การทดสอบรูปแบบการประเมิน NCD Clinic Plus เพื่อสนับสนุนการป้องกันและดูแลรักษาโรคไม่ติดต่อ ของสถานบริการสาธารณสุขในประเทศไทย
คำสำคัญ:
ทดสอบรูปแบบ, การดำเนินงาน NCD Clinic plus, กระบวนการพัฒนาคุณภาพบริการ, ผลลัพธ์ตัวชี้วัดบทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษารูปแบบการประเมิน NCD clinic plus และศึกษาความเหมาะสมในการประเมินการจัดบริการป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อในสถานบริการสาธารณสุขในบริบทประเทศไทย โดยรวบรวมและ วิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิ (scondary data) จากรายงานโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป และโรงพยาบาลชุมชน จำนวน ทั้งสิ้น 896 แห่ง ระยะเวลาเก็บรวบรวม ข้อมูลรวม 12 เดือน ตั้งแต่ตุลาคม 2559 ถึงกันยายน 2560 ผลการศึกษาพบว่ากระบวนการพัฒนาคุณภาพการบริการซึ่งมี 6 องค์ประกอบ มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับผลลัพธ์ซึ่งมี 15 ตัวชี้วัด (r=0.89) และแบบประเมินทั้งสองส่วน คือทั้ง 6 องค์ประกอบและ 15 ตัวชี้วัด โดยพบว่าตัวชี้วัดมีผลต่อ คุณภาพในการให้บริการ โดยมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน (r=0.82) สำหรับกระบวนการพัฒนาคุณภาพการบริการทั้ง 6 องค์ประกอบ จะส่งผลต่อคุณภาพของการให้บริการ NCD clinic plus ระดับปานกลาง (r=0.51) สรุปได้ว่า รูปแบบการประเมินแบบ NCD clinic plus เป็นรูปแบบการประเมินผลด้านคุณภาพของการจัดบริการป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อ สำหรับสถานบริการที่เหมาะสมกับบริบทประเทศไทย ดังนั้นจึงควรมีการการพัฒนาและประเมินผลเพื่อติดตามรูปแบบการประเมิน NCD clinic plus อย่างต่อเนื่อง รวมถึงการทำวิจัยเพื่อนานโยบายสู่การปฏิบัติ (implementation research) และเพื่อให้เป็นเครื่องมือแก้ไขปัญหาและวางนโยบายได้ตรงกับสถานการณ์โรคไม่ติดต่อของประเทศต่อไป
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2018 Journal of Health Science- วารสารวิชาการสาธารณสุข

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.