ผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อโควิด 19 แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลสกลนคร
บทคัดย่อ
การศึกษากึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อโควิด 19 แผนก อุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลสกลนคร กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน จำนวน 31 คน ที่ดูแลผู้ป่วยติดเชื้อโควิด 19 มารับบริการแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อโควิด19 ที่มีค่าความเชื่อมั่นด้วยวิธีสัมประสิทธิ์ แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.83 ดำเนินการวิจัยแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลองระหว่าง เดือน พฤศจิกายน–ธันวาคม พ.ศ. 2565 วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยง เบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า การปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อโควิด 19 ภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก (x ̅ = 4.59, S.D. = 0.71) โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ การให้คำแนะนำการปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วยที่แพทย์ให้กลับบ้าน ( x ̅ = 4.63, S.D. = 0.64) รองลงมาคือ ด้านการพยาบาลผู้ป่วยในห้อง negative pressure (x ̅ = 4.59, S.D. = 0.78) และด้าน การปฏิบัติด้านการพยาบาลจุดคัดกรอง (x ̅ = 4.55, S.D. = 0.66) ตามลำดับ พยาบาลมีความพึงพอใจโดยรวมต่อ การใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อโควิด 19 ในระดับมาก (x ̅ = 4.00, S.D. = 0.58) และอัตราการติดเชื้อ โรคโควิด 19 จากการปฏิบัติงานของพยาบาลก่อนใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อโควิด 19 เท่ากับร้อยละ 29.0 แต่ไม่พบการติดเชื้อโรคโควิด 19 หลังใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลฯ การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อโควิด 19 แผนกอุบัติเหตุและ ฉุกเฉิน โรงพยาบาลสกลนคร สามารถป้องกันการแพร่กระจายเชื้อในบุคลากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถนำไป ประยุกต์ใช้ในการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อโควิด 19 ในแผนกอื่นต่อไป คำสำคัญ: เชื้อโควิด 19 แนวปฏิบัติทางการพยาบาล อุบัติเหตุและฉุกเฉิน