การพัฒนารูปแบบการฟื้นฟูความสามารถในการทรงตัวเพื่อป้องกันการหกล้ม
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการฟื้นฟูความสามารถในการทรงตัวเพื่อป้องกันการหกล้มโดยประยุกต์ใช้แบบประเมิน Mini–BES Test ประเมินผลการใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้นและเปรียบเทียบผลลัพธ์ความสามารถ ในการทรงตัวก่อนและหลังการใช้รูปแบบการฟื้นฟูความสามารถในการทรงตัว กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุจำนวน 80 คน ศึกษาระหว่างวันที่ 7 มิถุนายน ถึง 15 ตุลาคม 2565 ณ โรงพยาบาลพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร เครื่องมือที่ใช้ใน การวิจัยได้แก่ รูปแบบการฟื้นฟูความสามารถในการทรงตัวเพื่อป้องกันการหกล้ม แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมิน สมรรถนะทางกาย ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน หาค่า content validity index ได้เท่ากับ 0.97 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.82 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา การทดสอบไคสแควร์ สถิติ เปรียบเทียบแบบกลุ่มเดียววัดก่อน–หลังการทดลอง และสถิติเปรียบเทียบกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มที่เป็นอิสระจากกัน
ผลการศึกษาพบว่า ก่อนใช้รูปแบบการฟื้นฟูความสามารถในการทรงตัว กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีระดับ ความสามารถด้านการทรงตัวไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p > 0.05) แต่พบว่า หลังใช้รูปแบบการฟื้นฟู ความสามารถในการทรงตัว มีระดับความสามารถด้านการทรงตัวแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.01) และผลการเปรียบเทียบระดับความสามารถด้านการทรงตัวของผู้สูงอายุในกลุ่มทดลองก่อนและหลังการศึกษาพบว่า ระดับความสามารถด้านการทรงตัวหลังทดลองมากกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.01) การวิจัยชี้ให้เห็นว่ารูป แบบการฟื้นฟูความสามารถในการทรงตัวเพื่อป้องกันการหกล้มของผสูู้งอายุที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาความสามารถด้านการทรงตัวของผู้สูงอายุได้ คำ สำคัญ: รูปแบบการฟื้นฟู การทรงตัว การหกล้ม ผู้สูงอายุ