ผลของการสวดมนต์แบบออกเสียงต่อความเครียด และอัตราการหายใจของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

ผู้แต่ง

  • พรทิพย์ คคนานต์ดำรง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
  • อรุณรัตน์ ปัทมโรจน์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
  • ฉัตรภรณ์ มีอาจ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
  • อัญชลี ชุ่มบัวทอง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
  • ชัยยา น้อยนารถ คณะพาณิชยศาสตร์และการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง
  • ณัฏฐ์พัชร์ วณิชย์กุล คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

คำสำคัญ:

สวดมนต์, ความเครียด, อัตราการหายใจ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการสวดมนต์แบบออกเสียงต่อความเครียดและอัตราการหายใจของนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ จำนวน 40 คน กลุ่มทดลองมีการสวดมนต์แบบออกเสียง 3 ครั้งต่อสัปดาห์ จำนวน 10 ครั้ง ระยะเวลาในการสวดมนต์แต่ละครั้ง 15 นาที กลุ่มควบคุมไม่มีการสวดมนต์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบทดสอบความเครียดสวนปรุง (Suanprung Stress Test – 20, SPST – 20) และแบบบันทึกอัตราการหายใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมด้วย t-test พบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนความเครียดของกลุ่มควบคุมสูงกว่ากลุ่มทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p=0.001 และค่าเฉลี่ยของอัตราการหายใจของกลุ่มควบคุมสูงกว่ากลุ่มทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p<0.001 ในขณะที่เปรียบเทียบความแตกต่างกลุ่มก่อนและหลังการทดลองด้วย paired t-test พบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนความเครียดก่อนและหลังการสวดมนต์แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p<0.001 และค่าเฉลี่ยอัตราการหายใจก่อนและหลังการสวดมนต์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p<0.001 สรุปได้ว่าการสวดมนต์แบบออกเสียงของนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นปี ที่ 1 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ สามารถลดระดับความเครียดและอัตราการหายใจได้

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

Lazarus RS, Folkman S. Stress, appraisal, and coping. New York: Springer; 1984.

เดือนทิพย์ เขษมโอภาส. ภาวะเครียดกับการดูแลผสมผสาน. ใน: เพ็ญศรี ระเบียบ, อรพรรณ โตสิงห์, กรองไต อุณหสูต, บรรณาธิการ. บทความวิชาการการศึกษาต่อเนื่อง สาขาพยาบาลศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: ศิริยอดการพิมพ์; 2547. หน้า 111-7.

Hjortskov N, Rissen D, Blangsted AK, Fallentin N, Lundberg U, Sogaard K. The effect of mental stress on heart rate variability and blood pressure during comput-er work. Eur J Appl Physiol2004;92(1-2):84-9.

Repich D. College students use of alcohol as way of coping with social anxiety [Internet]. 2004 [cited 2018Dec 15]. Available from: http://talentdevelop.com/Col StudAlc.hlc.html

สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล, วนิดา พุ่มไพศาลชัย, พิมพ์มาศ ตาปัญญา. รายงานการวิจัยเรื่อง การสร้างแบบวัดความเครียดสวนปรุง [อินเทอร์เน็ต]. 2540 [สืบค้นเมื่อ 8 ธ.ค. 2561]. แหล่งข้อมูล: http://www.dmh.go.th/test/stress/

บทสวดมนต์. บทพุทธชัยมงคลคาถา บทชัยปริตร และพระ-คาถาชินบัญชร. กรุงเทพมหานคร: เลี่ยงเชียง; 2558.

อารี นุ้ยบ้านด่าน , ประนอม หนูเพชร, จินตนา ดำเกลี้ยง, ทิพมาส ชิณวงศ์. ผลของการฝึกสมาธิแบบเมตตาภาวนาต่อความเครียดของนักศึกษาพยาบาล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ 2551;28(2): 71-90.

จันทิมา ครุธดิลกานันท์. การฝึกสมาธิโดยใช้การนับลูกประคำต่อความเครียด อัตราการหายใจและความดันโลหิตของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2558; 24(3):479-85.

กิจจ์ศรัณย์ จันทร์โป๊ , ถนอมวงศ์ กฤษณ์เพ็ชร์. ผลของการสวดมนต์ตามแนวพุทธศาสนาและการทำสมาธิแบบอานา-ปานสติที่มีต่อการลดความเครียดของวัยรุ่น. วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ 2557;15(2):89-99.

พรทิพย์ ปุกหุต, ทิตยา พุฒิคามิน. ผลของการสวดมนต์บำบัดต่อความวิตกกังวลและความผาสุกทางจิตวิญญาณในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะรับการรักษา. วารสารสมาคมพยาบาล-แห่งประเทศไทย สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2555; 30(2):122–30.

Solberg EE, Holen A, Ekeberg O, Osterud B, Halvor- sen R, Sandvik L. The effects of long meditation on plasma melatonin and blood serotonin. Med Sci Monit 2004;10(3):CR96–101.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-10-26

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ