การพัฒนาแนวปฏิบัติการให้บริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยโรคเรื้อรังโดยเภสัชกรครอบครัว โรงพยาบาลเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์
คำสำคัญ:
แนวปฏิบัติ, เภสัชกรครอบครัว, โรคเรื้อรังบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการให้บริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยโรคเรื้อรังโดยเภสัชกรครอบครัวและประเมินผลของการใช้แนวปฏิบัติการให้บริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยโรคเรื้อรังโดยเภสัชกรครอบครัว ของโรงพยาบาลเก้าเลี้ยว
วิธีการศึกษา : ศึกษาแบบผสมผสาน (mixed methods research) โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative method) ร่วมกับการวิจัยเชิงปริมาณ (quantitative method) โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการให้บริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ บุคลากรที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบเก็บข้อมูลสำหรับการกำหนดหัวข้อที่ควรมีในแนวปฏิบัติฯ และการตรวจสอบคุณภาพของแนวปฏิบัติฯ โดยผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน 3 คน โดยใช้หลักการเทคนิคเดลฟาย (Delphi technique) เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามสำหรับผู้เชี่ยวชาญลงความคิดเห็นความตรงตามเนื้อหาของคำแนะนำในแนวปฏิบัติฯและวิเคราะห์ความสอดคล้อง โดยคำนวณค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหารายข้อ (Item - Content Validity Index : ICVI) สำหรับการวิจัยเชิงปริมาณใช้เพื่อประเมินผลการใช้แนวปฏิบัติการให้บริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเก้าเลี้ยวและเภสัชกรประเมินพบปัญหาด้านการใช้ยา ระหว่างวันที่ 1 ถึง 30 มิถุนายน 2563 จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แนวปฏิบัติการให้บริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่พัฒนาขึ้น วิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างของอัตราความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยด้วยวิธีนับเม็ดยา โดยใช้ Wilcoxon sign ranks กำหนดนัยสำคัญทางสถิติเมื่อ p-value น้อยกว่า 0.05
ผลการศึกษา : การพัฒนาแนวปฏิบัติการให้บริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง สรุปหัวข้อสำคัญที่ควรมี ได้แก่ 1) เกณฑ์การคัดเลือกผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ต้องติดตามเยี่ยมผู้ป่วยที่บ้าน 2) เกณฑ์ความรุนแรงและความเร่งด่วนในการเยี่ยมผู้ป่วย 3) ขั้นตอนการปฏิบัติงานบริบาลทางเภสัชกรรมของเภสัชกร และ 4) การบันทึกข้อมูลเพื่อประเมินความเหมาะสมการสั่งใช้ยาและติดตามการใช้ยา ผลการนำแนวปฏิบัติฯ ไปใช้ในการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคเรื้อรัง พบว่าก่อนการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยมีความร่วมมือต่อการใช้ยาเฉลี่ยร้อยละ 60.8 ± 7.3 เมื่อผู้ป่วยได้รับการติดตามเยี่ยมบ้านครบ 2 ครั้ง พบว่าผู้ป่วยมีความร่วมมือเพิ่มขึ้นเป็น ร้อยละ 83.3 ± 7.6 ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.5 ± 6.1 (P < 0.001)
สรุป : แนวปฏิบัติการให้บริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยโรคเรื้อรังโดยเภสัชกรครอบครัวที่พัฒนาขึ้น สามารถนำไปใช้ในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังส่งผลให้ผู้ป่วยมีอัตราความร่วมมือในการใช้ยาที่ดีขึ้น
คำสำคัญ : แนวปฏิบัติ, เภสัชกรครอบครัว, โรคเรื้อรัง
เอกสารอ้างอิง
อรรถเกียรติ กาญจนพิบูลวงศ์, ภาณุวัฒน์ คำวังสง่า, สุธิดา แก้วทา, บรรณาธิการ. รายงานสถานการณ์โรค NCDs พ.ศ.2562. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2563.
ธิดา นิงสานนท์,ปรีชา มนทกานติกุล, อุษณีย์ วนรรฆมณี, ธนรัตน์ สรวลเสน่ห์, จตุพร ทองอิ่ม,สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย), บรรณาธิการ. ตำราเภสัชกรครอบครัว. กรุงเทพฯ: ประชาชื่น; 2557.
สมทรง ราชนิยม, กฤษณี สระมุณี. การจัดการปัญหาการใช้ยาของผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่บ้านโดยเภสัชกรครอบครัวในเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอกระนวน. วารสารเภสัชกรรมไทย 2559;8(1):169-81.
บุญถม ปาปะแพ, สาริณี สง่าศรี, ต้องตา ต้นจารย์, อัจฉรีย์ ภูวศิษฐ์เบญจภา, พัชรีย์ สังขเภท, รัตนพร ชนาวิรัตน์, และคณะ. สาเหตุของปัญหาเกี่ยวกับการใช้ยาของผู้ป่วยในการเยี่ยมบ้านโดยเภสัชกรในเขตอำเภอวาปีปทุม มหาสารคาม. ไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ 2556;8(4):148-54.
ปริญา ถมอุดทา, ชมพูนุท พัฒนาจักร,อดิศักดิ์ ถมอุดทา, สุกัญญา คำผา,ศุภิญญา ภูมิวณิชกิน,ปภัสรินทร์ จีรอำพรวัฒน์, และคณะ. ผลของการบริบาลเภสัชกรรมผู้ป่วยต่อเนื่องในชุมชนโดยการออกเยี่ยมบ้านในเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. ศรีนครินทร์เวชสาร 2560;32(3):229-35.
อุไรลักษณ์ เทพวัลย์, สัมมนา มูลสาร, จีรสุดา โอรสรัมย์, ก้องเกียรติ สำอางศรี, เอกราช เย็นวิจิตรโสภา, พุทธางกูร ใจเป็น. ผลของการบริบาลทางเภสัชกรรมโดยการออกเยี่ยมบ้านในผู้ป่วยโรคเบาหวาน. วารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาล 2551;8(1):39-51.
วิรัญชน์ ตวงสุวรรณ, อรัมษ์ เจษฎาญานเมธา. ผลจากการมีส่วนร่วมของเภสัชกรในการเยี่ยมบ้านในทีมสหสาขาวิชาชีพต่อความดันโลหิตและความร่วมมือการใช้ยาของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. วารสารเภสัชกรรมไทย 2559;8(1):48-57.
นรินทรา นุตาดี, กฤษณี สระมุณี. การประเมินผลการเยี่ยมบ้านโดยทีมสหวิชาชีพที่มีเภสัชกรร่วมทีมเพื่อจัดการปัญหาการใช้ยาในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงของโรงพยาบาลน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น. วารสารเภสัชกรรมไทย 2559;8(1):206-16.
ชนานุช มานะดี, ชนัตถา พลอยเลื่อมแสง, พะยอม สุขเอนกนันท์. ผลการดูแลผู้ป่วยสูงอายุโรคเรื้อรังด้านการใช้ยาที่บ้านในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลอำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน 2557;10(3):354-71.
Woolf SH, Grol R, Hutchinson A, Eccles M, Grimshaw J. Clinical guidelines: potential benefits, limitations, and harms of clinical guidelines. BMJ 1999;318(7182):527-30.
World Health Organization Guidelines Review Committee. Handbook for guideline development. Geneva. World Health Organization;2010.
Committee of Ministers of the Council of Europe. Developing a methodology for drawing up guideline on best medical practice. Strasbourg. Council of Europe Publishing; 2001.
The National health and medical research council. A guide to the development, implementation and evaluation of clinical practice guidelines. Canberra. NHMRC; 1998.
National Institute for Health and Care Excellence. Developing NICE guidelines: the manual. Manchester. NICE; 2007.
Polit DF, Beck CT. The content validity index: are you sure you know what's being reported? Critique and recommendations. Res Nurs Health 2006;29(5):489-97.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.