การพยาบาลผู้ป่วยอัมพาตครึ่งท่อนล่างในชุมชนโดยใช้การประเมิน แบบแผนสุขภาพ 11 แบบแผนโดยชุมชนมีส่วนร่วม : กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • ดุจเดือน จิตเงิน โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์

คำสำคัญ:

การพยาบาลอัมพาตครึ่งท่อนล่าง, การบาดเจ็บไขสันหลัง, ไขสันหลังอักเสบ

บทคัดย่อ

การศึกษาเป็นแบบกรณีศึกษา มีวัตถุประสงค์การศึกษา เพื่อศึกษาความรู้เกี่ยวกับอัมพาตครึ่งท่อนล่างในชุมชน นำมาเปรียบเทียบกรณีศึกษา ส่งเสริม ป้องกัน การเกิดภาวะแทรกซ้อนและฟื้นฟูสภาพโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนและเพื่อเป็นกรณีศึกษาและข้อมูลแก่พยาบาลในชุมชน และบุคคลากรในสหสาขาวิชาชีพที่เกี่ยวข้องให้เข้าใจปัญหาของผู้ป่วยอัมพาตครึ่งท่อนล่างและสามารถนำไปพัฒนาแนวทางการพยาบาลให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในกรณีศึกษาในครั้งนี้คือผู้ป่วย ในชุมชนเขตรับผิดชอบของศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองวัดช่องคีรีศรีสิทธิวรารามที่มีภาวะอัมพาตครึ่งท่อนล่าง จำนวน 2 ราย เพศชายอายุ 40 ปี  เพศหญิงอายุ 56 ปี ศึกษาในช่วงเดือน มกราคม 2566–กันยายน 2566  เก็บรวบรวมข้อมูลจากการเยี่ยมบ้านและจากเวชระเบียนตามกระบวนการพยาบาล ดังนี้ 1)ประเมินปัญหาและความต้องการการพยาบาล 2)นำข้อมูลที่ได้มาวินิจฉัยทางการพยาบาล 3)วางแผนให้การพยาบาล 4)ปฏิบัติการพยาบาล 5)ประเมินผลการพยาบาล 6)เปรียบเทียบกรณีศึกษา 7)สรุปและข้อเสนอแนะ ผลการเปรียบเทียบกรณีศึกษาสิ่งที่มีความเหมือนกันคือ เป็นผู้ป่วยอัมพาตครึ่งท่อนล่างและเป็นผู้นำครอบครัวและมีปัญหาสุขภาพที่เหมือนกันคือ มีความเครียดวิตกกังวล พักผ่อนน้อย ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ท้องผูก แผลกดทับ อาการปวด ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น เช่น หลอดเลือดอุดตัน กล้ามเนื้อลีบ อุบัติเหตุต่างๆ ปัญหาจากสิ่งแวดล้อม ความสามารถของผู้ดูแลหลักถดถอย และชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแล  ความต่างคือสาเหตุการบาดเจ็บที่ไขสันหลังจากถังแก๊สหล่นทับหลังและไขสันหลังอักเสบจากการติดเชื้อ ระดับการศึกษา ป.6 กับปริญญาตรี สถานภาพ อาชีพ มีความขัดแย้งในชุมชน ความรอบรู้เกี่ยวกับภาวะสุขภาพ บริบทที่ต่างกัน การศึกษานี้ได้นำความรู้การพยาบาลบาดเจ็บไขสันหลัง การพยาบาลครอบครัว การพยาบาลจิตเวช ทฤษฎีการพยาบาล มาวางแผนและแก้ปัญหา สามารถแก้ไขสำเร็จและบางปัญหายังต้องติดตามต่อเนื่องสิ่งสำคัญในการดูแลกรณีศึกษาทั้ง 2 รายนี้ คือการได้รับความร่วมมือจากชุมชนและชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยเป็นอย่างดี ข้อเสนอแนะ คือ 1) ควรพัฒนาสมรรถนะการพยาบาล ในการดูแลผู้ป่วยอัมพาตครึ่งท่อนล่างในชุมชน และ 2) ส่งเสริมให้บุคลากรมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสภาพจิตใจผู้ป่วย เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยได้ครบทั้ง 4 มิติ กาย จิต สังคมและจิตวิญญาณ ตัวอย่างเช่น สมาธิบำบัด การจัดการความเครียด เป็นต้น เพื่อยกระดับผลลัพธ์การดูแลอย่างมีประสิทธิภาพ

เอกสารอ้างอิง

กิ่งแก้ว ปาจรีย์. (2558). ไขสันหลังบาดเจ็บ. กรุงเทพฯ: เอ็น พี เพรส.

จินตนา วัชรสินธ์. (2560). การพยาบาลครอบครัวที่มีสมาชิกเจ็บป่วยเรื้อรัง. ชลบุรี:ชลบุรีการพิมพ์.

วิจิตรา กุสุมภ์ และ สุลี ทองวิเชียร. (2562). ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลและการวางแผนการพยาบาล: กรณีศึกษา. กรุงเทพฯ: พี.เค.พริ้นท์ติ้ง.

พรศิริ พันธสี. (2561). กระบวนการพยาบาล แบบแผนสุขภาพ กระบวนการประยุกต์ใช้ทางคลินิก. กรุงเทพ : พิมพ์อักษร.

สุภาพ อารีเอื้อ. (2564). การพยาบาลออร์โธปิดิกส์:จากหลักฐานเชิงประจักษ์สู่การปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิก. กรุงเทพ : ไอดี ออล ดิจิตอล.

ไสว นรสาร และ พีรญา ไสไหม. (2559). การพยาบาลผู้บาดเจ็บ Trauma Nursing. นนทบุรี: บียอนด์ เอ็น เทอร์ไพรซ์.

อรอนันท์ หาญยุทธ. (2565). กระบวนการพยาบาล:ทฤษฎีสู่การปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพ: ธนอรุณการพิมพ์.

Gordon M. Nursing diagnosis: Process and application. New York: McGrawHill Book Co; 1982.

Gibson CH. A concept analysis of empowerment. Journal of Advanced nursing. 1991; 16(3), 354-361

Orem DE. Nursing: Concepts of practice 4 th ed. Philadelphia: Mosby-YearBook; 1991

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-07-02