การพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ที่มีภาวะแทรกซ้อนจากเชื้อฉวยโอกาส

ผู้แต่ง

  • อัชณา อ่ำทอง โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์

คำสำคัญ:

การพยาบาล, ผู้ป่วยติดเอชไอวี/เอดส์, ติดเชื้อฉวยโอกาส

บทคัดย่อ

ผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ เป็นผู้ป่วยที่มีความทุกข์ทรมานทั้งด้านร่างกายและจิตใจ เนื่องจากเป็นโรคเรื้อรังที่รักษาไม่หาย
ต้องได้รับการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง การวินิจฉัยการพยาบาล ที่ครอบคลุม ถูกต้อง สามารถช่วยให้ผู้ป่วยเผชิญกับความเจ็บป่วย และปรับตัวอยู่ในสังคมได้อย่างเหมาะสม พยาบาลที่บ้านและชุมชนจัดเป็นบุคลากรสุขภาพที่ใกล้ชิดผู้ป่วยและครอบครัว เมื่อกลับไปรักษาต่อเนื่องที่บ้าน สนับสนุนครอบครัวให้เข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมายและตัดสินใจร่วมกันเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ ให้ข้อมูลข่าวสาร ให้บริการสุขภาพครอบคลุมด้านการส่งเสริมป้องกัน รักษาฟื้นฟูสภาพแก่ครอบครัวและชุมชนรวมถึงการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้การรักษาประสบความสำเร็จ ไม่เกิดการดื้อยา พึ่งพาตัวเองได้ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน

วัตถุประสงค์

  เพื่อศึกษากระบวนการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ที่มีภาวะแทรกซ้อนจากเชื้อฉวยโอกาส

วิธีการศึกษา 

  คัดเลือกผู้ป่วยเอดส์ที่มีโรคร่วมวัณโรคปอดที่มีความสมัครใจ เพื่อให้การดูแลโดยใช้กระบวนการพยาบาล ประกอบด้วยการรวบรวมข้อมูลผู้ป่วยและครอบครัว  ตามแบบแผนสุขภาพของกอร์ดอน 11 ข้อ ดำเนินการวินิจฉัย วางแผนให้การพยาบาล
ที่สอดคล้องกับปัญหา และประเมินผลการพยาบาล และปัญหาที่พบจากการเยี่ยมบ้านและการแก้ปัญหา

 ผลการศึกษา

  ผู้ป่วยตรวจพบว่าติดเชื้อเอชไอวี มีระดับภูมิคุ้มกันต่ำ และมีภาวะแทรกซ้อนจากโรคติดเชื้อฉวยโอกาสคือวัณโรค ผู้ป่วยมีความวิตกกังวลเรื่องสุขภาพ กลัวความลับถูกเปิดเผยและสังคมรังเกียจ มีความเจ็บป่วยทั้งทางร่างกายและจิตใจ ต้องการความช่วยเหลือ พยาบาลจึงมีบทบาทในการส่งเสริมความสามารถในการดูแลตนเอง ให้ความรู้ คำแนะนำ เป็นที่ปรึกษา ให้กำลังใจเพื่อการมีสุขภาพดีและรับการรักษาต่อเนื่อง เป็นผู้ประสานความร่วมมือระหว่างบุคลากรทีมสุขภาพ ผลการศึกษาครั้งนี้ นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาศักยภาพทีม เป็นแนวทางในการประเมินและดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนจากโรคติดเชื้อฉวยโอกาสอื่นๆ อีกด้วย

สรุป

  กรณีศึกษานี้ ทำให้เห็นกระบวนการดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวมอย่างมีขั้นตอนและครอบคลุมของพยาบาล การรักษาความลับของผู้ป่วย การเยี่ยมบ้านผู้ป่วยที่บ้านจะลดการขาดการรักษา การเยี่ยมบ้านอาจช่วยค้นพบปัญหาอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับโรคหรือพฤติกรรมสุขภาพ ซึ่งเมื่อได้รับการแก้ไขก็จะส่งผลดีต่อการรักษา จะส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง ช่วยลดหรือป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจรุนแรงตามมาได้ และปรับตัวอยู่ในสังคมได้อย่างเหมาะสม

เอกสารอ้างอิง

กระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมโรค สำนักโรคเอดส์ วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์. (2548). Management of tuberculosis modified WHO modules of managing tuberculosis at district lever (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

จรรยา เสียงเสนาะ. (2549). การพยาบาลชุมชนและการรักษาพยาบาลเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: แสงจันทร์การพิมพ์.

ประทีป ดวงงาม, วัลลภา คชภักดี, และ ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์. (2555). ระดับคุณภาพชีวิตและปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของ ผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ที่ได้รับยาต้านไวรัสเอชไอวี ในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดตรัง. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ, 15(3) ฉบับพิเศษ, 217-226.

ประพันธ์ ภานุภาค .(2553). แนวทางการตรวจวินิจฉัยและการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ระดับชาติ ปี 2553. กรุงเทพฯ: ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ไพเราะ ผ่องโชค. (2547). การพยาบาลอนามัยชุมชน (พิมพ์ครั้งที่ 1). (น.193-316). กรุงเทพฯ: จุดทอง.

ภาสกร อัครเสวี. (2544). แนวทางระดับชาติ : ยุทธศาสตร์การผสมผสานการดำเนินงานวัณโรคและเอดส์ เพื่อการควบคุมและป้องกันวัณโรคในผู้ติดเชื้อเอดส์ในประเทศไทย (พิมพ์ครั้งที่1). กรุงเทพฯ: ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

มัตติกา ใจจันทร์, วันทนา มณีศรีวงศ์กูล, และพูลสุข เจนพานิชย์ วิสุทธิพันธ์ . (2558). ความสัมพันธ์ของลักษณะส่วนบุคคล อุปสรรคในการเข้าถึงบริการ และการรับรู้ตราบาปกับความต่อเนื่องสม่ำเสมอในการรับประทาน ยาต้านไวรัสของผู้ติดเชื้อเอชไอวี . วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 26(2), 78-92.

สุพัตรา คงปลอด, พูลสุข เจนพานิชย์ วิสุทธิพันธ์, อรสา พันธ์ภักดี, และคณะ. (2558). การรับรู้ความต้องการการดูแลตนเองแลพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเอดส์ที่ติดเชื้อฉวยโอกาส .วารสารรามาธิบดี พยาบาลสาร, 21(1), 38-51.

ส่งศรี กิตติรักษ์ตระกูล, สารา วงษ์เจริญ, และศิริมา ลีละวงศ์. (2544). มาตรฐานการพยาบาลในชุมชน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

Boonet MM, Pinoges LL, Varaine FF, Oberhauser BB, Brien DD, Kebede YY, et al. (2006). Tuberculosis after HAArT initiation in HIV–positive patients from five countries with a high tuberculosis burden. AIDS, 20 (9), 1275–1279.

Boyes ME, Cluver LD. (2013). Relationships among HIV/AIDS orphanhood, stigma, and symptoms of anxiety and depression in South African Youth: A longitudinal investigation using a path analysis framework. Clinical Psychological Science, 1(3), 323-330

Gordon M. (1994). Nursing Diagnosis: Process and Application (3rd ed). New York: Mc Graw Hill.

Sinoussi FB, Chermann JC, rey F, Nugeyre MT, Chamaret S, Gruest J, et al. (1983). Isolation of T–lymphotropic retrovirus from a patient at risk for acquired immune deficiency syndrome (AIDS). Science, 220 (4599), 868–871.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-07-02