การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง จากภาวะหลอดเลือดสมองแตก

ผู้แต่ง

  • สุกัญญา ตรุสานันท์ โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์

คำสำคัญ:

การพยาบาล, ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง, หลอดเลือดสมองแตก

บทคัดย่อ

โรคหลอดเลือดสมองเป็นโรคทางระบบประสาทที่พบบ่อย ซึ่งเป็นสาเหตุการตายที่สำคัญ และมีความพิการหลงเหลืออยู่ ส่งผลกระทบต่อตัวผู้ป่วยและครอบครัว ดังนั้นการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง นอกจากการดูแลตามแผนการรักษาพยาบาลผู้ป่วยในโรงพยาบาลแล้วควรเป็นการดูแลแบบองค์รวมเน้นการมีส่วนร่วมของทีมสหสาขาวิชาชีพและครอบครัว เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน และญาติได้รับการเตรียมความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน ทำให้ผู้ป่วยรอดชีวิตและมีการฟื้นสภาพที่ดีขึ้น

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษากระบวนการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจากภาวะหลอดเลือดสมองแตก

วิธีการศึกษา เป็นกรณีศึกษาเชิงพรรณนา โดยคัดเลือกผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจากภาวะเลือดออกในสมอง(Cerebral Hemorrhage) ในพื้นที่รับผิดชอบของศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองสวรรค์ประชารักษ์ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ เวชระเบียนผู้ป่วยนอก การสัมภาษณ์ญาติและผู้ป่วย การสังเกตขณะเยี่ยมบ้าน แบบประเมินผู้ป่วยตามแนวทางด้านสุขภาพ 11 แบบแผนของกอร์ดอน

ผลการศึกษา พบว่า ผู้ป่วยและญาติมีปัญหาในการดูแลผู้ป่วยเมื่ออยู่ที่บ้าน ทำให้ไม่สามารถดูแลผู้ป่วยได้อย่างถูกต้อง และขาดความมั่นใจในการดูแลผู้ป่วย จึงได้นำทฤษฎีความพร่องการดูแลตนเองของโอเร็ม ทฤษฎีการเสริมสร้างพลังอำนาจของกิ๊ฟสัน ทฤษฎีการมีส่วนร่วมของโคเฮนและอัฟฮอฟ์ฟ และทฤษฎีการปรับตัวของรอย มาใช้เป็นแนวทางการวางแผนการพยาบาล เพื่อเป็นการเสริมพลังและความรู้ให้กับผู้ป่วยและครอบครัว ในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองได้อย่างถูกต้องและมั่นใจ และจากการติดตามเยี่ยมผู้ป่วยโดยทีมสหสาขาวิชาชีพทุก 1 สัปดาห์ พบว่าภายในเวลา 1 เดือน ผู้ป่วยมีคะแนนการประเมินกิจวัตรประจำวันตาม Barthel Index เพิ่มขึ้นจาก 4 คะแนน เป็น 13 คะแนน ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนที่ป้องกันได้ ภายในเวลา 4 เดือน ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน และเดินโดยใช้อุปกรณ์การพยุงเดิน 4 ขาได้ (Walker)

สรุป กรณีศึกษาดังกล่าวได้แสดงให้เห็นว่าพยาบาลเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการประเมินและค้นหาปัญหาของผู้ป่วยตั้งแต่แรกรับ ส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาพยาบาลที่รวดเร็ว ทันเวลา รวมทั้งติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วย ให้ได้รับการดูแลฟื้นฟูสภาพร่างกาย เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนเมื่อกลับมาอยู่ที่บ้าน และส่งเสริมให้ญาติ ผู้ดูแล และเครือข่ายมีความรู้ในการดูแลฟื้นฟูสภาพร่างกาย  และลดปัจจัยในโอกาสการกลับเป็นซ้ำ

เอกสารอ้างอิง

จินตนา วัชรสินธ์. (2560). การพยาบาลครอบครัวที่มีสมาชิกเจ็บป่วยเรื้อรัง (พิมพ์ครั้งที่ 1). ชลบุรี: ชลบุรีการพิมพ์.

นิภาพร บุตรสิงห์. (2562). การพยาบาลผู้ป่วยหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน. วารสารสภาการพยาบาล, 34 (3), 15-29.

พรศิริ พันธสี. (2561). กระบวนการพยาบาล แบบแผนสุขภาพ กระบวนการประยุกต์ใช้ทางคลินิก (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ พิมพ์อักษร.

วิจิตรา กุสุมภ์ และ สุลี ทองวิเชียร. (2562). ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลและการวางแผนการพยาบาล: กรณีศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ พี.เค.พริ้นท์ติ้ง.

อรอนันท์ หาญยุทธ. (2565). กระบวนการพยาบาล:ทฤษฎีสู่การปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : ธนอรุณการพิมพ์.

Gordon M. Nursing diagnosis: Process and application. New York: McGrawHill Book Co ; 1982

Gibson CH. A concept analysis of empowerment. Journal of Advanced nursing, 16(3), 354-361.

Orem DE. Nursing: Concepts of practice 4 th ed. Philadelphia: Mosby-YearBook ; 1991

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-07-02