การพัฒนาคุณภาพกำลังคนเพื่อสนับสนุนการนำนโยบายกัญชาทางการแพทย์สู่การปฏิบัติ
คำสำคัญ:
การพัฒนาคุณภาพกำลังคน, กัญชาทางการแพทย์, ศาสตร์การทำให้เกิดผลสัมฤทธิ์บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพในครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อทำความเข้าใจบริบทและปัจจัยที่มีผลต่อความพร้อมของโรงพยาบาลในการนำนโยบายกัญชาทางการแพทย์ไปสู่การปฏิบัติ และเพื่อค้นหาแนวทางการพัฒนาคุณภาพกำลังคนเพื่อสนับสนุนให้การดำเนินนโยบายกัญชาทางการแพทย์บรรลุผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ การวิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบชาติพันธุ์วรรณนาในทางมานุษยวิทยา โดยใช้การผสมผสานหลายแนวคิดทฤษฎี โดยมีแนวคิดทฤษฎีหลักจากศาสตร์การทำให้เกิดผลสัมฤทธิ์ทำการศึกษาในเดือนกุมภาพันธ์ – มิถุนายน 2563 กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือโรงพยาบาล นำร่องของกระทรวงสาธารณสุขที่เริ่มให้บริการการใช้กัญชาทางการแพทย์ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2562 จำนวน 8 แห่ง โดยการสังเคราะห์และประมวลผลการศึกษาแบ่งออกเป็น 3 มิติของการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ ได้แก่ (1) การวิเคราะห์ภาพรวมของนโยบาย (2) การวิเคราะห์บริบทเชิงระบบของการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ และ (3) การวิเคราะห์ความพร้อมของโรงพยาบาล ผลการศึกษาพบว่านโยบายกัญชาทางการแพทย์ เป็นนโยบายด้านสุขภาพที่ไม่ได้เกิดจากความต้องการและแรงผลักดันจากฝ่ ายการเมืองของรัฐบาลและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเท่านั้น แต่เป็นนโยบายที่เป็นความต้องการของประชาชนชาวไทย ด้วยบริบททางวัฒนธรรมของนโยบายนี้ทำให้การสนับสนุนของบุคลากรเป็นปัจจัยสำคัญความสำเร็จของนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ โดยที่การพัฒนาคุณภาพ กำลังคน จะต้องให้ความสำคัญกับทั้งการพัฒนากำลังคนโดยตรงและการพัฒนาระบบการทำงาน ซึ่งจะเป็นการเสริมสร้างแรงจูงใจของบุคลากรอันเป็นองค์ประกอบสำคัญของความพร้อมของโรงพยาบาลในการนำนโยบายกัญชาทางการแพทย์ ไปสู่การปฏิบัติจนเกิดผลสัมฤทธิ์
Downloads
เอกสารอ้างอิง
ปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์. กัญชาทางการแพทย์. ยาวิพากษ์: จดหมายข่าวศูนย์ข้อมูลเฝ้าระวังระบบยา 2561;9(36):13-5.
Aguilar S, Gutiérrez Vc, Sánchez L, Nougier M. Medic-inal cannabis policies and practices around the world [internet]. London: International Drug Policy Consortium; 2018 [cited 2020 Apr 1]. 32 p. Available from: http://fileserver.idpc.net/library/Medicinal%20cannabis%20briefing_ENG_FINAL.PDF.
ปรุฬห์ รุจนธำรงค์ . ข้อกฎหมายเกี่ยวกับพืชกระท่อมและกัญชาในทางการแพทย์. ยาวิพากษ์: จดหมายข่าวศูนย์ข้อมูลเฝ้าระวังระบบยา 2561;9(36):19-22.
นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี. กระท่อมและกัญชาเป็นความมั่นคงด้านยาของประเทศ. ยาวิพากษ์: จดหมายข่าวศูนย์ข้อมูลเฝ้าระวังระบบยา 2561;9(36):3-8.
ระพีพงศ์ สุพรรณไชยมาตย์, โชษิตา ภาวสุทธิไพศิฐ. ประโยชน์และโทษที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้กัญชาในทางการแพทย์และการเปิดเสรีการใช้กัญชา. วารสารวิจัยระบบ-สาธารณสุข 2561;12(1):71-94.
คณะรัฐมนตรี. คำแถลงนโยบาย ของคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี แถลงต่อรัฐสภา วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม 2562. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่136, ตอนพิเศษ 186 (ลงวันที่ 25 กรกฎาคม 2562).
อนุทิน ชาญวีรกูล, สาธิต ปิตุเตชะ. นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข. การประชุมผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงสาธารณสุข; วันที่ 7 สิงหาคม 2562; ณ ห้องประชุมชัยนาทนเรนทร สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2562.
ศิรินาถ ตงศิริ, ศุภวิตา แสนศักดิ์, ชนัตถา พลอยเลื่อมแสง, วรพจน์ พรหมสัตยพรต, สุมัทนา กลางคาร. ทฤษฎีและกรอบแนวคิดของการวิจัยเพื่อนำนโยบายสาธารณสุขไปสู่การปฏิบัติ: การวิจัยอย่างเป็นระบบเพื่อค้นหากลยุทธ์การปฏิบัติตามนโยบายที่มีประสิทธิภาพ. วารสาริวิจัยระบบสาธารณสุข 2561;12(1):7-26.
Scaccia JP, Cook BS, Lamont A, Wandersman A, Cas-tellow J, Katz J, et al. A practical implementation science heuristic for organizational readiness: R=MC2. J Com-munity Psychol 2015;43(4):484-501.
Creswell JW. Research design: qualitative, quantitative, and mixed methods approaches, 4th ed. Los Angeles: SAGE Publications; 2013.
Geertz C. The interpretation of cultures. New York: Ba-sic books; 1973.
Shore C. Anthropology and public policy. In: Fardon R, Harris O, Marchand THJ, Nuttall M, Shore C, Strang V, et al, editors. The SAGE handbook of social anthropo- logy. London: SAGE Publications 2012. p. 89-104.
Buse K, Mays N, Walt G. Making health policy. Berk-shire: Open University Press; 2005.
ภูษิต ประคองสาย, มนทิรา อุตมานันท์, จิรภฎา วาณิชอังกูร, สุภาวิณี แซดกระโทก, บรรณาธิการ. นโยบายด้านสุขภาพ.ใน : พจนานุกรมการสาธารณสุขไทย พ.ศ. 2561 ฉบับ 100 ปี การสาธารณสุขไทย. นนทบุรี: สำนักวิชาการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2561.
บัณฑิต ศรไพศาล, Manthey J, Rehm J. คิดให้ชัดกับนโยบายกัญชาทางการแพทย์ของประเทศไทย. วารสารวิชาการ-สาธารณสุข 2562;28(4):755-66.
ณัฐพล ยิ่งกล้า. ราชกิจจานุเบกษา [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 1 เม.ย. 2563]. แหล่งข้อมูล:http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2.
คณะกรรมการขับเคลื่อนประชาสัมพันธ์การใช้กัญชาเพื่อการแพทย์. ปลดล็อคกัญชาทางการแพทย์เสรี [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2563 [สืบค้นเมื่อ 1 เม.ย. 2563]. แหล่งข้อมูล : http://www.medcannabis.go.th/.
จุมพล หนิมพานิช, สุรวงศ์ วรรณปักษ์. การเมืองภาคประชาชน/การเมืองภาคพลเมือง: ทางออกของการเมืองไทย. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า; 2562.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2020 Journal of Health Science - วารสารวิชาการสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.