การรับรู้ความสามารถของตนเองในการป้องกันการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง
คำสำคัญ:
การรับรู้ความสามารถของตนเอง, การป้องกันการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์, การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมและการรับรู้ความสามารถของตนเองในการ ป้ องกันการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ของนักศึกษาในมหาวิทยาลัย กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัย พะเยา จำนวน 360 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม เก็บรวบรวมข้อมูลในช่วงเดือนมีนาคมถึงเมษายน 2560 และวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 85.80) GPA อยู่ในระดับ 2.01-3.00 ค่าใช้จ่ายต่อเดือนเพียงพอ เฉลี่ย 3,001-5,000 บาท กลุ่มตัวอย่างมีคู่รัก/ แฟน ร้อยละ 61.10 และเคยมีประสบการณ์การมีเพศสัมพันธ์ ร้อยละ 16.90 กว่าครึ่งใช้ถุงยางอนามัยเป็นวิธีการ คุมกำเนิด มีเพียงร้อยละ 13.10 ที่ไม่เคยใช้วิธีคุมกำเนิด และกลุ่มที่เคยมีเพศสัมพันธ์นี้เคยเป็นโรคติดต่อทางเพศ สัมพันธ์ ได้แก่ โรคเริมอวัยวะเพศ ร้อยละ 3.30 เพื่อนมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์มากกว่า ญาติ พี่น้อง ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องเพศศึกษาจากอาจารย์เป็นส่วนใหญ่ กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมและการรับรู้ ความสามารถของตนเองในการป้ องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ระดับสูง (ร้อยละ 86.70 และ 88.10 ตามลำดับ) ประเด็นพฤติกรรม ได้แก่ การเชื่อฟังคำสั่งสอนของพ่อแม่ ครูอาจารย์ เกี่ยวกับเรื่องเพศ และหากหลีกเลี่ยงการมีเพศ สัมพันธ์ไม่ได้ จะใช้วิธีคุมกำเนิด เช่น การใส่ถุงยางอนามัยและการกินยาเม็ดคุมกำเนิด ส่วนประเด็นการรับรู้ความ สามารถของตนเอง พบว่า มีความมั่นใจเรื่องการคบเพื่อนต่างเพศได้โดยไม่มีเพศสัมพันธ์ และมั่นใจว่าสามารถเลือก คบแฟน เป็นคนให้เกียรติและเคารพการตัดสินใจของกันและกันได้ ข้อเสนอแนะให้อาจารย์ในมหาวิทยาลัยควร ส่งเสริมการให้ข้อมูลและความรู้เกี่ยวกับเรื่องเพศศึกษาแก่นักศึกษาอย่างถูกต้อง เพื่อเพิ่มการรับรู้ที่ถูกต้องใช้เป็น แนวทางการแก้ไขปัญหาและลดสัดส่วนการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ต่อไป
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.