ประสบการณ์การจัดการภาวะน้ำเกินในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย ที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
บทคัดย่อ
การศึกษาเชิงคุณภาพวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์การจัดการภาวะน้ำเกินในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะ สุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม โดยใช้ระเบียบวิจัยเชิงปรากฏการณ์วิทยาแบบตีความ ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ที่มีประสบการณ์ของการมีภาวะน้ำเกิน ในช่วง ระยะเวลา 1 ปี ที่ผ่านมา ที่มารับบริการที่หน่วยไตเทียม โรงพยาบาลมหาสารคาม จำนวน 20 ราย โดยคัดเลือกแบบ เฉพาะเจาะจง ในช่วงเดือนมิถุนายน ถึง กรกฎาคม พ.ศ. 2565 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกราย บุคคล สร้างความน่าเชื่อถือของงานวิจัยตามเกณฑ์ของลินคอล์นและคูบา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา
ข้อค้นพบ ประสบการณ์การจัดการภาวะน้ำเกินในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่อง ไตเทียม จำแนกเป็น 4 ประเด็นหลัก 1) การให้ความหมายต่อภาวะน้ำเกินคือ ไตเสื่อม และบวม 2) การจัดการตนเอง ต่อภาวะน้ำเกินคือ การจำกัดน้ำดื่ม การรับประทานอาหาร การรับประทานยา และการจัดการตนเองด้านจิตใจ 3) ผล กระทบจากภาวะน้ำเกิน ด้านร่างกายคือ หายใจลำบาก นอนราบไม่ได้ และด้านจิตใจคือ กลัว/กังวล เบื่อหน่าย และความไม่แน่นอนของชีวิต 4) ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการน้ำเกินคือ ตนเอง บุคลากรทางการแพทย์และผู้ดูแล
ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปใช้ในการจัดการดูแลตนเองเพื่อป้องกันการเกิดภาวะน้ำเกินของผู้ป่วยรายอื่น และใช้เป็นข้อมูลพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างความตระหนักของผู้ป่วยในการปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินชีวิตและการ จัดการตนเอง ส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรมการดูแลตนเองอย่างเหมาะสมและยั่งยืนต่อไป
คำสำคัญ: การจัดการตนเอง ภาวะน้ำเกิน การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม โรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย