ผลของระบบการพยาบาลสนับสนุนและให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการดูแลเด็กวัยเตาะแตะ โรคปอดอักเสบ โรงพยาบาลอากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร

ผู้แต่ง

  • อรพิน คชพิมพ์ โรงพยาบาลอากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร

บทคัดย่อ

               การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Research) เพื่อศึกษาผลของระบบการพยาบาลสนับสนุน และให้ความรู้ ต่อพฤติกรรมการดูแลของผู้ดูแล ในการดูแลเด็กโรคปอดอักเสบ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ดูแลผู้ป่วยเด็กโรคปอด อักเสบ อายุ 1–3 ปี ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลอากาศอำนวย จำนวน 38 ราย แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม และกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 19 ราย เก็บข้อมูล เดือนกุมภาพันธ์–เมษายน พ.ศ. 2566 เลือกกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีเฉพาะเจาะจง ตามคุณสมบัติที่กำหนด กลุ่มทดลองเป็นกลุ่มที่ได้รับระบบการพยาบาลสนับสนุนและให้ความรู้ กลุ่มควบคุมได้รับการ พยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ดูแลเด็กโรคปอดอักเสบ และ 2) แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลของผู้ดูแลในการดูแลเด็กโรคปอดอักเสบ ซึ่งมีค่าความเที่ยงโดยวิธีสัมประสิทธิ์อัลฟา ของครอนบาค (Cronbach’s alpha coefficient) เท่ากับ 0.80 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (x ̅) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และสถิติเชิงอนุมาน คือ การทดสอบที

               ผลการศึกษาพบว่า หลังการทดลอง ผู้ดูแลที่ได้รับระบบการพยาบาลสนับสนุนและให้ความรู้ มีค่าเฉลี่ยคะแนน พฤติกรรมในการดูแลเด็กโรคปอดอักเสบ (x ̅ = 83.79, S.D. 4.18) สูงกว่าก่อนการทดลอง (x ̅ = 73.32, S.D. 4.20) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และสูงกว่ากลุ่มควบคุม (x ̅ = 74.79, S.D. 3.12) ที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า ระบบการพยาบาลสนับสนุนและให้ความรู้ที่ประกอบด้วยการสอน การสาธิต การชี้แนะ การสนับสนุน และการสร้างสิ่งแวดล้อม สามารถส่งเสริมให้ผู้ดูแลมีพฤติกรรมการดูแล เด็กโรคปอดอักเสบได้ดีขึ้น

               คำสำคัญ: ระบบการพยาบาลสนับสนุนและให้ความรู้ พฤติกรรมการดูแล เด็กวัยเตาะแตะ โรคปอดอักเสบ ผู้ดูแล

ประวัติผู้แต่ง

อรพิน คชพิมพ์, โรงพยาบาลอากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลอากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-09-05