ประสิทธิผลของการใช้ Prophylactic Antibiotic ในการป้องกันการติดเชื้อของแผลผ่าตัด Open Mesh Hernioplasty ในโรงพยาบาลจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
การใช้ยาปฏิชีวนะป้องกันแผลผ่าตัดติดเชื้อ, การผ่าตัดไส้เลื่อนขาหนีบแบบเปิดและใส่ mesh graft, การผ่าตัดไส้เลื่อนขาหนีบ, แผลผ่าตัดติดเชื้อบทคัดย่อ
การผ่าตัดไส้เลื่อนขาหนีบแบบใส่ mesh graft เป็นหัตถการที่พบบ่อยทางศัลยกรรม และการติดเชื้อของแผลผ่าตัดก็เป็นปัญหาสำคัญอย่างหนึ่งที่พบได้ แต่แนวทางในการให้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อของแผลผ่าตัดยังไม่มีข้อสรุปชัดเจนและศัลยแพทย์มีแนวทางปฏิบัติที่แตกต่างกัน การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการให้ยาปฏิชีวนะในการป้องกันการติดเชื้อของแผลผ่าตัดไส้เลื่อนขาหนีบแบบ open mesh hernioplasty ในโรงพยาบาลจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นการศึกษาย้อนหลังและติดตามแบบมีกลุ่มเปรียบเทียบ (retrospectivecohort study) จากเวชระเบียนที่เก็บในระบบฐานข้อมูลอิเลกโทรนิกส์ของโรงพยาบาลจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ โดยสืบค้นจากผู้ป่ วยอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ที่ได้รับการผ่าตัดไส้เลื่อนขาหนีบด้วยวิธี open mesh repair ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2558 ถึงกันยายน พ.ศ. 2560 ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 358 ราย รวบรวมข้อมูลตามแบบบันทึกข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติอ้างอิงคือ Fisher’s exact test และ Student t-test ตามลักษณะของข้อมูล กำหนดนัยสำคัญที่ p<0.05 ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่ วย 358 รายในการศึกษานี้ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (ร้อยละ 95.83) อายุเฉลี่ย 58.57 ปี (SD=15.16) ชนิดการผ่าตัดเป็นแบบไม่ฉุกเฉิน (ร้อยละ 88.26) แบ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับยาปฏิชีวนะก่อนผ่าตัด 286 ราย และกลุ่มที่ไม่ได้รับยาปฏิชีวนะ 72 ราย ลักษณะทางประชากรของกลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน ทั้งในด้านข้อมูลพื้นฐาน ลักษณะอาการทางคลินิกของโรค และแนวทางการดูแลรักษาที่ได้รับ ในการศึกษานี้ไม่พบการติดเชื้อของแผลผ่าตัดในกลุ่มที่ได้รับยาปฏิชีวนะ ส่วนในกลุ่มที่ไม่ได้รับยาพบมีการติดเชื้อของแผลผ่าตัดจำนวน 2 ราย (ร้อยละ 2.78) ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ p=0.04 (NNT= 36) ผู้ป่ วยทั้งสองรายที่มีการติดเชื้อแผลผ่าตัด พบว่ามีปัจจัยเสี่ยงหลายอย่างที่มีผลต่อการเกิดแผลผ่าตัดติดเชื้อโดยสรุป การให้ยาปฏิชีวนะก่อนผ่าตัดสามารถลดการติดเชื้อของแผลผ่าตัดไส้เลื่อนขาหนีบแบบใส่ mesh graft ได้ อย่างไรก็ตามการพิจารณาให้ยาปฏิชีวนะควรต้องพิจารณาปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อในผู้ป่ วยแต่ละรายเป็นเหตุผลประกอบด้วย
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2019 Journal of Health Science - วารสารวิชาการสาธารณสุข

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.