ประสิทธิภาพของน้ำกลั้วคอในการตรวจติดตามผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อไวรัสโคโรนา-2019 และรายงานกลุ่มผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อไวรัสโคโรนา-2019 ในโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์

ผู้แต่ง

  • วิทยา หวังสมบูรณ์ศิริ

คำสำคัญ:

ไวรัสโคโรนา-2019, น้ำกลั้วคอ, การป้ายหลังโพรงจมูกและคอ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์       :    เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของตัวอย่างน้ำกลั้วคอ (throat washing) เปรียบเทียบกับตัวอย่างที่ได้จากการป้ายหลังโพรงจมูกและคอ (nasopharyngeal and throat swab) ในการตรวจติดตามหาเชื้อไวรัสโคโรนา-2019 ภายหลังการรักษาผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อไวรัสโคโรนา-2019 หายเป็นปกติ และรายงานกลุ่มผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อไวรัสโคโรนา-2019 ในการระบาดรอบแรกของโรงพยาบาลสรรค์ประชารักษ์ เพื่อให้ทราบถึงลักษณะทางคลินิกด้านต่าง ๆ ของผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อไวรัสโคโรนา-2019

วิธีการศึกษา         :    ทำการศึกษาแบบ retrospective cohort ในผู้ป่วยที่ยืนยันติดเชื้อไวรัสโคโรนา-2019 ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยแยกโรคโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ ระหว่างเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม 2563 จำนวน 7 ราย เมื่อผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อไวรัสโคโรนา-2019 รักษาหายเป็นปกติดีแล้ว ให้เก็บน้ำกลั้วคอด้วยตัวผู้ป่วยเองเปรียบเทียบกับเก็บตัวอย่างจากการป้ายหลังโพรงจมูกและคอโดยบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา-2019 ทุก 3 วัน จนกว่าจะตรวจไม่พบเชื้อจึงให้ผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาลได้ ข้อมูลผลการตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา-2019 นำมาวิเคราะห์ หาค่าความถูกต้อง (validity)  ค่าพยากรณ์ (predictive value)  ประสิทธิภาพ (efficacy) และรายงานข้อมูลทางคลินิกกลุ่มผู้ป่วยโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา

ผลการศึกษา        :    มีผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อไวรัสโคโรนา-2019 จำนวน 7 คน อายุมีค่ามัธยฐาน(median) 43 ปี (พิสัย 22-54 ปี) ไม่มีผู้ป่วยอาการรุนแรงและไม่มีภาวะหายใจล้มเหลว ไม่มีผู้เสียชีวิต ระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาลมีค่ามัธยฐาน 22 วัน (พิสัย 15-35 วัน) เมื่อได้รับการรักษาจนหายเป็นปกติ มีผู้ป่วย 6 คนได้รับการตรวจติดตามหาเชื้อไวรัสโคโรนา-2019 พบว่า ประสิทธิภาพของน้ำกลั้วคอเมื่อเทียบกับวิธีมาตรฐานป้ายหลังโพรงจมูกและคอมี sensitivity ร้อยละ41.67, specificity ร้อยละ 66.67, positive predictive value ร้อยละ 71.43, negative predictive value ร้อยละ 33.36, และ efficacy ร้อยละ 50.00

สรุป                       :    น้ำกลั้วคอที่เก็บด้วยตัวผู้ป่วยเองมีประสิทธิภาพต่ำในการตรวจติดตามหาเชื้อไวรัสโคโรนา-2019 หลังจากรักษาผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อไวรัสโคโรนา-2019 หายเป็นปกติดีแล้ว น้ำกลั้วคอยังไม่สามารถทดแทนตัวอย่างที่เก็บจากการป้ายหลังโพรงจมูกและคอโดยบุคลากรทางการแพทย์ได้ในการตรวจติดตามหาเชื้อไวรัสโคโรนา-2019 ถึงอย่างไรก็ตามเนื่องจากข้อจำกัดจำนวนผู้ป่วยน้อย จึงควรศึกษาประสิทธิภาพของน้ำกลั้วคอเพิ่มเติมเมื่อมีการระบาดของโรคไวรัสโคโรนา-2019 ครั้งต่อไปและเก็บข้อมูลจำนวนผู้ป่วยให้เพิ่มมากขึ้น

คำสำคัญ               :    ไวรัสโคโรนา-2019, น้ำกลั้วคอ, การป้ายหลังโพรงจมูกและคอ

เอกสารอ้างอิง

Epidemiology Working Group for NCIP Epidemic Response, Chinese Center for Disease Control and Prevention. [The epidemiological characteristics of an outbreak of 2019 novel coronavirus diseases (COVID-19) in China]. Zhonghua Liu Xing Bing Xue Za Zhi 2020;41(2):145-51.

Wu Z, McGoogan JM. Characteristics of and important lessons from the Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) outbreak in China: summary of a report of 72 314 cases from the Chinese Center for Disease Control and Prevention. Jama 2020;323(13):1239-42.

Cucinotta D, Vanelli M. WHO Declares COVID-19 a Pandemic. Acta Biomed 2020;91(1):157-60.

Joob B, Wiwanitkit V. Outbreak of COVID-19 in Thailand: Time Serial Analysis on Imported and Local Transmission Cases. Int J Prev Med 2020;11:43.

Mungmunpuntipantip R, Wiwanitkit V. Spreading from hot foci of COVID-19 to another country: observation from Thailand on disease importation by foreigner. Int J Prev Med 2020;11:49.

Joob B, Wiwanitkit V. COVID-19 in medical personnel: observation from Thailand. J Hosp Infect 2020;104(4):453.

Lotfi M, Hamblin MR, Rezaei N. COVID-19: Transmission, prevention, and potential therapeutic opportunities. Clin Chim Acta 2020;508:254-66.

Anderson EL, Turnham P, Griffin JR, Clarke CC. Consideration of the Aerosol Transmission for COVID-19 and Public Health. Risk Anal 2020;40(5):902-7.

Heinzerling A, Stuckey MJ, Scheuer T, Xu K, Perkins KM, Resseger H, et al. Transmission of COVID-19 to health care personnel during exposures to a hospitalized patient - Solano County, California, February 2020. MMWR Morb Mortal Wkly Rep 2020;69(15):472-6.

Rowan NJ, Laffey JG. Challenges and solutions for addressing critical shortage of supply chain for personal and protective equipment (PPE) arising from Coronavirus disease (COVID19) pandemic - Case study from the Republic of Ireland. Sci Total Environ 2020;725:138532.

Loeffelholz MJ, Tang YW. Laboratory diagnosis of emerging human coronavirus infections - the state of the art. Emerg Microbes Infect 2020;9(1):747-56.

Petruzzi G, De Virgilio A, Pichi B, Mazzola F, Zocchi J, Mercante G, et al. COVID-19: Nasal and oropharyngeal swab. Head Neck 2020;42(6):1303-4.

Wu J, Liu J, Li S, Peng Z, Xiao Z, Wang X, et al. Detection and analysis of nucleic acid in various biological samples of COVID-19 patients. Travel Med Infect Dis 2020:101673.

Mawaddah A, Gendeh HS, Lum SG, Marina MB. Upper respiratory tract sampling in COVID-19. Malays J Pathol 2020;42(1):23-35.

Mittal A, Gupta A, Kumar S, Surjit M, Singh B, Soneja M, et al. Gargle lavage as a viable alternative to swab for detection of SARS-CoV-2. Indian J Med Res 2020;152(1 & 2):77-81.

Guo WL, Jiang Q, Ye F, Li SQ, Hong C, Chen LY, et al. Effect of throat washings on detection of 2019 novel coronavirus. Clin Infect Dis 2020;71(8):1980-1.

Verbeek JH, Rajamaki B, Ijaz S, Sauni R, Toomey E, Blackwood B, et al. Personal protective equipment for preventing highly infectious diseases due to exposure to contaminated body fluids in healthcare staff. Cochrane Database Syst Rev 2020;4(4):Cd011621.

Mahmood SU, Crimbly F, Khan S, Choudry E, Mehwish S. Strategies for rational use of Personal Protective Equipment (PPE) among healthcare providers during the COVID-19 Crisis. Cureus 2020;12(5):e8248.

Fisher CE, Boeckh M, Jerome KR, Englund J, Kuypers J. Evaluating addition of self-collected throat swabs to nasal swabs for respiratory virus detection. J Clin Virol 2019;115:43-6.

Jain U. Risk of COVID-19 due to Shortage of Personal Protective Equipment. Cureus 2020;12(6):e8837.

Zitek T. The Appropriate use of testing for COVID-19. West J Emerg Med 2020;21(3):470-2.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-12-09

วิธีการอ้างอิง

หวังสมบูรณ์ศิริ วิทยา. 2021. “ประสิทธิภาพของน้ำกลั้วคอในการตรวจติดตามผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อไวรัสโคโรนา-2019 และรายงานกลุ่มผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อไวรัสโคโรนา-2019 ในโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์”. Region 3 Medical and Public Health Journal - วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3 18 (3). Nakhonsawan Thailand:238. https://thaidj.org/index.php/smj/article/view/10565.

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article)