ประสิทธิผลการดำเนินงานของ อสม.หมอคนที่ 1 ในระบบสุขภาพปฐมภูมิ เขตสุขภาพที่ 7

ผู้แต่ง

  • ถวิล เลิกชัยภูมิ ศูนย์สนับสนุนบริการสุขภาพที่ 7 กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ

คำสำคัญ:

อสม., ระบบสุขภาพปฐมภูมิ, การรับรู้บทบาท, แรงจูงใจ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยประเมินผล (Evaluation Research) มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิผลการดำเนินงานของ อสม.หมอคนที่ 1 ในระบบสุขภาพปฐมภูมิเขตสุขภาพที่ 7 เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยคำถามปลายเปิดแบบกึ่งโครงสร้าง โดยวิธีการสนธนากลุ่มในเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานด้านสาธารณสุขมูลฐานและสุขภาพปฐมภูมิในระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล และ  อสม. จากจังหวัดเขตสุขภาพที่ 7 จังหวัดละ 15 คน และวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลตาม CIPP Model และเก็บข้อมูลเชิงปริมาณจาก อสม.หมอคนที่ 1 จำนวน 424 คน โดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ การแจกแจงความถี่  ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษาเชิงคุณภาพ พบว่า (1) ด้านบริบท (Context) มีการพัฒนาอสม.หมอคนที่ 1 โดยใช้หลักสูตร อสม.หมอประจำบ้าน การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และการจัดการปัญหาที่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ (2) ด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input) อสม.มีความพร้อมที่จะเรียนรู้และพัฒนาตนเองให้สามารถปฏิบัติงานในระบบสุขภาพปฐมภูมิ (3) ด้านกระบวนการ (Process) การทำงานส่วนใหญ่เป็นการประสานงานระหว่าง อสม.หมอคนที่ 1 และหมอคนที่ 2 ซึ่งเป็นรูปแบบการดำเนินงานเดิม และ (4) ด้านผลลัพธ์ (Product) อสม.หมอคนที่ 1 เป็นผู้ที่มีส่วนช่วยหมอคนที่ 2 และหมอคนที่ 3 ในการติดตามผู้ป่วย สื่อสารและให้คำปรึกษาผู้ป่วย และส่งต่อข้อมูลในชุมชนเชื่อมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และในส่วนของผลการศึกษาเชิงปริมาณ พบว่า อสม.ส่วนใหญ่มีการรับรู้บทบาท อสม.หมอคนที่ 1 อยู่ในระดับสูงร้อยละ 59.91 มีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานในระดับสูง ร้อยละ 57.31 ซึ่งจากผลการศึกษาดังกล่าวจึงควรมีการเพิ่มศักยภาพ อสม.หมอคนที่ 1 ในการดำเนินงานในระบบสุขภาพปฐมภูมิ  ในด้านองค์ความรู้ ทักษะด้านการสื่อสาร และการประเมินผลการดำเนินงาน

เอกสารอ้างอิง

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2557). วิวัฒนาการการสาธารณสุขมูลฐานในประเทศไทย (พ.ศ.2521 –พ.ศ. 2557). นนทบุรี: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การทหารผ่านศึก.

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2564). แนวทางการดําเนินงานสุขภาพภาคประชาชนนโยบาย 3 หมอ. นนทบุรี: กรมสนับสนุน บริการสุขภาพ.

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2565). 3 หมอ คนไทยทุกครอบครัวมีหมอประจำตัว 3 คน. สืบค้น 5 มีนาคม 2566, จาก https://prgroup.hss.moph.go.th/article/1175- 1175-3-หมอ-“คนไทยทุกครอบครัวมีหมอประจำตัว-3-คน”

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2566). รายงาน 3 หมอรู้จักคุณ. สืบค้น 5 มีนาคม 2565, จาก

https://3doctor.hss.moph.go.th/main/rp_province?region=Nw==

ปุญญพัฒน์ ไชยเมลล์. (2558). วิธีวิจัยทางสาธารณสุข (พิมพ์ครั้งที่ 3). สงขลา: บริษัทนำศิลป์โฆษณา จำกัด.

ทรงศักดิ์ เทเสนา. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานเยี่ยมบ้านของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในทีมหมอ ครอบครัว. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร, 23(2), 70-82.

Benjamin, S.B. (1971). Handbook on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York: McGraw-Hill.

ฑิณกร โนรี, ชลิดา พลอยประดับ, วิชาวี พลอยส่งศรี และผกาลักษณ์ ผดุงสันต์ (2565) รายงานฉบับสมบูรณ์การถอดบทเรียน การดำเนินนโยบาย “คนไทยทุกครอบครัว มีหมอประจำตัว 3 คน” ใน 4 จังหวัด ของประเทศไทย. นนทบุรี: สำนัก งานวิจัยและพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข.

จรูญลักษณ์ ป้องเจริญ และยุคนธ์ เมืองช้าง. (2019). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านจังหวัด สุพรรณบุรี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 29(1), 60-70.

ภานุวัฒน์ พิทักษ์ธรรมากุล. (2565). ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของ อสม. ในชุมชนต้นแบบเขตสุขภาพที่ 5. ราชบุรี: ศูนย์สนับสนุนบริการสุขภาพที่ 5 กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ.

อารุจี ศักดิ์สวัสดิ์. (2563). คุณภาพการให้บริการของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในพื้นที่ สถานการณ์ความไม่สงบ: กรณีศึกษาประชาชนในพื้นที่ตำบลโคกโพธิ์ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี (วิทยานิพนธ์หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประสาศนศาสตร์). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ขวัญเมือง แก้วดำเกิง, อลงกรณ์ เปกาลี, จำเนียร ชุณหโสภาค และชาติชาย สุวรรณนิตย์. (2559). บทบาทของ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในทีมหมอครอบครัว. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 9(2), 6-14

สมทรง สุภาพ. 2565. รูปแบบเพื่อประเมินหลักสูตรในศตวรรษที่ 21 ซึ่งพัฒนาจากรูปแบบการประเมิน CIPP Model. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 33(1), 1-13.

ทรรศนีย์ บุญมั่น. 2564. ปัจจัยที่มีผลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านจังหวัดสุโขทัย (วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-07-02