ผลการใช้แบบคัดกรองจิตเวชในประชาชน กลุ่มเสี่ยงจิตเวช ในเขตตำบลโคกหล่าม อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ
คำสำคัญ:
แบบคัดกรองจิตเวช, กลุ่มเสี่ยงจิตเวชบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้แบบคัดกรองโรคจิตในประชาชนกลุ่มเสี่ยงทางจิตเวช และเพื่อให้กลุ่มเสี่ยงที่มีอาการผิดปกติจากการคัดกรองได้เข้าถึงระบบบริการทางการแพทย์ได้อย่างเหมาะสม ทำการศึกษาในเขตโคกหล่าม อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ ระหว่างเดือนตุลาคม 2558 ถึงกันยายน 2559 เก็บข้อมูลโดยใช้แบบคัดกรองโรคจิต คัดกรองโดยการสัมภาษณ์ในประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคจิต จำนวน 160 คน สถิติที่ใช้ในการศึกษา คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุดกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาครั้งนี้จำนวน 160 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 56.2 และมีช่วงอายุ 40-49 ปี ร้อยละ 35.0 อายุเฉลี่ย 46.83 ปี และมีอายุต่ำสุด 19 ปี ร้อยละ 0.6 และอายุมากที่สุด 70 ปี จำนวน 1 ราย และกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีสถานะในครอบครัวโดยเป็นสมาชิกในครอบครัว ร้อยละ 87.5 และส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรสคู่ ร้อยละ 86.5 ระดับการศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษาตอนปลาย ร้อยละ 95.0 ส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 93.8 จากการใช้แบบคัดกรองโรคจิตคัดกรองในกลุ่มเสี่ยงจ� านวน 160 คน พบว่ามีความผิดปกติซึ่งมีค่าคะแนน 1 คะแนนขึ้นไป จำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 6.2 กลุ่มเสี่ยงมีอาการผิดปกติมากที่สุดคืออาการติดสุราหรือสารเสพติดจำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 60.0 มีอาการและอาการแสดงมากที่สุดคือ การพูดเพ้อเจ้อ และหูแว่ว ร้อยละ 100.0 กลุ่มเสี่ยงที่มีอาการผิดปกติทุกคน ได้รับการส่งพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยและรักษาเพื่อให้ผู้ป่วยกลับเข้าสู่สังคมและใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุข ซึ่งได้รับการวินิจฉัยเป็นผู้ป่วยจิตเวชและรับการรักษา จำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 80.0 อีก 2 ราย อยู่ในระหว่างการติดตามและประเมินอาการอย่างต่อเนื่อง
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2019 Journal of Health Science - วารสารวิชาการสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.