การทำงานแบบองค์รวมใหม่ในการสร้างเสริมสุขภาพคนไทย: โมเดลบันได 7 ระดับ จากการบริหารทุน สู่การวิจัย การปฏิบัติการ และการวัดผลลัพธ์

ผู้แต่ง

  • บัณฑิต ศรไพศาล Institute for Mental Health Policy Research, Centre for Addiction and Mental Health, Canada; Dalla Lana School of Public Health, University of Toronto, Canada; คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • Jürgen Rehm Institute for Mental Health Policy Research, Centre for Addiction and Mental Health, Canada; Dalla Lana School of Public Health, University of Toronto, Canada; Institute of Clinical Psychology and Psychotherapy & Center for Clinical Epidemiology and Longitudinal Studies, Technische Universität Dresden, Germany

คำสำคัญ:

การสร้างเสริมสุขภาพ, กรอบแนวคิด, โมเดล, การบริหารทุน, การวิจัย, การชี้นำ, การผลักดันนโยบาย, การปฏิบัติการ

บทคัดย่อ

การดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับประเทศไทยและประเทศต่างๆ ทั่วโลก ทั้งในแง่ของการสร้างเสริมสุขภาวะ ความเป็นอยู่ที่ดี การป้ องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อ ตลอดจนนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนกรอบแนวคิดการทำงานแบบองค์รวมใหม่ในการสร้างเสริมสุขภาพคนไทย: โมเดลบันได 7 ระดับ จากการบริหารทุน สู่การวิจัย การปฏิบัติการ และการวัดผลลัพธ์นี้ เป็นแผนที่การทำงานที่เชื่อมโยงการทำงานสร้างเสริมสุขภาพของทุกองคาพยพในประเทศไทย ตั้งแต่ระดับที่หนึ่ง การบริหารทุนและการวางระบบพื้นฐานสำคัญของระบบการสร้างเสริมสุขภาพคนไทย ระดับที่สอง การสร้างความเข้าใจสถานการณ์และเหตุปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างเสริมสุขภาพผ่านการสร้างความรู้และต้นแบบประเภทต่างๆ ระดับที่สาม การโน้มน้าวกลุ่มเป้ าหมายต่างๆ ที่มีผลต่อการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพของประเทศ ระดับที่สี่ การรับแนวคิดและตัดสินใจดำเนินการสร้างเสริมสุขภาพขององคาพยพต่างๆ ในประเทศไทย ระดับที่ห้า การลงมือปฏิบัติการสร้างเสริมสุขภาพจริงทั้งประเทศ ระดับที่หก การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ และระดับที่เจ็ด การเปลี่ยนแปลงสถานะทางสุขภาพ เช่น ระดับความเป็นอยู่ดีหรืออัตราการป่ วยตายของประชากรไทย การเชื่อมโยงการทำงานทั้งเจ็ดระดับนี้จะทำให้เกิดการทำงานแบบองค์รวมใหม่ในการสร้างเสริมสุขภาพคนไทย เพื่อบรรลุเป้ าหมายสูงสุด คือการมีสุขภาวะที่ดีและได้ใช้ชีวิตในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดีสำหรับคนไทยทั้งประเทศ นำสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

วิชัย เทียนถาวร. 3 ยุคสมัย การสาธารณสุขไทย [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 25 เม.ย. 2563]. แหล่งข้อมูล: https://www.matichon.co.th/columnists/news_125602

ปาริชาต ศิวะรักษ์. กำเนิดกองทุน สสส. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ; 2556.

Wasi P. Triangle that moves the mountain and health systems reform movement in Thailand. Nonthaburi, Thai-land: Health Systems Research Institute; 2000.

Sornpaisarn B, Rehm J. Strategies used to initiate the first alcohol control law in Thailand: lessons learned for oth-er low- and middle-income countries. International Journal of Drug Policy (in press).

Thamarangsi T. The “triangle that moves the mountain” and Thai alcohol policy development: four case studies. J Contemporary Drug Problems 2009;36(1-2):245-81.

World Health Organization. The triangle that moves the mountain: nine years of Thailand’s National Health Assembly (2008-2016). Geneva: World Health Orga-nization; 2017.

World Health Organization. The Ottawa Charter for Health Promotion [Internet]. [cited 2020 Apr 25]. Available from: https://www.who.int/healthpromotion/confer-ences/previous/ottawa/en/

พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560. ราชกิจจา-นุเบกษา เล่มที่ 134, ตอนที่ 32 ก (ลงวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2560).

พระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560. ราช- กิจจานุเบกษา เล่มที่ 134, ตอนที่ 39 ก (ลงวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2560).

พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 125, ตอนที่ 33 ก (ลงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551).

พระราชบัญญัติควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก พ.ศ. 2560. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 134, ตอนที่ 72 ก (ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2560).

พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 (ฉบับที่ 12). ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 136, ตอนที่ 67 ก (ลงวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2562).

World Health Organization. Milestones in health promo-tion: statement from global conferences. Geneva: World Health Organization; 2009.

World Health Organization. Health in all policies: Hel-sinki statement. Framework for country action. Geneva: World Health Organization; 2014.

World Health Organization. Global Action Plan for the Prevention and Control of Noncommunicable Diseases 2013-2020. Geneva: World Health Organization; 2013.

United Naitons. Knowledge platform: Sustainable Development Goals [Internet]. [cited 2020 Apr 27]. Available from: https://sustainabledevelopment.un.org/?menu=1300

Cecelia Health Marketing. The five stages to successful behavior change [Internet]. 18 April 2019 [cited2020 Apr 27]. Available from: https://www.ceceliahealth.com/blog/2016/1/20/the-five-stages-to-successful-behavior-change

Galbally R, Fidler A, Chowdhury M, Tang KC, Tantivess S. Ten-year review of Thai Health Promotion Foundation: Nov 2001 – Nov 2011. Bangkok: Thai Health Promo-tion Foundation; 2012.

De-Regil LM, Peña-Rosas, JP, Flores-Ayala R, Jefferds MEdS. Development and use of the generic WHO/CDC logic model for vitamin and mineral interventions in public health programmes. Public Health Nutr 2014; 17(3):634-9.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-10-26

วิธีการอ้างอิง

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้