เดงกีซีโรทัยป์ในเขตสุขภาพที่ 10 ระหว่างตุลาคม 2554 - กรกฎาคม 2559: ผลจากห้องปฏิบัติการชันสูตรสาธารณสุข ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 10 อุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • จันทร์ฉาย คำแสน ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 10 อุบลราชธานี

คำสำคัญ:

เดงกีซีโรทัยป์, สารพันธุกรรม, ปฏิกิริยาลูกโซ่

บทคัดย่อ

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่เกิดจากยุงลายเป็นพาหะของโรค นอกจากเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทย ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศในเขตร้อนชื้น ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาตัวอย่างสงสัยโรคไข้เลือดออก จากโรงพยาบาลต่างๆ ในเขตสุขภาพที่ 10 ที่ส่งมาตรวจเดงกีซีโรทัยป์ โดยเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรม วิธี polymerase chain reaction วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเดงกีซีโรทัยป์ และแนวโน้มการระบาด รายงานจากห้องปฏิบัติการชันสูตรสาธารณสุข ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 10 อุบลราชธานี ระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2554 ถึง 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 จำนวน 327 ราย ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ พบว่าให้ผลบวก จำนวน 187 ราย ร้อยละ 57.2 กระจายทุกช่วงอายุ อายุต่ำสุด 11 เดือน สูงสุด 72 ปี พบมากสุดช่วงอายุ 11-20 ปี จำนวน 83 ราย ร้อยละ 44.4 โดยเป็นสายพันธุ์ DEN3 มากที่สุด 93 ราย ร้อยละ 49.7 อันดับสองเป็นสายพันธุ์ DEN4 51 ราย ร้อยละ 27.3 การระบาดกระจายทั้งปีแต่พบมากในเดือนมิถุนายนและกรกฎาคม เนื่องจากเริ่มฤดูฝน โดยพบว่าการติดเชื้อไข้เลือดออกกระจายทุกช่วงอายุ พบทั้งปีโดยเฉพาะในเดือนมิถุนายนและกรกฎาคม แนวโน้มรอบการระบาดพบทุกสองปี โดยแต่ละปีจะพบซีโรทัยป์ มากกว่าสองซีโรทัยป์

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2019-06-29

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้