ประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการวางแผนจำหน่ายมารดาหลังคลอด ที่ใช้สารเสพติดเมทแอมเฟตามีนต่อความรู้ พฤติกรรมการดูแลตนเองหลังคลอด การกลับมารักษาซ้ำและการกลับมาเสพซ้ำ ในโรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่ง
บทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการแผนจำหน่ายมารดา หลังคลอดที่ใช้เมทแอมเฟตามีนต่อความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองหลังคลอด การกลับมารักษาซ้ำ ภายใน 28 วัน หลังจำหน่าย และการกลับมาเสพสารเสพติดซ้ำภายใน 6 สัปดาห์หลังคลอด กลุ่มตัวอย่าง คือ มารดาหลังคลอดใช้เมท แอมเฟตามีน มาคลอดในโรงพยาบาลสกลนครเดือนตุลาคม 2564–กันยายน 2565 จำนวน 60 ราย แบ่งเป็นกลุ่ม ทดลองและกลุ่ม ควบคุม กลุ่มละ 30 ราย วิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าที และสถิติทดสอบไคสแควร์
ผลการศึกษาพบว่า 1) กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ในการดูแลตนเองหลังคลอด (x ̅ = 19.43, S.D. = 1.11) สูงกว่ากลุ่มควบคุม (x ̅ = 17.17, S.D. = 1.63) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) 2) ค่าเฉลี่ยคะแนน พฤติกรรมในการดูแลตนเองในกลุ่มทดลอง ( x ̅ = 3.76, S.D. = 0.94) และกลุ่มควบคุม (x ̅ = 3.51, S.D. = 1.04) อยู่ในระดับมาก 3) กลุ่มทดลองไม่มีการกลับมารักษาช้ำภายใน 28 วัน กลุ่มควบคุมกลับมารักษาซ้ำภายใน 28 วัน 1 ราย 4) กลุ่มทดลองมีการกลับมาเสพช้ำภายใน 6 สัปดาห์หลังคลอด 1 ครั้ง ขณะที่กลุ่มควบคุมกลับมาเสพซ้ำ ภายใน 6 สัปดาห์หลังคลอด 7 ครั้ง ซึ่งแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) จึงควรนำรูปแบบการวางแผน จำหน่ายมารดาหลังคลอดนี้ไปปรับใช้และศึกษาในหญิงตั้งครรภ์ที่ใช้สารเสพติดทุกชนิดเริ่มตั้งแต่ตั้งครรภ์ เพื่อให้หญิง ตั้งครรภ์มีความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองอย่างถูกต้อง ลดผลกระทบต่อมารดาและทารกแรกเกิด ลดการกลับมา เสพสารเสพติดซ้ำ และได้รับการบำบัดรักษาตามนโยบายกระทรวงสาธารณสุข
คำสำคัญ: การวางแผนจำหน่าย เมทแอมเฟตามีน มารดาหลังคลอด โรงพยาบาลตติยภูมิ