ดัชนีวัดความรอบรู้ทางด้านสุขภาพเพื่อการมาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก และความตั้งใจใฝ่พฤติกรรมการมาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

ผู้แต่ง

  • สุดาฟ้า วงศ์หาริมาตย์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • กรัณฑรัตน์ บุญช่วยธนาสิทธิ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก, ดัชนีวัด, ความรอบรู้ทางด้านสุขภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เพื่อพัฒนาดัชนีวัดความรอบรู้ทางด้านสุขภาพเพื่อการมาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและความตั้งใจใฝ่พฤติกรรมการมาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก โดยประยุกต์ใช้แนวคิดความรอบรู้ทางด้านสุขภาพของ Nutbeam D และเพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจใฝ่พฤติกรรมการมาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก เพื่อศึกษาอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจใฝ่พฤติกรรมการมาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบวัดความรอบรู้ทางด้านสุขภาพ แบบวัดความตั้งใจใฝ่พฤติกรรมการมาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จํานวน 5 ท่าน กลุ่มตัวอย่าง เป็นสตรีอายุ 30-60 ปี จํานวน 422 คน จากทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย สุ่มตัวอย่างโดยวิธีสุ่มแบบหลายขั้นตอน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์ ประกอบด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ multiple regression analysis ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้าง(construct validity) โดยการวิเคราะห์ structural equation model และวิเคราะห์อิทธิพล (path analysis) ผลการวิจัยพบว่าเครื่องมือวัดความรอบรู้ทางด้านสุขภาพเพื่อการมาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก และความตั้งใจใฝ่พฤติกรรมการมาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.8-1.0 มีค่าความเชื่อมั่น 0.8-0.9 โมเดลเชิงสาเหตุปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจใฝ่พฤติกรรมการมาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ดี โดยพิจารณาจากค่าสถิติที่ใช้ตรวจสอบความตรงของโมเดลคือ X2=980.66,df=378, X2/df=2.59, p<0.05, CFI=0.97, TLI=0.96, SRMR=0.05, RMSEA=0.06 ตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงต่อความตั้งใจ ใฝ่พฤติกรรมการมาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกสูงสุดอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือการจัดการตนเองด้านสุขภาพเพื่อการมาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก รองลงมาคือการตัดสินใจด้านสุขภาพเพื่อการมาตรวจคัดกรอง มะเร็งปากมดลูกโดยมีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลเท่ากับ 0.5 และ 0.2 ตามลําดับ ส่วนตัวแปรที่มีอิทธิพลทางอ้อมต่อความตั้งใจใฝ่พฤติกรรมการมาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกสูงสุดคือ การเข้าถึงข้อมูลสุขภาพเพื่อการมาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก เส้นทางอิทธิผลผ่านทางการจัดการตนเองด้านสุขภาพเพื่อการมาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก รองลงมาคือทักษะการสื่อสารด้านสุขภาพเพื่อการมาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก เส้นทางอิทธิพลผ่านทางการเข้าถึงข้อมูลด้านสุขภาพเพื่อการมาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและผ่านมายังการจัดการตนเองด้านสุขภาพเพื่อการมาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกโดยมีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลเท่ากับ 0.3 และ 0.2 ตามลําดับผลการวิจัยนี้ทําให้ได้เครื่องมือที่มีคุณภาพสําหรับวัดความรอบรู้ทางสุขภาพเพื่อการมาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและความตั้งใจใฝ่พฤติกรรมการมาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ซึ่งผู้เกี่ยวข้องสามารถนําไปใช้ได้ตามบริบทของตน

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2018-12-28

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ