การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ ของพนักงานโรงงานในจังหวัดนครสวรรค์

ผู้แต่ง

  • จุฑามาศ ปุญญปุระ โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์

คำสำคัญ:

รูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพ, ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, พฤติกรรมสุขภาพ, พนักงานโรงงาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินผลรูปแบบการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพของพนักงานโรงงาน รูปแบบการวิจัยเป็นแบบกึ่งทดลองศึกษากลุ่มเดียวเปรียบเทียบก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นพนักงานในโรงงานแห่งหนึ่งในจังหวัดนครสวรรค์จำนวนทั้งหมด 137 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1.) รูปแบบการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ โดยผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ประยุกต์จากแนวคิดการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ ของกองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับแนวคิดของ Nutbeam เป็นกิจกรรมพัฒนาทักษะ 6 ด้าน 2.) แบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มวัยทำงานอายุ 15 ปีขึ้นไป ของกองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติ Pair t-test ผลการวิจัยพบว่าหลังเข้าร่วมรูปแบบการสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพ พนักงานโรงงานมีคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพเพิ่มขึ้นจากก่อนเข้าร่วมรูปแบบการสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สรุปได้ว่า รูปแบบการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ สามารถพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของพนักงานโรงงานให้ดีขึ้นได้

เอกสารอ้างอิง

กรรณิการ์ บัวทะเล และทิวากรณ์ ราชูธร. (2566). ผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพพนักงงานขับรถบรรทุกที่เป็นกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงในจังหวัดนครราชสีมา. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น. 30(2): 121-130.

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. (2566). รายงานประจำปี 2566 กองโรคไม่ติดต่อ. กรม.

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2561). กลยุทธ์การเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรม สุขภาพ. กรม.

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2565). คู่มือการดำเนินงานสุขศึกษาหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ. http://www.hed.go.th/linkHed/456

กองพัฒนาข้อมูลและตัวชี้วัดสังคม สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2566). สุขภาพและความเจ็บป่วย. ภาวะสังคมไทยไตรมาสสอง ปี 2566. 21(3): 2-9. https://www.nesdc.go.th/main.php?filename=socialoutlook_report

ขวัญเมือง แก้วดำเกิง. (2564). ความรอบรู้ด้านสุขภาพ: กระบวนการ ปฏิบัติการ เครื่องมือประเมิน. กรุงเทพฯ: บริษัท ไอดี ออล พริ้นท์ จำกัด.

ประจักษ์ จันทะราช. (2564). การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพสำหรับประชาชนกลุ่มวัยทำงานจังหวัดของแก่น. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม. 45(1): 81-90.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครสวรรค์. (2566). ระบบคลังข้อมูลสุขภาพ Health Data Center (HDC) ระบบจังหวัด. https://nsn.hdc.moph.go.th/hdc/main/index.php

เอื้อจิต สุขพูล, ชลดา กิ่งมาลา, ภาวิณี แพงสุข, ธวัชชัย ยืนยาว, วัชรีวงค์ หวังมั่น. (2563). ผลของโปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพสำหรับประชาชนกลุ่มวัยทำงาน. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 29(3): 419-429.

Nutbeam, D. (2000). Health literacy as public health goal: a challenge for contemporary health education and communication strategies into the 21th century. Health Promotion International, 15(3), 259-267.

Nutbeam, D. (2008). The evolving concept of health literacy. Social Science & Medicine. 67(12): 2072-2078.

World Health Organization. (1998). Health Promotion Glossary. Division of Health Promotion, Education and Communications, Health Promotion Unit, World Health Organization. Geneva, 1-10.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-08-01