การพัฒนารูปแบบการพยาบาลอาชีวอนามัยในพื้นที่เสี่ยงมลพิษสิ่งแวดล้อม

ผู้แต่ง

  • อัมราภัสร์ อรรถชัยวัจน์ กองการพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข
  • ยุรีพรรณ วณิชโยบล กองการพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข
  • โศภิษฐ์ สุวรรณเกษาวงษ์ กองการพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข
  • ธีรพร สถิรอังกูร สำนักวิชาการสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข
  • ศิริมา ลีละวงศ์ กองการพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

รูปแบบ, การพยาบาลอาชีวอนามัย, มลพิษสิ่งแวดล้อม

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินผลลัพธ์ของการใช้รูปแบบการพยาบาลอาชีวอนามัยเขตพื้นที่เสี่ยงมลพิษสิ่งแวดล้อมจังหวัดฉะเชิงเทราโดยประยุกต์ใช้แนวคิดการจัดการผู้ป่วยรายกรณี วิธีดำเนินงานแบ่งเป็น 4 ระยะ คือ (1) วิเคราะห์สถานการณ์ (2) พัฒนารูปแบบการพยาบาลอาชีวอนามัยในพื้นที่เสี่ยงมลพิษสิ่ง-แวดล้อม (3) ทดลองและปรับปรุงรูปแบบ และ (4) ประเมินผลลัพธ์การใช้รูปแบบ กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเจาะจงเป็นพยาบาลวิชาชีพ จำนวนทั้งหมด 23 คน และประชาชนในพื้นที่เสี่ยงมลพิษสิ่งแวดล้อมจำนวน 382 คน เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย ได้แก่ รูปแบบการพยาบาลอาชีวอนามัยในพื้นที่เสี่ยงมลพิษสิ่งแวดล้อม และคู่มือการให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพประชาชนจากมลพิษสิ่งแวดล้อม ตรวจสอบความตรงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ (1) แบบทดสอบความรู้ของพยาบาลวิชาชีพ ค่า KR-20 เท่ากับ 0.83 (2) แบบสอบถามความพึงพอใจของพยาบาลต่อรูปแบบฯ (3) แบบสอบถามความคิดเห็นของพยาบาลวิชาชีพต่อรูปแบบฯ ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าเท่ากับ 0.72 และ 0.87 ตามลำดับ (4) แบบทดสอบความรู้ของประชาชน ค่า KR-20 เท่ากับ 0.85 (5) แบบสอบถามความพึงพอใจของประชาชนค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าเท่ากับ 0.92 และ (6) แบบบันทึกจำนวนประชาชนที่เข้าถึงบริการและได้รับการดูแลต่อเนื่อง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน และเปรียบเทียบโดยใช้สถิติ paired t-test ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการพยาบาลอาชีวอนามัยในพื้นที่เสี่ยงมลพิษสิ่งแวดล้อมที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย (1) พยาบาลผู้จัดการรายกรณี โดยกำหนดคุณสมบัติและบทบาทหน้าที่ (2) กระบวนการดูแลสุขภาพประชาชนในพื้นที่เสี่ยงมลพิษสิ่งแวดล้อมด้วยกระบวนการจัดการผู้ป่วยรายกรณี (3) แนวทางการจัดบริการอาชีวอนามัยในพื้นที่เสี่ยงมลพิษสิ่งแวดล้อม และ (4) แผนการดูแลสุขภาวะประชาชนกลุ่มต่างๆ ผลลัพธ์ของการใช้รูปแบบฯด้านผู้ให้บริการ พบว่า คะแนนเฉลี่ยความรู้ของพยาบาลก่อนและหลังใช้รูปแบบฯมีค่าเท่ากับ (mean±SD=7.13±0.69) และ (mean±SD= 8.26±0.92) ตามลำดับ และแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ความคิดเห็นของพยาบาลวิชาชีพต่อรูปแบบฯ โดยรวมพบว่าอยู่ในระดับมาก (mean±SD=3.89±0.55)ความพึงพอใจของพยาบาลต่อรูปแบบฯ พบว่า พยาบาลวิชาชีพมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก (mean±SD=4.12±0.78)ด้านประชาชน พบว่า คะแนนเฉลี่ยความรู้ของประชาชนในการดูแลสุขภาพตนเองกลุ่มตัวอย่างก่อนและหลังใช้รูปแบบฯมีค่าเท่ากับ (mean±SD=6.08±1. 80)และ (mean±SD=8.07±1. 47)ตามลำดับ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ความพึงพอใจของประชาชนพบว่าโดยรวมอยู่ในระดับมาก (mean±SD= 4.08±0.83)ด้านคุณภาพบริการพยาบาล พบว่า ประชาชนเข้าถึงบริการ ร้อยละ 100 มีประชาชนปกติร้อยละ 67 ประชาชนกลุ่มเสี่ยงร้อยละ 31 และ ได้รับการดูแลต่อเนื่องร้อยละ 2

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-02-28

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้