รูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงสูงโรคเบาหวาน อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย

ผู้แต่ง

  • ณิชารีย์ ใจคำวัง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์
  • จงรัก ดวงทอง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์
  • จันทร์เพ็ญ ชุมแสง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์

คำสำคัญ:

รูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ, กลุ่มเสี่ยงสูงต่อโรคเบาหวาน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้และพฤติกรรมเสี่ยงสูงต่อโรคเบาหวาน เพื่อพัฒนารูปแบบที่เหมาะสมต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงในตำบลบ้านแก่ง อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัยและจัดทำข้อเสนอแนะ ประชากรมีสามกลุ่ม คือกลุ่มเสี่ยงสูงโรคเบาหวานอายุ 35 ขึ้นไป 898 คนในตำบลบ้านปากคะยาง บ้านแก่งและบ้านป่าคา สุ่มตัวอย่างได้ 330 คน ผู้ให้ข้อมูลจากผู้สมัครใจร่วมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 43 คน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 25 คน เครื่องมือเก็บข้อมูลมี 6 ชุด ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิและตรวจสอบความเชื่อมั่น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Pearson Correlation และ Paired t–test ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความรู้และพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคเบาหวานในระดับปานกลางทั้งกลุ่มเสี่ยงและเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการสุขภาพตระหนักว่าเข้าใจไม่ตรงกันถึงวิธีการให้และรับเนื้อหาความรู้ความเข้าใจเพื่อนำไปปรับพฤติกรรมเสี่ยง ผู้วิจัยจึงนำข้อมูลร่วมกันพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างมีส่วนร่วมดังนี้ (1) เปรียบเทียบความเข้าใจและความต้องการของกลุ่มเสี่ยงกับเจ้าหน้าที่ (2) ตรวจยืนยันเพื่อปรับความเข้าใจและแนวปฏิบัติของทั้งสองฝ่ายด้วยการจัดประชาคมพัฒนาทักษะความรู้เชิงปฏิบัติการ (3) ทำแผนเฝ้าระวังความเสี่ยงจากพฤติกรรม และ (4) ร่วมคืนข้อมูลแก่ชุมชนและเจ้าหน้าที่เพื่อถอดบทเรียนความเหมาะสมของการใช้เทคนิคกระบวนการตามรูปแบบดังกล่าว (5) ผลการติดตามพบว่าระดับความรู้ เข้าใจและพฤติกรรมเสี่ยงดีขึ้นกว่าเดิม และ (6) รูปแบบนี้พบแนวทางเข้าถึงความรู้ความเข้าใจและตระหนักอย่างมีส่วนร่วมต่อการเกิดโรคเบาหวาน การรักษาและภาวะแทรกซ้อน ระวังพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานที่เหมาะสม และมีการปรับวิธีการถ่ายทอดความรู้จากลักษณะงานประจำของเจ้าหน้าที่ด้วยการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทำให้กลุ่มเสี่ยงมีความรู้ความเข้าใจและปรับพฤติกรรมดีกว่าเดิมหลังการใช้รูปแบบนี้แล้ว จึงเสนอแนะใช้รูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพนี้อย่างมีส่วนร่วมต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2019-10-31

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้