การทดสอบความชำนาญการตรวจหาแอนติบอดี IgM และ IgG ต่อเชื้อไวรัสเดงกีในซีรัม ด้วยชุดทดสอบอย่างรวดเร็วชนิด Immunochromatography

ผู้แต่ง

  • พรรณราย วีระเศรษฐกุล ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 1 เชียงใหม่
  • สมคิด ธิจักร์ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 1 เชียงใหม่
  • ยุทธการ ยะนันโต ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 1 เชียงใหม่
  • ก้องภพ ธิเลางาม ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 1 เชียงใหม่
  • กชกร อินต๊ะมูล ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 1 เชียงใหม่

คำสำคัญ:

การทดสอบความชำนาญ, แอนติบอดี IgM และIgG, เชื้อไวรัสเดงกี, ชุดทดสอบอย่างรวดเร็ว

บทคัดย่อ

ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่  1  เชียงใหม่  ได้จัดกิจกรรมการทดสอบความชำนาญการตรวจหาแอนติบอดี  IgM และ  IgG  ต่อเชื้อไวรัสเดงกีในซีรัมด้วยชุดทดสอบอย่างรวดเร็ว  ระหว่างปี  พ.ศ.2556-2559  มีห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ในเขตภาคเหนือตอนบนเข้าร่วมกิจกรรมและส่งผลกลับมาจำนวน  31  แห่ง  ตัวอย่างที่จัดเตรียมสำหรับกิจกรรมนี้เป็นตัวอย่างซีรัมที่ได้เก็บรวมไว้  ซึ่งผ่านการทดสอบความเป็นเนื้อเดียวกันและความเสถียรตลอดช่วงระยะเวลาที่กำหนดให้ห้องปฏิบัติการทำการทดสอบ การประเมินสมรรถนะของห้องปฏิบัติการ คณะทำงานเลือกใช้ค่าเป้าหมายของตัวอย่าง (target value) ที่ได้จากผลทดสอบยืนยันการตรวจระดับแอนติบอดี IgM และ IgG ต่อเชื้อไวรัสเดงกีด้วยวิธี antibody capture ELISA และชุดทดสอบอย่างรวดเร็ว นำผลค่าเป้าหมายเปรียบเทียบกับผลของห้องปฏิบัติการสมาชิกในด้านความแม่น (accuracy) และความเที่ยง (precision) ในกิจกรรมนี้กำหนดเกณฑ์การประเมินให้ห้องปฏิบัติการที่มีผลสอดคล้องกันร้อยละ 90.0-100.0 เป็นห้องปฏิบัติการที่มีผลการทดสอบในระดับดีมาก ร้อยละ 80.0-89.9 ระดับดี ร้อยละ 70.0-79.9 ระดับน่าพอใจ และระดับไม่น่าพอใจ น้อยกว่าร้อยละ 70.0 จากผลการประเมินสมรรถนะห้องปฏิบัติการ  พบว่าผลการทดสอบด้านความแม่นโดยเฉลี่ยทั้งการตรวจระดับแอนติ-บอดี IgM และ IgG อยู่ในระดับดีมาก ร้อยละ 51.6 ระดับดี ร้อยละ 41.9 และระดับน่าพอใจ ร้อยละ 6.5 ส่วนผลการทดสอบด้านความเที่ยงโดยเฉลี่ยทั้งการตรวจระดับแอนติบอดี IgM และ IgG พบว่า ห้องปฏิบัติการอยู่ในระดับ  ดีมาก ร้อยละ 83.9 ระดับดี ร้อยละ 9.7 และระดับน่าพอใจ ร้อยละ 6.4 ซึ่งเห็นได้ว่าผลประเมินสมรรถนะห้องปฏิบัติการของสมาชิกส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ระดับดีมาก  กิจกรรมการทดสอบความชำนาญจึงมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสามารถของห้องปฏิบัติการให้มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่องตามระบบการจัดการคุณภาพ

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-04-30

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้