ผลของการใช้นวัตกรรมโคอาล่าพาเพลินต่อความกลัวในการพ่นยาฝอยละออง ของผู้ป่วยเด็กวัยก่อนเรียนที่มีภาวะติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ

ผู้แต่ง

  • มารศรี ศิริสวัสดิ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครพนม มหาวิทยาลัยนครพนม
  • อภิสิทธิ์ ฉกรรจ์ศิลป วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครพนม มหาวิทยาลัยนครพนม
  • นงลักษณ์ บุญทอง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครพนม มหาวิทยาลัยนครพนม

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลของการใช้นวัตกรรมโคอาล่าพาเพลินต่อความกลัวในการพ่นยาฝอยละอองของผู้ป่วยเด็กวัยก่อนเรียนที่มีภาวะติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยเด็กวัยก่อนเรียนที่มีภาวะติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจและได้รับการรักษาโดยการพ่นยา จำนวน 30 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง สุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่มควบคุมหรือกลุ่มทดลองโดยการสุ่มอย่างง่าย กลุ่มละ 15 ราย กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลในการพ่นยาตามปกติ กลุ่มทดลองมีการใช้นวัตกรรมโคอาล่าพาเพลินเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจ ลดความกลัวระหว่างการพ่นยา ประกอบด้วย 1) การเบี่ยงเบนความสนใจโดยการใส่ชุดหมีโคอล่า 2) เบี่ยงเบนความสนใจโดยให้เด็กกดปุ่มเปิดสียงก่อนเริ่มการสวมหน้ากากพ่นยาฝอยละออง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสังเกตพฤติกรรมความกลัวการได้รับยาพ่นแบบฝอยละออง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและ Independent t–test             ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าคะแนนเฉลี่ยความกลัว (X ̅ = 10.80, S.D. = 5.583) ต่ำกว่ากลุ่มควบคุม (X ̅ = 32.87, S.D. = 11.594) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 นวัตกรรมโคอาล่าพาเพลินสามารถใช้เป็นแนวทางในการเบี่ยงเบนเพื่อลดความกลัวของผู้ป่วยเด็กวัยก่อนเรียนที่มีภาวะการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจและได้รับการรักษาโดยการพ่นยาได้

         คำสำคัญ: เด็กวัยก่อนเรียน การพ่นยาฝอยละออง ความกลัว

ประวัติผู้แต่ง

มารศรี ศิริสวัสดิ์ , วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครพนม มหาวิทยาลัยนครพนม

อาจารย์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครพนม มหาวิทยาลัยนครพนม

อภิสิทธิ์ ฉกรรจ์ศิลป, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครพนม มหาวิทยาลัยนครพนม

อาจารย์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครพนม มหาวิทยาลัยนครพนม

นงลักษณ์ บุญทอง, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครพนม มหาวิทยาลัยนครพนม

นักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครพนม มหาวิทยาลัยนครพนม

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-02-14