ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความผิดปกติของระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อในบุคลากรสำนักงาน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ผู้แต่ง

  • จิตตาภรณ์ มงคลแก่นทราย สำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  • อุไรวรรณ หมัดอ่าดัม สำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

คำสำคัญ:

ความผิดปกติของระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ, บุคลากรสำนักงาน

บทคัดย่อ

ความผิดปกติของระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อเป็นปัญหาสำคัญของบุคลากรสำนักงานที่ทำงานกับคอมพิวเตอร์ การศึกษาภาคตัดขวางนี้เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความผิดปกติของระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อของบุคลากรสำนักงาน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 140 คน จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ประยุกต์จากสำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมและแบบประเมินความเสี่ยงด้าน การยศาสตร์ (Rapid Upper Limp Assessment – RULA) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบไคสแควร์ อัตราส่วนออด ผลการศึกษา พบว่า ร้อยละ 83.6 มีความผิดปกติของระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อในรอบ 1 ปี อาการเจ็บปวดสูงสุด 3 อันดับแรก คือ ไหล่ขวา คอ และไหล่ซ้าย คิดเป็นร้อยละ 65.7, 62.1 และ 61.4 ตามลำดับ การประเมินความเสี่ยงด้านการยศาสตร์ พบว่า ท่าทางการทำงานของบุคลากรอยู่ระดับความเสี่ยงสูงร้อยละ 41.4 และอยู่ในระดับความเสี่ยงสูงมากร้อยละ 30.7 โรคประจำตัว การนั่งเกิน 20 นาที และระดับความเสี่ยงทางด้านการยศาสตร์มีความสัมพันธ์กับความผิดปกติของระบบ โครงร่างและกล้ามเนื้อ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p<0.05 ตามลำดับ ดังนั้น มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ควรจัดกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพที่เกี่ยวกับระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2019-03-11

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้