This is an outdated version published on 2021-12-08. Read the most recent version.

การพัฒนาความรอบรู้ทางสุขภาพในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในอำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์

ผู้แต่ง

  • วศิน ทองทรงกฤษณ์ โรงพยาบาลเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์     :   เพื่อศึกษาระดับความรอบรู้ทางสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 พัฒนาความรอบรู้ทางสุขภาพ และประเมินประสิทธิผลของการพัฒนาความรอบรู้ทางสุขภาพ ในการควบคุมระดับน้ำตาลในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในอำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์

วิธีการศึกษา     :   เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ พื้นที่ศึกษาคืออำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์ กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 แบ่งการศึกษาเป็น 2 ระยะคือ ระยะเตรียมการ มีจำนวนตัวอย่าง 116 คน และระยะดำเนินการวิจัย มีจำนวนตัวอย่าง 50 คน เครื่องมือวิจัยมี 3 ชุด คือ แนวทางการสนทนากลุ่ม แนวทางการสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบสอบถาม ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือโดยหาความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา 0.80 – 0.85 และความเชื่อมั่นของเครื่องมือมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค 0.70 – 0.80 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ ร่วมกับการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาแสดงค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าสูงสุด และค่าต่ำสุด และเปรียบเทียบคะแนนความรอบรู้ทางสุขภาพ และค่าเฉลี่ยน้ำตาลสะสมในเลือด ก่อนและหลังการพัฒนาด้วยสถิติ paired t-test และสถิติ Wilcoxon sign ranks test กำหนดระดับความเชื่อมั่นทางสถิติที่ p น้อยกว่า 0.05

ผลการศึกษา     :   ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 มีความรอบรู้ทางสุขภาพอยู่ในระดับรู้จัก ร้อยละ 91.4 เมื่อผ่านกระบวนการพัฒนาความรอบรู้ทางสุขภาพและประเมินประสิทธิผล พบว่า ระดับความรอบรู้ทางสุขภาพเฉลี่ยภาพรวมทุกด้านก่อนและหลังการพัฒนามีความแตกต่างกัน โดยหลังการพัฒนามีระดับความรอบรู้ทางสุขภาพเฉลี่ยสูงกว่าก่อนพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (คะแนนเฉลี่ย 148.1±33.4 และ 199.0±18.6, P=0.001) และผู้ป่วยมีระดับน้ำตาลสะสมในเลือดลดลงหลังการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากค่าเฉลี่ยร้อยละ 6.8±0.6 เป็นร้อยละ 6.7±0.5 (P=0.001)

สรุป              :   ความรอบรู้ทางสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวาน จะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ซึ่งจะช่วยลดหรือชะลอการเกิดภาวะแทรกซ้อนแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง ดังนั้นกระบวนการพัฒนาความรอบรู้ทางสุขภาพให้กับผู้ป่วยเบาหวานจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ทีมสหวิชาชีพต้องร่วมมือกันดำเนินการ

คำสำคัญ         :   ความรอบรู้ทางสุขภาพ, การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด, ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2

เอกสารอ้างอิง

World Health Organization. Diabetes [Internet]. Geneva: Fact sheet; 2018 [cited 2018 Nov 8]. Available from: http://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/diabetes

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครสวรรค์. รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2560. นครสวรรค์: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครสวรรค์; 2560.

Susmita C, Riewpaiboon A, Piyauthakit P, Riewpaiboon W, Boupaijit K, Panpuwong N, et al. Cost of diabetes and its complications in Thailand: a complete picture of economic burden. Health Soc Care Community 2011; 19(3): 289-98.

Norris SL, Nichols PJ, Casperson CJ, Glasgow RE, Engelgev MM, Jack L Jr., et al. Increasing diabetes self-management education in community settings: a systemic review. Am J Prev Med 2001; 22(45): 39-66.

Nutbeam D. Health promotion glossary. Health Promot Int 1998; 13(4): 349-64.

Kemmis S, McTaggart R. The action research planner. 3rd ed. Geelong, Australia: Deakin University Press; 1988.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. สถิติทางวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : วิทยพัฒน์; 2558.

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข, มหาวิทยาลัยมหิดล. การสำรวจความรู้แตกฉาน (health literacy) ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรความดันโลหิตสูง. มปท; 2558.

ประไพพิศ สิงหเสม, พอเพ็ญ ไกรนรา, วรารัตน์ ทิพย์รัตน์, วรรัตน์ สุขคุ้ม. การวิจัยเชิงปฏิบัติการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพผู้สูงอายุ ตำบลหนองตรุด อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2563; 29(5): 790-801.

ธัญชนก ชุมทอง, วิราภรณ์ โพธิศิริ, ขวัญเมือง แก้วดำเกิง. ปัจจัยที่มีผลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง จังหวัดอุทัยธานีและอ่างทอง. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2559; 3(6): 67-85.

ธนาสิทธิ์ วิจิตราพันธ์. ประสิทธิผลของโปรแกรมการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพผู้และพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงเบาหวานของคลินิกหมอครอบครัวบ้านทุ่งเสี้ยว อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2563; 29(4): 618-24.

รัชมนภรณ์ เจริญ, น้ำอ้อย ภักดีวงศ์, อำภาพร นามวงศ์พรหม. ผลของโปรแกรมการพัฒนาความรู้และการมีส่วนร่วมของครอบครัวต่อพฤติกรรมสุขภาพและการควบคุมน้ำตาลในเลือดของผู้สูงอายุที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2. รามาธิบดีพยาบาลสาร 2010; 16(2): 279-92.

เผยแพร่แล้ว

2021-12-08

เวอร์ชัน

วิธีการอ้างอิง

ทองทรงกฤษณ์ วศิน. 2021. “การพัฒนาความรอบรู้ทางสุขภาพในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในอำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์”. Region 3 Medical and Public Health Journal - วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3 19 (1). Nakhonsawan Thailand:1. https://thaidj.org/index.php/smj/article/view/10490.

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article)