ผ่านการพัฒนาศักยภาพ เพื่อเฝ้าระวังติดตามสถานการณ์ในพื้นที่ (3) โครงการพัฒนาหมู่บ้านน่าอยู่น่าอาศัยปลอดโรคอุจจาระร่วง และ (4) โครงการเฝ้าระวังโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันโดยระบบเครือข่ายชุมชน และผลจากการถอดบทเรียนพบว่า ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน คือ (1) ความร่วมมือของประชาชนในพื้นที่และองค์กรในท้องถิ่น เช่นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น และผู้นำชุมชนที่เป็น "สามประสาน" (2) การสนับสนุน ด้านวิชาการโดยเจ้าหน้าที่ วิทยากรที่มีความรู้ทางวิชาการที่สอดคล้องกับภูมิปัญญาท้องถิ่น และ (3) ความสามัคคีระหว่างประชาชนในชุมชนและแรงงานข้ามชาติมาอาศัยจนรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน รักและสมัครใจที่จะร่วมกันแก้ไข ปัญหาด้วยกัน
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2017 Journal of Health Science- วารสารวิชาการสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.