ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรม การป้องกันนักสูบบุหรี่หน้าใหม่ในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนแห่งหนึ่ง ในพื้นที่อำเภองาว จังหวัดลำปาง
คำสำคัญ:
โปรแกรมเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ, พฤติกรรมการป้องกันการสูบบุหรี่, นักสูบบุหรี่หน้าใหม่บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการศึกษากึ่งทดลอง (Quasi experimental research) แบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง (Two group pretest-posttest design) เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันนักสูบบุหรี่หน้าใหม่ในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนแห่งหนึ่ง ในพื้นที่อำเภองาว จังหวัดลำปาง แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 60 คน โดยที่กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมจะได้รับการเรียนการสอนตามปกติจากทางโรงเรียน เช่นเดียวกัน แต่กลุ่มทดลองจะได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันนักสูบบุหรี่หน้าใหม่ในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โดยมีการผสมผสานกับแนวคิดความรอบรู้ด้านสุขภาพ เพิ่มเติมทุกวันศุกร์ ช่วงเวลา 13.00-15.30 น. ประกอบด้วยกิจกรรมทั้งหมด 4 ครั้ง ใช้ระยะเวลาในการดำเนินงาน 4 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน paired t-test และ Independent t-test
ผลการศึกษา พบว่า หลังได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันการสูบบุหรี่ กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพโดยรวม สูงขึ้นกว่าการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<.05) และมีพฤติกรรมการป้องกันการสูบบุหรี่โดยรวม สูงขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ (p-value<.05)
ข้อเสนอแนะ ควรส่งเสริมให้นักเรียนสามารถนำทักษะการเข้าถึงข้อมูล ทักษะการรู้คิด ทักษะการสื่อสาร ทักษะ
การจัดการตนเอง ทักษะการตัดสินใจ และทักษะการรู้เท่าทันสื่อ มาประยุกต์ใช้ในการดูแลสุขภาพของตนเอง และสามารถถ่ายทอดไปยังบุคคลอื่นได้
เอกสารอ้างอิง
กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2561). การเสริมสร้างและประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ. นนทบุรี: กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข.
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2561). การเสริมสร้างและประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ. นนทบุรี: กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ.
กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข. (2560).“พระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ. ศ. 2560.” https://ddc.moph.go.th/law.php?law=2
กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. (2564). บุหรี่ คืออะไร ประเภทและสารในบุหรี่. เข้าถึงได้จาก http://www.thaincd.com/2016/media-detail.php?id=14004&gid=1-015-009
ขวัญเมือง แก้วดำเกิง. (2561). ความรอบรู้ด้านสุขภาพ เข้าถึง เข้าใจ และการนำไปใช้. กรุงเทพฯ: อมรินทร์.
จีรภัทร รัตนชมภู, และณรงค์ศักดิ์ หนูสอน3 (2563). การป้องกันนักสูบหน้าใหม่ สังคมไทยต้องเปลี่ยนแปลง. วารสารวิทยาลับพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์, 12(1), 13-27.
ณัฐชยา พลาชีวะและปราโมทย์ ถ่างกระโทก. (2564) ผลของโปรแกรมป้องกันการสูบบุหรี่โดยใช้อินเตอร์เน็ตเป็นฐานสำหรับนักศึกษาในศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. วารสารพยาบาลสภากาดชาดไทย, ปีที่ 14 ฉ.1 ม.ค.-มิ.ย.64, 257-272
ธนะวัฒน์ รวมสุก, สุรินธร กลัมพากร, ทัศนีย์ รวิวรกุล, ทัศนีย์ อรรถารส, อารยา ทิพย์วงศ์, นภิสรา ธีระเนตร, และจิราภรณ์ อนุชา, (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ทางสุขภาพกับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ ของนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษา กรุงเทพมหานคร. วารสารพยาบาลทหารบก, ปีที่ 23 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2565, 357-363
นพรัตน์ รัตนวรากรณ์, ธนพร เบญจพะ และชวนพิศ ตฤนานนท์. (2561), การตรวจสารนิ โคดินในของกลางบุหรี่ไฟฟ้า. http://innovation.dmsc.moph.go.th/InnovationV1.6 ProfileProject.php?ROW_REF=397&PERSON ID=405
ประกิต วาทีสาธกกิจ. (2562). การสูบบุหรี่ของเยาวชน (รายงานการวิจัย). กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่.
พัชรินทร์ อัจนากิตติ, ทัศนีย์ รวิวรกุล, สุรินธร กลัมพากร, และนฤมล เอื้อมณีกลู, (2565). ผลของโปรแกรมป้องกันนักสูบหน้าใหม่ ในนักเรียนอาชีวศึกษา. วารสารพยาบาล, 71(1), 10-19, 2565, 10-19
ภาสกร เนตรทิพย์วัลย์, (2564). โปรแกรมสร้างเสริมความรอบรู้ทางสุขภาพเพื่อพัฒนาพฤติกรรมการป้องกันการสูบบุหรี่ในวัยรุ่นตอนต้นโดยประยุกต์การจัดการเรียนรู้แบบปรากฎการณ์เป็นฐาน.(วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
วิกานต์ดา โหม่งมาตย์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันการสูบบุหรี่ของนักเรียนชาย ชั้นประถมศึกษาตอนปลาย อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร
วิลาวัณย์ ประทีปแก้ว, พรเทพ ล้อมพรม, และวัลภา พรหมชัย. (2552). พฤติกรรมการสูบบุรี่ของเยาวชนในจังหวัดนนทบุรี(รายงานผลวิจัย). กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ(ศจย.).
ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ[ศจย.]. (2562). ก้าวทันวิจัยกับ ศจย. ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ[ศจย.] ระยะที่ 5 ปีที่ 11 ฉบับที่ 2 พ.ศ.2562
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2564). การสำรวจพฤติกรรมด้านสุขภาพของประชาการ พ.ศ.2564. สืบค้นจาก http://ncdstrategy.ddc.moph.go.th/home/media/143
สำนักควบคุมการบริโภคยาสูบ กรมควบคุมโรค. (2557). สวรส. ร่วมเครือข่ายสุขภาพผนึกพลังหนุนภาพคำเตือนบนซองบุหรี่ 85 % พร้อมต้านบริษัทบุหรี่ข้ามชาติ ก้าวสู่สังคมไทยปลอดบุหรี่. เข้าถึงได้จาก https://www.hsri.or.th/news/1/501
อนาวิน ภัทรภาคินวรกุล, ปรภัทร คงศรี, และสมหมาย กล้าณรงค์, (2566). ผลของโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันนักสูบหน้าใหม่ ในสถาบันอุดมศึกษา จังหวัดแม่ฮ่องสอน. วารสารการแพทย์และสาธารณสุขเขต 4, ปีที่ 13 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2566, 113-128
Kutner M, Greenberg E, Jin Y, Paulsen C. The health literacy of America's adults: results from the 2003 national assessment of adult literacy (NCES 2006-483).Washington, DC: National Center for Education Statistics; 2006.
Osborn RH, Batterham RW, Elsworth GR, Hawkin M, Buchbinder R. The grounded psychometric development and initial validation of the health literacy questionnaire (HLQ). BMC Public Health 2013; 13:658. https://doi.org/10.1186/1471-2458-13-658
Schillinger D, Grumbach K, Piette J, Wang F, Osmond D, Daher C, et al. Association of health literacy with diabetes outcomes. JAMA 2002:288(4):475-82.
World Health Organization. (2023). Tobacco Control in South-East Asia Region. Retrieved from https://www.who.int/southeastasia/health-topics/tobacco/tobacco-control-in-the-south-east-asia-region
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.