การส่งบทความ

เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

รายการตรวจสอบก่อนส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด
  • บทความเรื่องนี้ยังไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ในระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น (หากมีกรุณาอธิบายในข้อความถึงบรรณาธิการ)
  • บทความเตรียมในรูปแบบของไฟล์ Microsoft Word
  • มีการให้ URLs ที่เข้าถึงได้ สำหรับเอกสารที่อ้างอิงจากอินเทอร์เน็ต
  • บทความพิมพ์แบบใช้ระยะห่างบรรทัดปกติ (single-spaced) ขนาดฟ้อนท์ตัวอักษร 16pt(ในภาษาไทย) และ 12 pt(ในภาษาอังกฤษ) ใช้ตัวเอนแทนการขีดเส้นใต้สำหรับสังกัดผู้แต่ง (ยกเว้น ที่อยู่ URL) และ ระบุข้อมูล รูปวาด รูปภาพ และตาราง ในตำแหน่งที่เหมาะสม เป็นตามข้อกำหนดของวารสาร
  • บทความเตรียมตามข้อกำหนด ทั้งในด้านของรูปแบบและการเขียนเอกสารอ้างอิง ตามคำแนะนำสำหรับผู้แต่ง (Author Guidelines)

คำแนะนำผู้แต่ง

แนวทางการบริหารการจัดทำวารสาร

วัตถุประสงค์: เพื่อให้การจัดทำวารสารสาธารณสุขมูลฐาน (ภาคเหนือ) มีคุณภาพและได้มาตรฐาน กองบรรณาธิการได้กำหนดแนวทางการดำเนินการไว้ ดังนี้

  1. มีการปรับปรุงคณะกรรมการกองบรรณาธิการอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ครอบคลุมงานวิชาการทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ และสาขาที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้คณะกรรมการกองบรรณาธิการจะมาจากหน่วยงานหลายภาคส่วน ทั้งภายในและภายนอกศูนย์พัฒนาการสาธารณสุขมูลฐานภาคเหนือ จังหวัดนครสวรรค์ กรมวิชาการต่างๆ ในกระทรวงสาธารณสุข และนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ นอกจากนี้ ยังได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิสาขาต่างๆ จากหลายสถาบันการศึกษาเป็นกลุ่มประเมินต้นฉบับ หรือ Reviewers ของวารสารสาธารณสุขมูลฐาน (ภาคเหนือ)
  2. วารสารสาธารณสุขมูลฐาน (ภาคเหนือ) เปิดรับบทความจากนักวิชาการต่าง ๆ ในทุกเนื้อหาที่เกี่ยวข้องทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ ทั้งนี้ บทความที่ต้องการตีพิมพ์เผยแพร่ จะต้องไม่เคยได้รับการตีพิมพ์มาก่อน โดยมีรูปแบบตามแนวทางที่วารสารกำหนด และเป็นไปตามข้อกำหนดด้านจริยธรรมการตีพิมพ์ผลงานในวารสารวิชาการ (Publication ethics) ทั้งนี้ รายละเอียดเกี่ยวกับข้อแนะนำในการเตรียมต้นฉบับและข้อกำหนดด้านจริยธรรมจะอ่านได้จาก Website ของวารสารสาธารณสุขมูลฐาน (ภาคเหนือ) ได้ที่นี่https://thaidj.org/index.php/pjne หรือจากวารสารในฉบับที่ 1 ของทุกปี
  3. วารสารจะการยึดหลักการดำเนินการตามจริยธรรมการตีพิมพ์บทความในวารสารวิชาการ ทั้งนี้ บทความต้นฉบับที่กองจัดทำวารสารสาธารณสุขมูลฐาน (ภาคเหนือ) ได้รับจะผ่านกระบวนการ ดังต่อไปนี้
  • 3.1 การตรวจสอบคุณสมบัติเบื้องต้น โดยคณะวิชาการจัดการวารสาร หากเอกสารไม่ครบถ้วน ก็จะแจ้งเจ้าของบทความเพื่อทำการแก้ไขและส่งต้นฉบับมาใหม่
  • 3.2 ต้นฉบับที่ผ่านการคัดกรองจะถูกส่งต่อไปยังบรรณาธิการ เพื่อการประเมินคุณภาพและพิจารณาหาผู้เหมาะสมในการประเมินหรือทบทวนบทความ (Reviewers)
  • 3.3 บทความต้นฉบับแต่ละเรื่องจะถูกส่งไปให้คณะกรรมการกองบรรณาธิการผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Reviewers) อย่างน้อย 2 คน ขึ้นไป เพื่อประเมินและให้คำแนะนำต่อบรรณาธิการ ทั้งนี้ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Reviewers) จะเป็นนักวิชาการที่มีความเชี่ยวชาญในเนื้อหาทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับต้นฉบับนั้น ๆ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Reviewers) จะต้องมาจากหน่วยงานที่ไม่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานของเจ้าของบทความ และการส่งบทความต้นฉบับให้แก่ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Reviewers) นั้น จะมีการปิดบังชื่อและหน่วยงานของเจ้าของบทความไว้
  • 3.4 ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Reviewers) จะได้รับคำแนะนำจากฝ่ายจัดการวารสารสาธารณสุขมูลฐาน (ภาคเหนือ) ให้พิจารณาบทความตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการกองบรรณาธิการวารสารกำหนด ทั้งนี้ เกณฑ์ดังกล่าวจะกำหนดให้มีการสรุปความเห็นต่อบรรณาธิการ เพื่อดำเนินการต่อบทความต้นฉบับอย่างใดอย่างหนึ่งใน 3 ประการคือ
  • (1) พิจารณาว่าบทความมีคุณภาพดี และสมควรพิมพ์เผยแพร่ได้โดยไม่จำเป็นต้องมีการแก้ไขในสาระสำคัญ
  • (2) บทความมีคุณภาพพอประมาณ และสามารถปรับปรุงให้ดีขึ้นได้ และสมควรตีพิมพ์เผยแพร่ภายหลังได้รับการปรับแก้แล้ว ทั้งให้ข้อชี้แนะในส่วนที่จำเป็นต้องได้รับการแก้ไข เพื่อแจ้งให้ผู้นิพนธ์ได้ดำเนินการปรับปรุงต่อไป หรือ
  • (3) บทความไม่มีคุณภาพ ไม่เสริมสร้างความรู้ใหม่ และไม่ควรตีพิมพ์
  • 3.5 เมื่อผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Reviewers) พิจารณาบทความต้นฉบับแล้ว จะส่งผลการพิจารณาพร้อมต้นฉบับที่ได้รับการทบทวนคืนมายังฝ่ายจัดการวารสารสาธารณสุขมูลฐาน (ภาคเหนือ)
  1. บรรณาธิการจะรวบรวมข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Reviewers) ทั้ง 3 คน และจะประสานงานกับเจ้าของบทความ เพื่อแจ้งผลการพิจารณา และให้ดำเนินการปรับแก้ ในกรณีที่ต้องมีการปรับปรุงต้นฉบับ ทั้งนี้ เจ้าของบทความจะไม่ทราบชื่อของผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Reviewers)
  2. บทความต้นฉบับที่มีความสมบูรณ์ จะได้รับการตีพิมพ์โดยเร็ว ทั้งนี้ ฝ่ายจัดการวารสารสาธารณสุขมูลฐาน (ภาคเหนือ) จะแจ้งให้ผู้นิพนธ์ได้ทราบล่วงหน้าว่าบทความต้นฉบับดังกล่าว จะลงพิมพ์ในฉบับใด
  3. บทความต้นฉบับที่พร้อมจะตีพิมพ์ จะได้รับการทำตามรูปแบบของวารสาร จากนั้น ฝ่ายจัดการวารสารสาธารณสุขมูลฐาน (ภาคเหนือ) จะส่งให้เจ้าของบทความต้นฉบับตรวจสอบความถูกต้องและความครบถ้วนของเนื้อหาเป็นครั้งสุดท้าย และเมื่อได้รับการตอบรับการตรวจสอบแล้ว ก็จะนำไปจัดเลขหน้าเพื่อพิมพ์เผยแพร่ต่อไป

หลักเกณฑ์และคำแนะนำในการส่งบทความเพื่อตีพิมพ์วารสารสาธารณสุขมูลฐาน (ภาคเหนือ)

          วารสารสาธารณสุขมูลฐาน (ภาคเหนือ) Journal of Primary Health Care (Northern Edition) ตีพิมพ์เผยแพร่บทความทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ การแพทย์และสาธารณสุข และเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง กำหนดจัดพิมพ์ปีละ 3 ฉบับ (ราย 4 เดือน) ฉบับที่ 1 (มกราคม - เมษายน), ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม - สิงหาคม), ฉบับที่ 3 (กันยายน - ธันวาคม) โดยรับบทความเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ และเผยแพร่รูปแบบออนไลน์ผ่านทางเว็บไซต์ของวารสารที่ https://thaidj.org/index.php/pjne  

  1. ประเภทบทความ
  • บทความวิชาการ (Academic Article)
  • บทความวิจัย (Research Article)
  • บทความนวัตกรรม (Innovation Article)
  1. การเตรียมต้นฉบับคำแนะนำต่อไปนี้ ใช้สำหรับการเตรียมบทความทางวิชาการที่เป็นนิพนธ์ต้นฉบับ แต่หลายหัวข้อก็ใช้สำหรับบทความประเภทอื่นๆ ด้วยเช่นกัน ผู้สนใจสามารถศึกษารูปแบบจากบทความแต่ละประเภทในวารสารฉบับที่พิมพ์เผยแพร่ไปแล้ว
  • ชื่อเรื่องควรสั้นกะทัดรัด และสื่อถึงเป้าหมายหลักของการศึกษา ไม่ใช้คำย่อ ความยาวไม่เกิน 100 ตัวอักษร ชื่อเรื่องต้องมีภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
  • ชื่อผู้นิพนธ์มีทั้งชื่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (ไม่ใช้คำย่อ) ระบุหน่วยงานหรือสถานที่ผู้นิพนธ์ทำงาน และระบุชื่อ E-mail ของผู้นิพนธ์ที่ใช้ติดต่อ
  • บทคัดย่อ (Abstract) เป็นเนื้อความย่อตามลำดับโครงการสร้างของบทความ ได้แก่  บทนำ วัสดุและวิธีการศึกษา ผลการศึกษา และวิจารณ์ ประมาณ 250-300 คำ ใช้ภาษารัดกุมเป็นประโยคสมบูรณ์ มีความหมายในตัวเองไม่ต้องหาความหมายต่อ ไม่ควรมีคำย่อ ต้องเขียนบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
  • คำสำคัญ (Key words) ใส่ไว้ท้ายบทคัดย่อ มีทั้งภาษาไทยและอังกฤษ เป็นหัวข้อเรื่องสำหรับช่วยในการค้นหาบทความ โดยใช้ Medical Subject Headings (MeSH) terms ของ S. National Library of Medicine เป็นแนวทางการให้คำสำคัญหรือคำหลัก
  • บทนำ (Introduction) เป็นส่วนหนึ่งของบทความที่บอกเหตุผลนำไปสู่การศึกษา เป็นส่วนที่อธิบายให้รู้ปัญหา ลักษณะ และขนาด เป็นการนำไปสู่ความจำเป็นในการศึกษาวิจัยให้ได้ผลเพื่อแก้ปัญหาหรือตอบคำถามที่ตั้งไว้ หากมีทฤษฎีที่จำเป็นต้องใช้ในการศึกษา อาจวางพื้นฐานไว้ในส่วนนี้ได้ แต่ไม่ต้องทบทวนวรรณกรรม ที่ไม่เกี่ยวกับจุดมุ่งหมายของการศึกษา และให้รวมวัตถุประสงค์ของการศึกษาในส่วนท้ายของบทนำ
  • วิธีการศึกษา (Methods หรือ Material and Methods) ระบุรูปแบบแผนการศึกษา (Study design, Protocol) เช่น Randomized double blind, Descriptive หรือ Quasi-experiment กลุ่มตัวอย่าง วิธีการสุ่มตัวอย่าง เช่น การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย แบบหลายขั้นตอน วิธีหรือมาตรการที่ศึกษา (Interventions) เช่น รูปแบบการศึกษา การรักษา ชนิดและขนาดของยาที่ใช้ ถ้าเป็นมาตรการที่รู้จักทั่วไป ให้ระบุในเอกสารอ้างอิงถ้าเป็นวิธีใหม่ อธิบายให้ผู้อ่านเข้าใจแล้วนำไปใช้ต่อได้ ให้ระบุเครื่องมือหรืออุปกรณ์และหลักการที่ใช่ในการศึกษาเชิงปริมาณหรือเชิงคุณภาพให้ชัดเจน และกระชับ รวมถึงเครื่องมือในการเก็บข้อมูล เช่น แบบสอบถาม การทดสอบความเชื่อถือ วิธีการเก็บข้อมูล วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล และสถิติที่ใช้ รวมทั้งการได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการวิจัย
  • ผลการศึกษา (Results) แสดงผลที่พบตามลำดับหัวข้อของแผนการศึกษาอย่างชัดเจน ดูง่าย ถ้าผลไม่ซับซ้อนไม่มีตัวเลขมากบรรยายเป็นร้อยแก้ว แต่ถ้าตัวเลขมาก ตัวแปรมากควรใช้ตารางหรือแผนภูมิ โดยไม่ต้องอธิบายตัวเลขในตารางซ้ำอีกในเนื้อเรื่อง ยกเว้นข้อมูลสำคัญๆ แปลความหมายของผลที่ค้นพบหรือวิเคราะห์และสรุปเปรียบเทียบกับสมมติฐานที่วางไว้อย่างจำกัด
  • อภิปรายผล (Discussion) แสดงบทวิจารณ์ผลการศึกษาว่าตรงกับวัตถุประสงค์สมมติฐานของการวิจัย หรือแตกต่างไปจากผลงานที่มีผู้รายงานไว้ก่อนหรือไม่ อย่างไร เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น วิจารณ์ผลที่ไม่ตรงตามที่คาดหวังอย่างไม่ปิดบัง อาจแสดงความเห็นเบื้องต้นตามประสบการณ์หรือข้อมูลที่ตนมี เพื่ออธิบายส่วนที่โดดเด่นแตกต่างเป็นพิเศษได้ ควรมีข้อสรุปว่า ผลที่ได้ตรงกับวัตถุประสงค์การวิจัยหรือไม่และให้ข้อเสนอแนะที่นำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์หรือให้ประเด็นคำถามที่ควรมีการวิจัยต่อไป
  • ตาราง รูปภาพ และแผนภูมิบทความเรื่องหนึ่ง ๆ ไม่ควรมีตารางหรือรูปภาพมากเกินไป จำนวนที่เหมาะสมคือ 1 - 5 ตารางหรือรูปภาพ โดยมีลำดับที่และชื่อของตารางหรือรูปภาพอยู่ด้านบน ภาพที่ใช้ควรเป็นที่มีความชัดเจนสูง อาจเป็นไดอะแกรม ภาพวาด ภาพถ่าย หรือกราฟที่ทำจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ แม้จะใส่ภาพในบทความแล้ว ก็ควรส่งแยกเป็นไฟล์ต่างหากร่วมด้วย
  • เอกสารอ้างอิง (References) เป็นการรวบรวมรายชื่อเอกสารที่ใช้อ้างอิงข้อความในเนื้อเรื่อง โดยการอ้างอิงจากระบบการอ้างอิงแบบ American Psychological Association 7thedition (APA) จะนำมาเรียงในส่วนของเอกสารอ้างอิงท้ายเรื่อง ทั้งนี้ อ้างอิงในเนื้อหาจะต้องสอดคล้องกับในรายการบรรณานุกรมท้ายบทความทุกรายการ ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ https://drive.google.com/file/d/1Erje3qz0LSISI1n0mBWbNvsIYFHHQjSQ/view?usp=sharing
  1. รูปแบบบทความ
  • 3.1 พิมพ์ด้วยโปรแกรม Microsoft Word ความยาวไม่เกิน 10 หน้ากระดาษ A4
  • 3.2 แบบอักษร TH SarabanPSK โดยหัวข้อใช้ขนาด 16 Point (ตัวหนา) เนื้อหาใช้ขนาด 16 Point (ปกติ)
  • 3.3 ใช้ตัวเลขอารบิกทั้งบทความ
  1. การส่งบทความ
  • 4.1 ส่งบทความผ่านระบบออนไลน์ที่ https://thaidj.org/index.php/pjne/index
  • 4.2 ส่งบทความแบบไฟล์ Word พร้อมแผ่นซีดี ในรูปแบบหนังสือราชการ โดยระบุชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ และอีเมลของผู้นิพนธ์ให้ชัดเจน และจ่ายหน้าซองมาที่กองบรรณาธิการวารสารสาธารณสุขมูลฐาน (ภาคเหนือ) ศูนย์พัฒนาการสาธารณสุขมูลฐานภาคเหนือ จังหวัดนครสวรรค์ เลขที่ 516/41 หมู่ 10 ตำบลนครสวรรค์ตก อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ รหัสไปรษณีย์ 60000

นโยบายส่วนส่วนบุคคล

สิทธิส่วนบุคคล

ชื่อและที่อยู่อีเมล หรือข้อมูลส่วนบุคคล ที่กรอกในเว็บไซต์วารสารนี้จะใช้สำหรับวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ในงานวารสารเท่านั้นและจะไม่เปิดเผยเพื่อวัตถุประสงค์ในกิจกรรมอื่น ๆ หรือให้กับบุคคลหรือหน่วยงานอื่นใดทราบ