ประสิทธิภาพของการตรวจหาเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร ด้วยวิธีการตรวจอุจจาระในผู้ป่วยที่มาอาการทางเดินอาหารส่วนต้น

ผู้แต่ง

  • ปภัสกร นพจรูญศรี อายุรศาสตร์โรคทางเดินอาหาร กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์

คำสำคัญ:

Helicobacter pylori, Stool antigen test

บทคัดย่อ

บทนำ: แฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร (Helicobacter pylori) เป็นเชื้อแบคทีเรียที่พบได้บ่อยในคน ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการอักเสบของกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น แผลเป็บติก (Peptic ulcer) เนื้องอกบางชนิด (MALT lymphoma) และมะเร็งกระเพาะอาหาร การวินิจฉัยปัจจุบันมีหลายวิธีเช่น การตรวจสิ่งส่งตรวจจากเนื้อเยื่อกระเพาะอาหาร (Rapid urease test) การเพาะเชื้อ การตรวจทางพยาธิวิทยา Urea breath test) การตรวจแอนติบอดี และการเก็บตรวจจากอุจจาระ (Stool antigen test)

 

วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบผลการตรวจวินิจฉัยเชื้อแฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร (Helicobacter pylori) ในผู้ที่มีอาการทางเดินอาหารส่วนต้น โดยวิธีการเก็บตรวจจากอุจจาระ (Stool antigen test) กับการตรวจวิธี Rapid urease test

 

วิธีการศึกษา: การศึกษาวิเคราะห์แบบตามขวางโดยเก็บข้อมูลแบบไปข้างหน้า ผู้ป่วยที่มีอาการทางเดินอาหารส่วนต้นที่เข้ารับการตรวจวินิจฉัยโดยการตรวจส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนต้นที่โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ ในช่วงระหว่างวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ.2565 ถึง 3 กันยายน พ.ศ.2565 มีจำนวนทั้งสิ้น 82 รายทุกรายจะมีการส่งตรวจวินิจฉัยเชื้อแฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร (Helicobacter pylori) โดยเก็บสิ่งส่งตรวจจากเยื่อบุกระเพาะอาหาร (Rapid urease test) และเก็บตรวจจากอุจจาระ (Stool antigen test) โดยนำข้อมูลทางคลินิกและข้อมูลจุลชีววิทยามาเปรียบเทียบระหว่าง 2 วิธีตรวจ

 

ผลการศึกษา: จากผู้ป่วยทั้งหมด 82 รายมีผู้ป่วยที่ตรวจเชื้อแฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร โดยวิธี rapid urease test ผลบวก 34 ราย (41.5%) และผลเป็นลบ 48 ราย (58.5%) ผู้ที่ตรวจเชื้อแฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร ด้วยวิธี stool antigen test ผลบวก  32 ราย (39.0% ) และผลเป็นลบ 50 ราย (61.0%) ซึ่งผลค่อนข้างใกล้เคียงกันทั้ง 2 วิธีการตรวจ

 

สรุปผลการศึกษา: การตรวจวินิจฉัยแฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร โดยวิธี stool antigen test ในผู้ที่มีอาการทางเดินอาหารส่วนต้นถือเป็นวิธีที่ทำได้สะดวก สามารถนำไปใช้ในสถานพยาบาลที่มีข้อจำกัดในการตรวจส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนต้น  

คำสำคัญ: Helicobacter pylori ; Stool antigen test

เอกสารอ้างอิง

Warren JR, Marshall BM.Unidentified curved bacilli on gastric epithelium in active chronic gastritis. Lancet1983:1273-5

Marshall BJ, Royce H, Annear Dl, et al. Original isolation of Campylobacter pyloridis from human gastric mucosa. Microbios Lett 1984;25:83-8.

Bonifácio BV, dos Santos Ramos MA, da Silva PB, Bauab TM. Antimicrobial activity of natural products against Helicobacter pylori: a review. Ann Clin Microbiol Antimicrob. 2014;13:54.

Patel SK, Pratap CB, Jain AK, Gulati AK, Nath G. Diagnosis of Helicobacter pylori: what should be the gold standard? World J Gastroenterol. 2014;20:12847–12859.

Roesler BM, Rabelo-Goncalves EM, Zeitune JM. Virulence factors of Helicobacter pylori: a review. Clin Med Insights Gastroenterol. 2014;7:9–17.

Rhee KH, Park JS, Cho MJ. Helicobacter pylori: bacterial strategy for incipient stage and persistent colonization in human gastric niches. Yonsei Med J. 2014;55:1453–1466.

Tadesse E, Daka D, Yemane D, Shimelis T. Seroprevalence of Helicobacter pylori infection and its related risk factors in symptomatic patients in southern Ethiopia. BMC Res Notes. 2014;7:834.

Osawa H. Ghrelin and Helicobacter pylori infection. World J Gastroenterol. 2008;14:6327–6333.

Lopes AI, Vale FF, Oleastro M. Helicobacter pylori infection – recent developments in diagnosis. World J Gastroenterol. 2014;20:9299–9313.

Patel SK, Pratap CB, Jain AK, Gulati AK, Nath G. Diagnosis of Helicobacter pylori: what should be the gold standard? World J Gastroenterol. 2014;20:12847–12859.

Gisbert JP, de la Morena F, Abraira V. Accuracy of monoclonal stool antigen test for the diagnosis of H. pylori infection: a systematic review and meta-analysis. Am J Gastroenterol. 2006;101:1921-30.

Chey WD, Wong BC, Practice Parameters Committee of the American College of Gastroenterology. American College of Gastroenterology guideline on the management of Helicobacter pylori infection. Am J Gastroenterol. 2007;102:1808–1825.

Mandell MA. Transmission of Helicobacter pylori. Semin Gastrointest Dis 1997;8:113-23.

Mégraud F, Lehours P. Helicobacter pylori detection and antimicrobial susceptibility testing. Clin Microbiol Rev. 2007;20:280–322.

Hunt RH, Xiao SD, Megraud F, et al. Helicobacter pylori in developing countriesWorld Gastroenterology Organization Global Guideline. J Gastrointestin Liver Dis. 2011;20:299–304.

Gatta L, Vakil N, Ricci C, et al. Effect of proton pump inhibitors and antacid therapy on 13C-urea breath tests and stool test for Helicobacter pylori infection. Am J Gastroenterol 2004; 99: 823-9.

Graham DY, Opekun AR, Hammoud F, et al. Studies regarding the mechanism of false negative urea breath tests with proton pump inhibitors. Am J Gastroenterol 2003; 98: 1005-9.

Ramis IB, de Moraes EP, Fernandes MS, et al. Evaluation of diagnostic methods for the detection of Helicobacter pylori in gastric biopsy specimens of dyspeptic patients. Braz J Microbiol. 2012;43:903–908.

Pourakbari B, Ghazi M, Mahmoudi S, et al. Diagnosis of Helicobacter pylori infection by invasive and noninvasive tests. Braz J Microbiol. 2013;44:795–798.

Antos D, Crone J, Konstantopoulos N, Koletzko S. Evaluation of a novel rapid one-step immunochromatographic assay for detection of monoclonal Helicobacter pylori antigen in stool samples from children. J Clin Microbiol. 2005;43:2598–2601.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-01-16

วิธีการอ้างอิง

นพจรูญศรี ปภัสกร. 2023. “ประสิทธิภาพของการตรวจหาเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร ด้วยวิธีการตรวจอุจจาระในผู้ป่วยที่มาอาการทางเดินอาหารส่วนต้น”. Region 3 Medical and Public Health Journal - วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3 20 (2). Nakhonsawan Thailand:51-57. https://thaidj.org/index.php/smj/article/view/12646.

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article)