ความคลาดเคลื่อนของการจัดท่าผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากในการฉายรังสี แบบปรับความเข้มร่วมกับการใช้หน้ากากบริเวณอุ้งเชิงกราน
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาค่าความคลาดเคลื่อนจากการจัดท่าผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากในการ ฉายรังสีแบบปรับความเข้ม (IMRT) ร่วมกับการใช้หน้ากากอุ้งเชิงกราน เพื่อหาค่า CTV to PTV margin ที่เหมาะ สมในโรงพยาบาลสกลนคร โดยนำข้อมูลย้อนหลังของค่าความคลาดเคลื่อนจากการจัดท่าผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากที่ เข้ารักษาด้วยเทคนิค IMRT ร่วมกับการใช้หน้ากากอุ้งเชิงกรานในขั้นตอนการตรวจสอบตำแหน่งการฉายรังสี โดยการ เปรียบเทียบภาพ EPID และภาพ DRRs ในท่าตรงและท่าด้านข้าง นำค่าดังกล่าวคำนวณหาค่า CTV to PTV margin จากสมการของ Van Herk จากผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมาก จำนวน 41 ราย ประกอบด้วย ภาพ EPID จำนวน 574 ภาพ และภาพ DRRs จำนวน 82 ภาพ
ผลการวิจัยพบว่า ค่าความคลาดเคลื่อนจากการจัดท่าในแนวศีรษะปลายเท้าแนวซ้ายขวาและแนวหน้าหลังมีค่า อยู่ในช่วง –0.6 ถึง 0.9 ซม. –0.6 ถึง 0.6 ซม. และ –0.7 ถึง 0.4 ซม. ตามลำดับ ค่าความคลาดเคลื่อนจากการจัด ท่าเฉลี่ยคู่กับค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานในแนวศีรษะปลายเท้าแนวซ้ายขวาและแนวหน้าหลังมีค่าเท่ากับ 0.08 ± 0.26, 0.00 ± 0.17 และ –0.03 ± 0.16 ซม. ตามลำดับ ค่ามัธยฐานคู่กับพิสัยควอไทล์มีค่าเท่ากับ 0.0 ± 0.2 ซม. ทั้ง 3 แนว ค่า CTV to PTV margin ในแนวศีรษะปลายเท้าแนวซ้ายขวาและแนวหน้าหลังมีค่าเท่ากับ 0.47, 0.24 และ 0.21 ซม. ตามลำดับ สรุปค่าความคลาดเคลือ่ นจากการจัดท่าผ้ปู ่วยมะเร็งต่อมลูกหมากในการฉายด้วยเทคนิค IMRT ร่วมกับการใช้หน้ากากอุ้งเชิงกรานทั้ง 3 แนวมีค่าอยู่ระหว่าง –0.7 ถึง 0.9 ซม. และค่า CTV to PTV margin อยู่ ในช่วงที่แนะนำโดย ICRU No.62
คำสำคัญ: ความคลาดเคลื่อนของการจัดท่า การฉายรังสีแบบปรับความเข้ม มะเร็งต่อมลูกหมาก