ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในเขตอำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก
คำสำคัญ:
ปัจจัยทำนาย, พฤติกรรมการป้องกัน, โรคพิษสุนัขบ้าบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงทำนายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า และศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าของประชาชนในเขตอำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก กลุ่มตัวอย่างจำนวน 367 คน ได้จากการคำนวณโดยการใช้สูตร โดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า เครื่องมือมีค่าความเชื่อมั่น 0.805 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ด้วยวิธี Stepwise ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 55.6) อายุอยู่ในวัยทำงาน (15-59 ปี) มีรายได้น้อยกว่าหรือเท่ากับ 90,000 บาท/ปี ประกอบอาชีพเกษตรกรรม สถานภาพสมรสคู่ จบการศึกษาระดับประถมศึกษา พฤติกรรมการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าอยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 77.4) ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้ องกันโรคพิษสุนัขบ้า มี 2 ปัจจัย ได้แก่ การรับรู้ประโยชน์ในการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า (β=0.462) และการรับรู้อุปสรรคในการป้ องกันโรคพิษสุนัขบ้า (β=-0.230)ปัจจัยทั้งหมดสามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการป้ องกันโรคพิษสุนัขบ้าได้ร้อยละ 33.1 (R2 = 0.331) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Downloads
เอกสารอ้างอิง
Neevel AMG, Hemrika T, Claassen E, van de Burgwal LHM. A research agenda to reinforce rabies control: A qualitative and quantitative prioritization. PLoS Negl Trop Dis 2018;12(5):1-12.
สุนัย จันทร์ฉาย. โรคพิษสุนัขบ้าและสถานการณ์ในประเทศไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [สืบค้นเมื่อ 14 ก.ย. 2561]. แหล่งข้อมูล: https://tci-thaijo.org/index.php/reg45/article/download/123248/93701/
World Health Organization. Rabies [Internet]. 2018 [cited 2018 Sep 14]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/rabies
สุเมธ องค์วรรณดี, ประวิทย์ ชุมเกษียร, นราทิพย์ ชุติวงศ์, วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร. ต้นทุน-ผลได้ของการควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าในประเทศไทยโดยเน้นการควบคุมในสุนัข. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2546;12(6):937-48.
วีระ เทพสุเมธานนท์, วิศิษฏ์ ศิตปรีชา. การวิเคราะห์ผลการวินิจฉัยโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์ที่ส่งมาจากกรุงเทพ และภาคกลางของประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิม-พระเกียรติวิชาการ 2548;88(2):282-6.
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. สำนักระบาดวิทยาชี้คนตายจากพิษสุนัขบ้าส่วนใหญ่ถูกกัดไม่ล้างแผล-รักษา [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [สืบค้นเมื่อ 14 ก.ย. 2561]. แหล่ง-ข้อมูล: http://www.boe.moph.go.th
สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์. สาธารณสุขพิษณุโลกแนะประชาชนถูกสุนัขแมวข่วน อย่าชะล่าใจแค่แผลนิดเดียวอาจติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าได้ [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [สืบค้นเมื่อ 14 ก.ย. 2561]. แหล่งข้อมูล: http://thainews.prd.go.th/th/website_th/news/print_news/TN-SOC6103230010012
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร: จามจุรี- โปรดักส์; 2543.
Rosenstock IM. Historical origins of the health belief model. Health Education Monographs 1974;2(4):328-335.
สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค. แนวทางเวชปฏิบัติโรคพิษสุนัขบ้าและคำถามที่พบบ่อย. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: อักษรกราฟฟิ คแอนด์ดีไซน์; 2559.
สุปราณี กิติพิมพ์. ปัจจัยคัดสรรในการทำนายพฤติกรรมป้องกันภาวะกระดูกพรุนของบุคลากรทางการพยาบาล. รามาธิบดีพยาบาลสาร 2562;17(1):1-9.
อัจฉรา จินดาวัฒนวงศ์, นพวรรณ เปียซื่อ, พัชรินทร์ นินทจันทร์. ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้ องกันโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. รามาธิบดีพยาบาลสาร 2555; 18(1):58-69.
สุปรียา ตันสกุล. ทฤษฎีทางพฤติกรรมศาสตร์ : แนวทางการดำเนินงานในงานสุขศึกษาและส่งเสริมสุขภาพ. วารสาร-สุขศึกษา 2550;105:1-15.
จีระศักดิ์ เจริญพันธ์, เฉลิมพล ตันสกุล. พฤติกรรมสุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 6. มหาสารคาม: คลังนานาวิทยา; 2550.
พรจิตต์ อุไรรัตน์, วิมลรัตน์ ภู่วราวุฒิพานิช, อรวมน ศรียุกตศุทธ, ธัญญารัตน์ธีรพรเลิศรัฐ. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมป้ องกันการกำเริบของโรคในผู้ป่ วยไตอักเสบลูปัส. วารสารพยาบาลศาสตร์ 2555;30(3):55-63.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.