Situation of Public Health Management in Area of Tambon Administration Organization (TAO) of Chonburi Province - สถานการณ์การจัดการด้านสาธารณสุข ในพื้นที่ความรับผิดขอบขององค์การส่วนตำบล ในเขตจังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • Vasuton Tanvatanakul
  • Sastri Saowakontha
  • Joao Amado

บทคัดย่อ

Abstract

          Research objectives were to study phenomenon and movement of health activities, and relationship to situation of public health management during March - September 2003. The data was collected from 422 respondents, selected by multistage sampling from various groups of community members of 5 different tambon administration organizations level 1-5 and different districts of Chonburi province.

          The results showed the phenomenon of health activity that had impact on health policy, quality of life, health development experience, mass communication were mostly high (48.6, 50.2, 50.5 and 89.8% respectively); trend of problem change, alternative health, social movement health resource, were mostly in moderate condition (49.8, 50.7, 58.5 and 73.3% respectively). The movement of health activities in terms of health development spiritual and health perception, were mostly high (48.6% and 77.0% respectively) Whereas, Health knowledge, health development willingness, health interest, health development idea, were mostly at moderate condition (55.9, 60.0, 67.3  and 79.2% respectively). In addition, high level of public health management (49.3%) was reported.

         The analysis of correlation between each subvariable of phenomenon, movement of health activities and situation of public health management showed significant association (p <0.001) in every subvariable.

          Based on the results, sub-district administration organizations should be encouraged to accommodate more phenomenon and movement of health activities while strengthening their development potential and ability in carrying out health activities and community development.

Key word: public health management, health development in community, tambon administration organization

 

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาธรรมชาติแวดล้อมและความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับกิจกรรมด้านสาธารณสุข และศึกษาความสัมพันธ์ของธรรมชาติแวดล้อมและความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับกิจกรรมด้านสาธารณสุข กับสถานการณ์การจัดการด้านสาธารณสุข ในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดชลบุรี ในช่วงเดือนมีนาคมถึงกันยายน ๒๕๔๖ กลุ่มตัวอย่างจำนวน ๔๒๒ ราย จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (multistage sampling) จากระดับอำเภอ พื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลชั้นที่ ๑ ถึง ๕ ที่อยู่ต่างอำเภอกัน ชั้นละ ๑ แห่ง และกลุ่มแกนนำ กลุ่มผู้นำการเปลี่ยนแปลงกลุ่มต่างๆ และประชาชนในชุมชนทุกภาคส่วน

          ผลการศึกษาพบว่า ธรรมชาติแวดล้อมเกี่ยวกับกิจกรรมสุขภาพในเรื่องนโยบายสุขภาพของประเทศและการบริหารท้องถิ่น คุณภาพชีวิต ภูมิหลังของการพัฒนาสุขภาพและอนามัยชุมชน และการสื่อสารมวลชน อยู่ในระดับสูง เป็นส่วนใหญ่ (ร้อยละ ๔๘.๒, ๕๐.๒, ๕๐.๕, และ ๘๕.๘ ตามลำดับ) ส่วนแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของปัญหาสุขภาพทางเลือก สภาพแวดล้อมทางสังคม และทรัพยากรด้านสุขภาพ อยู่ในระดับ ปานกลางเป็นส่วนใหญ่ (ร้อยละ ๔๙.๔, ๕๐.๗, ๕๘.๕ และ ๗๓.๓ ตามลำดับ) สำหรับความเคลื่อนไหว เกี่ยวกับกิจกรรมการพัฒนาสุขภาพด้านจิตสำนึกในการพัฒนาสุขภาพ และการรับรู้สิ่งใหม่ๆ เกี่ยวกับสุขภาพ อยู่ในระดับสูง เป็นส่วนใหญ่ (ร้อยละ ๔๘.๖ และ ๗๗.๐ ตามลำดับ) ส่วนความรู้ใหม่ๆ เกี่ยวกับสุขภาพ ความตั้งใจพัฒนาสุขภาพ ความสนใจสุขภาพและแนวคิดการพัฒนาสุขภาพอยู่ในระดับปานกลางเป็นส่วนใหญ่ (๕๕.๙, ๖๐.๐, ๖๗.๓ และ ๗๙.๒ ตามลำดับ) และสถานการณ์การจัดการด้านสาธารณสุข อยู่ในระดับสูง เป็นส่วนใหญ่ (ร้อยละ ๔๙.๓)

         การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยย่อยต่าง ๆ ของธรรมชาติแวดล้อมและความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับกิจกรรมการพัฒนาสุขภาพ กับสถานการณ์การจัดการด้านสาธารณสุข พบว่า ทุกปัจจัยย่อยดังกล่าวข้างต้น มีความสัมพันธ์กับสถานการณ์การจัดการด้านสาธารณสุขอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับน้อยกว่า ๐.๐๐๑

         จึงควรส่งเสริมและเอื้ออำนวยให้ชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีธรรมชาติแวดล้อมและความ เคลื่อนไหวเกี่ยวกับกิจกรรมการพัฒนาสุขภาพในชุมชนของตนเองตามปัจจัยย่อยต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้นให้มากยิ่งขึ้น รวมทั้งส่งเสริมให้ชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความเข้มแข็ง และมีศักยภาพในการพัฒนามากขึ้นอย่างต่อเนื่องด้วย เพื่อจะได้สามารถดำเนินภารกิจด้านสุขภาพและการพัฒนาชุมชนด้านอื่นๆ ได้โดยชุมชนท้องถิ่นเองต่อไป

คำสำคัญ: การจัดการด้านสาธารณสุข, การพัฒนาสุขภาพในชุมชน, องค์การบริหารส่วนตำบล

 

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2019-05-29

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ