ความพึงพอใจผู้รับบริการแผนกป่วยในโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไปสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560

ผู้แต่ง

  • วิรัช ประวันเตา สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 จังหวัดพิษณุโลก
  • สุริยาพร ตั้งศรีสกุล สำนักวิชาการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
  • พัชรวรรณ แก้วศรีงาม สำนักวิชาการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
  • จามจุรี เพียรทำ สำนักวิชาการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

ความพึงพอใจ, ผู้ป่วยใน, โรงพยาบาลศูนย์, โรงพยาบาลทั่วไป

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจผู้ป่ วยในของโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป และ เปรียบเทียบความพึงพอใจผู้ป่ วยในตามขนาดโรงพยาบาล กลุ่มผู้รับบริการของโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป โดยศึกษาในกลุ่มตัวอย่างผู้ใช้บริการแผนกผู้ป่ วยในที่สุ่มด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม ประมาณค่า 5 ระดับ สอบถาม 4 ด้านได้แก่ (1) ขั้นตอนบริการ (2) เจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ (3) สิ่งอำนวยความ สะดวก และ(4) ผลลัพธ์บริการ ที่ผ่านการตรวจสอบความตรงโดยหาค่า IOC (index of item-objective congruence) พบมีค่า 0.80 – 1.00 และค่าความเชื่อมั่น (Cronbach’s alpha) เท่ากับ 0.87 นำไปใช้เก็บข้อมูลจาก โรงพยาบาล 77 แห่ง แบ่งเป็นโรงพยาบาลศูนย์ (A) 27 แห่ง โรงพยาบาลทั่วไป (S) 27 แห่ง และโรงพยาบาลทั่วไป (M1) 23 แห่ง คำนวณกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของยามาเน่เพื่อเป็นตัวแทนของโรงพยาบาลแต่ละแห่ง รวมทั้งสิ้น 26,411 ตัวอย่าง สำรวจข้อมูลโดยงานพัฒนาคุณภาพของโรงพยาบาลฯ นำเข้าข้อมูลผ่านระบบออนไลน์ แล้ว วิเคราะห์ข้อมูลเป็นค่าร้อยละ ทดสอบความแตกต่างระหว่างกลุ่มโดยสถิติ One way ANOVA ผลการวิจัยพบว่าผู้ใช้ บริการส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง จบการศึกษา ระดับมัธยมศึกษา/อนุปริญญาลงมา ,อายุ 30 - 59 ปี มีอาชีพรับจ้าง ทั่วไป/กรรมกร เกษตรกรและค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ส่วนใหญ่เป็นผู้ป่ วยในแผนกอายุรกรรม ศัลยกรรม และหอผู้- ป่ วยห้องพิเศษ จากการวิเคราะห์ระดับความพึงพอใจในภาพรวมคิดเป็นร้อยละ 79.40 โดยพึงพอใจสูงสุดด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ และต่ำสุดด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ดังนี้ (1) ขั้นตอนการให้บริการ พึงพอใจสูงสุดเรื่องให้ บริการตามลำดับก่อนหลังไม่เลือกปฏิบัติ ต่ำสุดเรื่องความสะดวกรวดเร็วการให้บริการ (2) เจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการพึงพอใจสูงสุดเรื่องความซื่อสัตย์สุจริตในการปฏิบัติหน้าที่ฯ ต่ำสุดเรื่องการเอาใจใส่ กระตือรือร้นและความพร้อมให้ บริการ (3) สิ่งอำนวยความสะดวก พึงพอใจสูงสุดต่อการมีป้ ายสัญลักษณ์/การประชาสัมพันธ์ที่ชัดเจนและเข้าใจง่าย ต่ำสุดเรื่องช่องทางรับฟังข้อคิดเห็นต่อการบริการ (4) คุณภาพบริการ พึงพอใจสูงสุดต่อการได้รับการบริการที่ดี และมีคุณภาพ ต่ำสุดเรื่องความคุ้มค่า คุ้มเวลา คุ้มประโยชน์ และจากการเปรียบเทียบความพึงพอใจจำแนกตามเพศ ระดับการศึกษา พบมีความพึงพอใจใกล้เคียงกัน โดยกลุ่มอายุ 60 ปี ขึ้นไป อาชีพข้าราชการมีความพึงพอใจสูงสุด ต่ำสุดคือพนักงานบริษัท เมื่อจำแนกตามหอผู้ป่ วยในพบหอผู้ป่ วยไอซียูมีความพึงพอใจสูงสุด ต่ำสุดคือหอผู้ป่ วยอายุรกรรม เปรียบเทียบความพึงพอใจตามขนาดโรงพยาบาลพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.05 โดยโรงพยาบาลทั่วไป(S) มีระดับความพึงพอใจสูงกว่าโรงพยาบาลทั่วไป (M1) และโรงพยาบาลศูนย์ (A)ซึ่งข้อมูลนี้จะเป็นประโยชน์ในการจัดระดับเทียบเคียงผลการดำเนินการระหว่างโรงพยาบาล กระตุ้นส่งเสริมให้ เกิดการพัฒนายกระดับคุณภาพบริการอย่างต่อเนื่องยั่งยืนต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-02-25

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้