ผลของโปรแกรมความรอบรู้ด้านสุขภาพสำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านแหงใต้ อำเภองาว จังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • มะยุเรีย รุ่งเจริญอารีจิตต์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแหงใต้ อำเภองาว จังหวัดลำปาง

คำสำคัญ:

โปรแกรมความรอบรู้ด้านสุขภาพ, ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมความรอบรู้ด้านสุขภาพสำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแหงใต้ อำเภองาว จังหวัดลำปาง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ คัดเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์การคัดเข้าจากนั้นจับคู่เข้าเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 31 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมความรอบรู้ด้านสุขภาพ มีค่าความตรงตามเนื้อหา เท่ากับ 1.00 และแบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.93 และ 0.80 ตามลำดับ และการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการแจกความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Paired sample’s t-test และ Independent sample’s t-test ผลการศึกษา พบว่า ภายหลังการทดลองกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพมากกว่าก่อนการทดลอง และมากกว่ากลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีข้อเสนอแนะให้ส่งเสริมการจัดโปรแกรมเสริมสร้างความรอบรู้ให้สอดคล้องกับวัย พื้นฐานความรู้ และใช้สื่อการสอนให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย

เอกสารอ้างอิง

กระทรวงสาธารณสุข. (2564). รายงานสถิติสาธารณสุข ประจำปี 2563. นนทบุรี: กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.

จตุพร แต่งเมือง และเบญจา มุกตพันธุ์. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางสุขภาพและการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารสุขศึกษา, 41(1), 103-113.

จิรภัค สุวรรณเจริญ, ช่อเอื้อง อุทิตะสาร, อนุรักษ์ เร่งรัด, วัยวุฑฒ์ อยู่ในศิล และจิตรา ดุษฎีเมธา. (2564). การศึกษาพฤติกรรมทางสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ตำบลหนองแวง อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี, 4(2), 139-148.

พรวิจิตร ปานนาค, สุทธิพร มูลศาสตร์ และเชษฐา แก้วพรม. (2560). ประสิทธิผลของโปรแกรมการพัฒนา ความฉลาดทางสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ ตำบลบางวัว อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา.วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 27(3), 91-106.

รัตนาภรณ์ กล้ารบ. (2564). ผลของโปรแกรมความรอบรู้ด้านสุขภาพสำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแหงใต้. (2564). รายงานสถานการณ์โรคเบาหวานและผลการควบคุมระดับน้ำตาล ปี 2559-2564. ลำปาง: โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแหงใต้.

วรรณรัตน์ รัตนวรางค์ และวิทยา จันทร์ทา. (2560). ความฉลาดทางสุขภาพด้านพฤติกรรมการดูแลตนเองกับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จังหวัดชัยนาท. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครราชสีมา, 24(2), 34-51.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำปาง. (2565). สถานการณ์โรคเบาหวานจังหวัดลำปาง ปี 2561-2565. คลังข้อมูลสุขภาพ (Health Data Center). https://lpg.hdc.moph.go.th/hdc/main/index.php.

สำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ. (2564). คู่มือกระบวนการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.

อารยา เชียงของ, พัชรี ดวงจันทร์ และอังศินันท์ อินทรกำแหง. (2561). ผลการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพด้วยการจัดการเรียนรู้ด้วยการเปลี่ยนแปลงที่มีต่อการควบคุมน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Nutbeam D. Health literacy as a public health goal: a challenge for Contemporary health education and communication strategies into the 21st Century. Health promotion international. 2000; 15(3): 259-67.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-08-01