อุบัติการณ์การติดเชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ลูก ในเขตสุขภาพที่ 10 ปี งบประมาณ 2559-2562 หลังการรับรองการยุติการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ลูก

ผู้แต่ง

  • จันทร์ฉาย คำแสน ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 10 อุบลราชธานี
  • ชายชนท์ บุษยานุรักษ์ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 10 อุบลราชธานี
  • วิภาวดี เจียรกุล ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 10 อุบลราชธานี
  • นพมาศ กล้าหาญ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 10 อุบลราชธานี
  • สุทิศ จันทร์พันธ์ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 10 อุบลราชธานี

คำสำคัญ:

การถ่ายทอดการติดเชื้อเอชไอวี-1 จากแม่สู่ลูก, สารพันธุกรรม, ปฏิกิริยาลูกโซ่

บทคัดย่อ

ประเทศไทยมีมาตรการการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ลูก โดยให้ยาต้านไวรัสตั้งแต่แม่ตั้งครรภ์ ขณะคลอด และร่วมกับให้ทารกกินยาสูตรยาป้องกัน ในปี 2559 ประเทศไทยสามารถลดอัตราการติดเชื้อจนเหลือร้อยละ 1.9 และได้รับการรับรองจากองค์การอนามัยโลกในการยุติการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีและซิฟิลิสจากแม่สู่ลูกเพื่อศึกษาสถานการณ์และการเฝ้าระวังการติดเชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ลูกในเขตสุขภาพที่ 10 ตัวอย่างเลือดทารกที่คลอดจากมารดา ที่ติดเชื้อ ทั้งหมด 1,109 ตัวอย่าง จากโรงพยาบาลในเขตสุขภาพที่ 10 ปี พ.ศ. 2559 - 2562 ถูกนำมาตรวจด้วยวิธี DNA HIV PCR จำนวนตัวอย่างที่ส่งตรวจเรียงตามปี ได้แก่ 279, 240, 282 และ 308 ตัวอย่าง ให้ผลบวกคิดเป็นร้อยละ 0.0, 0.42, 0.0 และ 3.9 ในปี 2562 พบผลบวกจำนวน 12 ตัวอย่าง ซึ่งเป็นตัวอย่างจากบิดามารดาเป็นต่างด้าว 2 ตัวอย่าง, คลอดที่โรงพยาบาลเอกชนไม่มีข้อมูลการรับยา 4 ตัวอย่าง และคลอดที่โรงพยาบาลชุมชน 6 ตัวอย่าง ทุกตัวอย่างเป็นกลุ่มเสี่ยงสูง ผลการศึกษานี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการกำกับติดตามในกลุ่มเสี่ยงสูง เพื่อการเฝ้าระวังและสนับสนุนการยุติการถ่ายทอดการติดเชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ลูกของประเทศไทย

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-04-30

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้