ปัจจัยที่มีผลต่อการดูแลตนเองของหญิงหลังคลอดด้วยการแพทย์พื้นบ้าน: กรณีศึกษาในอำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง

ผู้แต่ง

  • ศิริรัตน์ ศรีรักษา คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • กุสุมาลย์ น้อยผา คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ

คำสำคัญ:

หญิงหลังคลอด, การแพทย์พื้นบ้าน, แรงสนับสนุนทางสังคม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบตัดขวาง (analytical cross-sectional research) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการดูแลตนเองของหญิงหลังคลอดด้วยการแพทย์พื้นบ้าน:  กรณีศึกษาในอำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง กลุ่มตัวอย่าง คือ หญิงหลังคลอด จำนวน 106 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน และหาค่าความเชื่อมั่นด้วยสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cron-bach’s alpha coefficient) พบว่า ความรู้เกี่ยวกับการดูแลตนเองหลังคลอดเท่ากับ 0.8 ความเชื่อในการแพทย์พื้น-บ้าน เท่ากับ 0.7 แรงสนับสนุนทางสังคมจากบุคคลในครอบครัว เท่ากับ 0.8 แรงสนับสนุนทางสังคมจากบุคลากรสาธารณสุข เท่ากับ 0.85 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา คือ จำนวน ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน  คือ  การถดถอยพหุแบบลอจีสติก  (multiple  logistic regression)  ผลการศึกษา  พบว่า  ส่วนใหญ่  ฝากครรภ์ที่โรงพยาบาล ร้อยละ 77.4 ได้รับคำแนะนำเมื่อมาฝากครรภ์ ร้อยละ 85.8 ส่วนใหญ่ไม่มีอาการผิดปกติขณะตั้งครรภ์ ร้อยละ 87.7 ได้รับคำแนะนำหลังคลอด ร้อยละ 84.9 เคยคิดอยู่ไฟหลังคลอด ร้อยละ 63.2 เลี้ยงดูบุตรด้วยนมแม่อย่างเดียว ร้อยละ 65.1 ไม่ทำหมัน ร้อยละ 69.8 พฤติกรรมการดูแลตนเองเหมาะสม ร้อยละ 50.0 และไม่เหมาะสม ร้อยละ 50.0 ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของหญิงหลังคลอดด้วยการแพทย์พื้น-บ้าน  ได้แก่  การทำหมัน  (OR=0.22,  p=0.005,  95%CI:  0.08–0.64)  แรงสนับสนุนทางสังคมจากบุคคลในครอบครัว  (OR=3.86,  p=0.006,  95%CI:  1.46–10.19)  แรงสนับสนุนทางสังคมจากบุคลากรสาธารณสุข (OR=9.60,  p=0.001,  95%CI:  2.45–37.69)  ดังนั้นหน่วยงานทางสาธารณสุขควรพัฒนาโปรแกรมการสอนสุขศึกษาแบบมีส่วนร่วมทั้งตัวของหญิงหลังคลอด  สามีและญาติ  และคลินิกให้คำปรึกษา  ความรู้  ความเชื่อในการแพทย์พื้นบ้านให้กับหญิงหลังคลอดเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติตัวที่ถูกต้องของหญิงหลังคลอดต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-02-28

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้