การประเมินสภาพแวดล้อมในการทํางานและปริมาณสารอินทรีย์ระเหยง่าย ในร้านผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ไวนิลอําเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • จิตตาภรณ์ มงคลแก่นทราย สํานักวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  • อุไรวรรณ หมัดอ่าดัม สํานักวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  • มุจลินท์ อินทรเหมือน สํานักวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

คำสำคัญ:

สภาพแวดล้อม, สารอินทรีย์ระเหยง่าย, สื่อสิ่งพิมพ์ไวนิล

บทคัดย่อ

กระบวนการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ไวนิลเป็นกระบวนการที่มีความเป็นอันตราย ทั้งต่อสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมการศึกษาแบบภาคตัดขวางโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสภาพแวดล้อมในการทํางานและปริมาณสารอินทรีย์ระเหยง่ายในร้านผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ไวนิลจํานวน 10 ร้าน อําเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ śเครื่องมือ ดังนี้ (1) แบบสอบถาม (2) การตรวจวัดสภาพแวดล้อมในการทํางาน ได้แก่ อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ความเร็วลม ความเข้มแสง (3) เก็บตัวอย่างสารอินทรีย์ระเหยง่ายโดยใช้วิธีตามมาตรฐานของ NIOSH MethodNo.1501 และวิเคราะห์ผลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา ผลการศึกษาพบว่าร้านผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ไวนิล มีระยะเวลาเฉลี่ยในการประกอบธุรกิจการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ไวนิลเท่ากับ 6.50±2.07 ปี ร้อยละ 50.0 มีผู้ปฏิบัติงานที่ปฏิบัติงานในร้าน 2 คนร้อยละ 90.0 ใช้ระบบการพิมพ์เป็นแบบอิงค์เจ็ท และร้อยละ 20.0 มีระบบระบายอากาศ อุณหภูมิเฉลี่ย 30.98±1.71องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ย 65.8±5.71% และความเร็วลมเฉลี่ย 0.24±0.23 เมตรต่อวินาที ซึ่งสูงกว่าค่ามาตรฐานของ ASHRAE ร้อยละ 88.6 มีความเข้มแสงเฉลี่ยไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานจากการตรวจวัด 35 จุดปริมาณความเข้มข้นของโทลูอีน ไซลีน สไตรีน เฮกเซน และเอทิลเบนซีน เท่ากับ 0.085±0.088, 0.017, 0.004±0.003,0.031±0.033 และ 0.016 ppm ซึ่งไม่เกินค่ามาตรฐานของ ACGIH มีตรวจพบสารอินทรีย์ระเหยง่ายชนิดอื่นๆ อีก 16 ชนิดซึ่งล้วนเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน หน่วยงานภาครัฐควรมีมาตรการในการดูแลสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานกับสื่อสิ่งพิมพ์ไวนิลและควบคุมให้มีการบริหารจัดการร้านหรือออกแบบให้เหมาะสมกับการดําเนินกิจกรรมนี้อย่างเคร่งครัด

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2018-10-31

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้