การพัฒนารูปแบบการดูแลภาวะหายใจล้มเหลวในผู้ป่วยปอดอักเสบโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์

ผู้แต่ง

  • ทองสุข สุภาราญ โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์
  • สุทิน พิศาลวาปี โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์
  • พรจันทร์ สุวรรณมนตรี โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์
  • ณปภา อ่อนโนน โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์
  • จันทร์ตรี อรชร โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบการดูแล, ภาวะหายใจล้มเหลวในผู้ป่วยปอดอักเสบ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนารูปแบบและประเมินผลลัพธ์ของ การดูแลภาวะหายใจล้มเหลวในผู้ป่วยปอดอักเสบในโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์
วิธีการศึกษา : เป็นการวิจัยและพัฒนา ศึกษาระหว่างเดือนธันวาคม 2565 ถึงเดือนมิถุนายน 2566 ขั้นตอนการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ วิเคราะห์สถานการณ์ พัฒนารูปแบบการดูแลฯ และประเมินผลลัพธ์ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย พยาบาลวิชาชีพ และผู้ป่วยปอดอักเสบที่มีภาวะหายใจล้มเหลว โดยแบ่งก่อนการพัฒนารูปแบบ 30 คน และหลังการพัฒนารูปแบบ 30 คนเพื่อศึกษาผลลัพธ์การพัฒนารูปแบบฯ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบการประเมินประสิทธิผลความสามารถในการปฏิบัติตามรูปแบบการดูแลภาวะหายใจล้มเหลวในผู้ป่วยปอดอักเสบ แบบประเมินภาวะหายใจล้มเหลว แบบประเมินความพร้อมในการหย่าเครื่องช่วยหายใจ แบบประเมินความพึงพอใจของญาติ/ผู้ป่วยต่อบริการพยาบาล และแบบประเมินสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพวิเคราะห์ข้อมูล ด้วยสถิติเชิงพรรณนา และเปรียบเทียบผลลัพธ์ก่อนและหลังการพัฒนารูปแบบการพยาบาลฯ ด้วยสถิติ t-test, Wilcoxon signed ranks test และ Fisher exact probability test
ผลการศึกษา : รูปแบบการดูแลฯที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ การวางแผนงาน สมรรถนะพยาบาลวิชาชีพ ระบบพี่เลี้ยง แนวปฏิบัติการพยาบาล และการนิเทศทางการพยาบาล ผลลัพธ์การนำรูปแบบการดูแลฯไปใช้ พบว่าค่าคะแนนเฉลี่ยหลังนำรูปแบบไปใช้สูงกว่าก่อนนำรูปแบบไปใช้ ได้แก่ ความรู้ของพยาบาลวิชาชีพ เท่ากับ 12.8 (p–value <0.05) ทักษะพยาบาลเท่ากับ 30.7 (p–value<0.05) ประสิทธิผลความสามารถในการปฏิบัติตามรูปแบบการดูแลฯ เท่ากับ 96.6 ความพึงพอใจญาติ/ผู้ป่วยเท่ากับ 4.85 ความพร้อมในการหย่าเครื่องช่วยหายใจเท่ากับ 20.10 (p–value<0.01) และความสำเร็จในการหย่าเครื่องช่วยหายใจเท่ากับ 80.0 (p–value=0.04)
สรุป : รูปแบบการดูแลฯสามารถเพิ่มความสำเร็จในการหย่าเครื่องช่วยหายใจภาวะหายใจล้มเหลวในผู้ป่วยปอดอักเสบ ในระยะเปลี่ยนผ่านจากภาวะวิกฤตสู่ระยะหลังวิกฤตได้และเกิดผลลัพธ์ที่ดีขึ้นด้านความรู้ ทักษะของพยาบาล ดังนั้นผู้บริหารควรนำระบบนี้ไปใช้ในการปฏิบัติการพยาบาลภาวะหายใจ ล้มเหลวในผู้ป่วยปอดอักเสบ
คำสำคัญ : การพัฒนารูปแบบการดูแล, ภาวะหายใจล้มเหลวในผู้ป่วยปอดอักเสบ

เอกสารอ้างอิง

Schortgen, F., Follin, A., Piccari, L., Roche-Campo, F, Carteaux, G., et al. Results of noninvasive ventilation in very old patients [Internet]. 2012 [cited 2022 Dec 9]. Retrieved from http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/ PMC3306189/pdf/2110-5820-2-5.pdf.

World Health Organization. The top 10 causes of death. 2020. [cited 2022 Dec 12]. Retrieved 01 Feb 2023 from https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/the-top-10-causes-of-death.

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุข พ.ศ.2562. [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 16 ส.ค. 2565].เข้าถึงได้จาก: http://bps.moph.go.th/new_bps/sites/default/files/ statistic62.pdf.

Hirzallah, FM., Alkaissi, A., & do Ceu BarbieriFigueiredo, MA. systematic review of nurseled weaning protocol for mechanically ventilated adult patients. Nursing in critical care 2019;24(2): 89-96.

อนุพล พาณิชย์โชติ และคณะ. อายุรศาสตร์ฉุกเฉิน. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา; 2559.

อภิชาติ คณิตทรัพย์. ปอดอักเสบในผู้สูงอายุ ใน ณรงค์กร ซ้ายโพธิ์กลางและคณะ, บรรณาธิการ. อายุรศาสตร์ผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: กรุงเทพเวชสาร; 2561.

Meleis AI, Sawyer LM, Im E, Messias DK, Schumacher K. Experiencing transitions: An emerging middle-rangetheory. Advance Nursing Science. 2000; 23:12-28.

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. ระเบียบการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์ พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย; 2547.

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2564 (Public Health Statistics A.D. 2021). [Internet]. ปทุมธานี: [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 10 มิถุนายน 2566]. เข้าถึงได้จาก https://spd.moph.go.th/wp-content/ uploads/2022/11/Hstatistic64.pdf

Papazian, L., Klompas, M., & Luyt, CE. Ventilator-associated pneumonia in adults: a narrative review. Intensive care medicine 2020;46(5): 888-906.

เมธี จินะโกฎิ และการันต์ พงษ์พานิช. การเปลี่ยนแปลงของระบบหายใจในผู้สูงอายุและการจัดการทางกายภาพบำบัดทรวงอก. เวชสารแพทย์ทหารบก 2561;71(4):279-83.

ธัญวดี จิรสินธิปก, เพียงใจ เจิมวิวัฒน์กุล, สุวิภา นิตยางกูร, สมจิตต์ วงศ์สุวรรณสิริ และสารา วงษ์เจริญ. มาตรฐานการพยาบาลในโรงพยาบาล พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี: สำนักการพยาบาล กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2551.

Donna LS, Carol LT, Rexan GP. Educationon Patient-Ventilator Synchrony, Clinician’s Knowledge Level, and Duration of Mechanical Ventilation. Am J Crit Care 2016;25(6): 545-551.

Chairatana P, Tudsapornpitakkul S, The Effectiveness of Nursing Care Model for Sepsis Patients. Journal of Nursing and Health Care 2017;35(3): 24-31.

นันทวัน ดาวอุดม, สมฤดี ธันยปาลิต, อัจฉรา สุขมาก, สายสมร เฉลยกิตติ และธมนพัชร์ สิมากร. การพัฒนารูปแบบพยาบาลพี่เลี้ยงโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า. วารสารพยาบาลทหารบก 2559; 17(3): 197-206.

Fatima MH, Aidah A, Maria DCBF. A systematic review of nurse-led weaning protocol for mechanically ventilated adult patients. Nursing in Critical Care 2019; 24(2): 89-96.

Kalliopi K, Guro H, Jennifer T, Leanne MA. Understanding nurses’ decision-making when managing weaning from mechanical ventilation: a study of novice and experienced critical care nurses in Scotland and Greece. Journal of Critical Nursing 2016; 25(3-4): 434-444.

นิภาดา ธารีเพียร, ฐิตินันท์ วัฒนชัย, มนพร ชาติชำนิ. ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2562; 37(1):70-79.

Michelle CG, Kerry JI, Deborash S. Education on invasive mechanical ventilation involving intensive care nurses: a systematic review. Nursing in Critical Care 2018;23(5): 245-255.

ผ่องศรี สุพรรณพายัพ, พรทิพย์ สุขอดิศัย และกรรณิกา อำพน. การพัฒนารูปแบบการนิเทศทางการพยาบาล กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลพระปกเกล้า. การพยาบาลและการศึกษา. 2556; 6: 12-26.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-08-04

วิธีการอ้างอิง

สุภาราญ ทองสุข, พิศาลวาปี สุทิน, สุวรรณมนตรี พรจันทร์, อ่อนโนน ณปภา, และ อรชร จันทร์ตรี. 2023. “การพัฒนารูปแบบการดูแลภาวะหายใจล้มเหลวในผู้ป่วยปอดอักเสบโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์”. Region 3 Medical and Public Health Journal - วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3 20 (3). Nakhonsawan Thailand:172-84. https://thaidj.org/index.php/smj/article/view/14215.

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article)