ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
คำสำคัญ:
โรคเบาหวานชนิดที่ 2, กลุ่มเสี่ยง, โมเดลสมการโครงสร้างบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ศึกษาในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างภาย ใต้ข้อตกลงเบื้องต้นของการวิเคราะห์สมการโครงสร้าง จากนั้นสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 360 คน เครื่องมือวิจัย 6 ชุดใช้เก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรง คุณวุฒิได้ค่า IOC 0.60-1.00 และนำไปทดลองใช้ได้ค่า Cronbach’s alpha coefficient 0.76-0.87 ดำเนินการเก็บ ข้อมูลด้วยตนเองในเดือนมกราคม – มีนาคม พ.ศ. 2561 วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และหา อิทธิพลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โดยใช้สมการเชิงเส้นด้วยโปรแกรม LISREL Version 8.52 ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 70.6 มีอายุอยู่ในช่วง 48-60 ปี ร้อยละ 44.5 สถานภาพสมรส ร้อยละ 77.2 ระดับการศึกษาชั้นประถมศึกษาร้อยละ 67.5 อาชีพรับจ้าง ร้อยละ 45.6 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 7,320.83 บาท และมีประวัติญาติป่วยด้วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ร้อยละ 50.6 การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Chi-Square=109.74, p=0.71673, GFI=0.98, AGFI=0.96, SRMR=0.037, RMSEA=0.000) และพบว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อระดับน้ำตาลในเลือด ของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ประกอบด้วย ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของ กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้แก่ พฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวานชนิดที่ 2 (DE=0.11) และปัจจัยที่มี อิทธิพลทางอ้อมต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โดยส่งผ่านตัวแปรอื่นๆ มายังพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในกลุ่มเสี่ยงได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล (IE=0.65)แรงสนับสนุนทาง สังคม (IE=2.14) แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ (IE=0.05) ความรู้ (IE=0.31) และทัศนคติ (IE=-0.06) แสดง ให้เห็นว่าการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกตินั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมต่อ พฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ส่งผลให้กลุ่มเสี่ยงควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติได้
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2019 Journal of Health Science - วารสารวิชาการสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.