ผลการติดเชื้อของลูกที่เกิดจากแม่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีที่ได้รับยาทีโนโฟเวียร์ ขณะตั้งครรภ์ โรงพยาบาลสกลนคร
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง เพื่อศึกษาอุบัติการณ์การถ่ายทอดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีจาก มารดาสู่ลูกและอุบัติการณ์การสร้างภูมิป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีจากการฉีดวัคซีนในลูกที่เกิดจากมารดาติด เชื้อไวรัสตับอักเสบบีที่มีปริมาณไวรัสตับอักเสบบีสูง และได้รับยาทีโนโฟเวียร์ขณะตั้งครรภ์ มาฝากครรภ์และคลอดใน โรงพยาบาลสกลนครตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2560 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2563 จำนวน 19 ราย เก็บรวบรวม ข้อมูลจากเวชระเบียนโรงพยาบาล เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ บรรยาย
ผลการวิจัยพบว่า มารดาติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีที่มีปริมาณไวรัสตับอักเสบบีสูงและได้รับยาทีโนโฟเวียร์ขณะ ตั้งครรภ์ ได้รับยาทีโนโฟเวียร์มากกว่า 4 สัปดาห์ก่อนคลอด คิดเป็นร้อยละ 89.5 ไม่ได้รับการตรวจภูมิป้องกันการติด เชื้อไวรัสตับอักเสบบี (HBsAb) ขณะตั้งครรภ์ ร้อยละ 94.7 ไม่ได้รับการตรวจนับจำนวนไวรัส (viral load) หลังได้ รับยา ร้อยละ 89.5 ขณะที่ลูกได้รับอิมมูโนโกลบุลินป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี (HBIG) ไม่เกิน 12 ชั่วโมง หลังคลอด ร้อยละ 100 และได้รับการตรวจโปรตีนส่วนผิวของเชื้อไวรัสตับอักเสบบี (HBsAg) และ HBsAb ในช่วง อายุ 12–24 เดือน ร้อยละ 84.2 พบอุบัติการณ์การถ่ายทอดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีจากมารดาสู่ลูก ร้อยละ 10.5 และ อุบัติการณ์การสร้างภูมิป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ร้อยละ 78.9
การศึกษานี้เป็นผลการดำเนินงานตามแนวทางการดำเนินการกำจัดการถ่ายทอดไวรัสตับอักเสบบีจากแม่สู่ลูก ของกระทรวงสาธารณสุขเฉพาะในหญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีที่มีปริมาณไวรัสตับอักเสบบีสูง และได้รับยาที โนโฟเวียร์ขณะตั้งครรภ์เท่านั้น จึงควรศึกษาเพิ่มเติมในหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีกลุ่มอื่นหรือที่ไม่ได้ฝาก ครรภ์
คำสำคัญ: การถ่ายทอดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีจากมารดาสู่ลูก อิมมูโนโกลบุลินป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอัก เสบบี ยาทีโนโฟเวียร์