สาเหตุของการเสียชีวิตระหว่างการรักษาวัณโรคในโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์

ผู้แต่ง

  • ปรเมศร์ ขุนรงณ์ โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์

คำสำคัญ:

วัณโรค, ลักษณะของผู้ป่วย, การเสียชีวิต

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์       : เพื่อศึกษาลักษณะและสาเหตุการเสียชีวิตระหว่างการรักษาของผู้ป่วยวัณโรคในโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์

สถานที่ศึกษา      : คลินิกวัณโรค โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์

รูปแบบงานวิจัย  : การศึกษาเชิงพรรณนา

กลุ่มตัวอย่าง     : ผู้ป่วยวัณโรคที่เสียชีวิตระหว่างการรักษาทุกคนตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2559 ถึง วันที่ 30 กันยายน 2561จำนวน 98 คน

วิธีการศึกษา      : รวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนและทะเบียนผู้ป่วยวัณโรคย้อนหลังประกอบด้วยข้อมูลทั่วไป ประวัติการเจ็บป่วยประวัติการรักษาวัณโรค อาการข้างเคียงและภาวะแทรกซ้อนจากการใช้ยา สาเหตุการเสียชีวิตและระยะเวลาการอยู่รอดและเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากวัณโรคโดยตรงกับผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากภาวะอื่นที่ไม่ใช่วัณโรค

ผลการศึกษา     : ในช่วงระหว่างการศึกษา มีผู้ป่วยเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 6.9ของผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ โดยเสียชีวิตจากวัณโรคโดยตรง ร้อยละ 26.5 พบว่าผู้ที่ไม่ได้เสียชีวิตจากวัณโรคโดยตรงมีอายุเฉลี่ยน้อยกว่าผู้ที่เสียชีวิตจากวัณโรค (54.0±16.4 ปีและ67.0±15.9 ปี;mean difference 13.0; 95%CI of mean difference 5.5-20.5; P < 0.001)และมีการติดเชื้อเอชไอวีมากกว่า(ร้อยละ 42.3 และร้อยละ 8.0; OR 0.12 ; 95%CI 0.03-0.54;P=0.002)ไม่มีความแตกต่างกันของ โรคประจำตัวภาวะโภชนาการ ผลการตรวจเสมหะ ตำแหน่งของการติดเชื้อ ลักษณะของภาพรังสีทรวงอกอาการข้างเคียงและภาวะแทรกซ้อนจากการใช้ยา ในผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่ม ผู้ป่วยที่ไม่ได้เสียชีวิตจากวัณโรคโดยตรงส่วนใหญ่เสียชีวิตจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อเอชไอวี และมะเร็งโดยที่ระยะเวลาในการรอดชีวิตทั้ง2กลุ่มไม่ต่างกัน

วิจารณ์และสรุป : สาเหตุหลักของการเสียชีวิตในผู้ป่วยวัณโรคคือ โรค หรือ ภาวะอื่นๆที่เกิดขึ้นระหว่างการรักษา เช่น การติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อเอชไอวี และมะเร็ง ดังนั้นการดูแลผู้ป่วยวัณโรคที่ดีจึงจำเป็นต้องมีการป้องกันโรคติดเชื้อรวมถึงการวินิจฉัยและรักษาโรคติดเชื้อได้อย่างรวดเร็วเพื่อป้องกันการเสียชีวิต

คำสำคัญ          : วัณโรค ลักษณะของผู้ป่วย การเสียชีวิต

เอกสารอ้างอิง

กลุ่มยุทธศาสตร์และประเมินผล สำนักวัณโรค. สถานการณ์วัณโรคของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2560 [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพมหานคร: สำนักวัณโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2560 [เข้าถึงเมื่อ 25 ธันวาคม 2561]. เข้าถึงได้จาก: https://www.tbthailand.org/download/สถานการณ์วัณโรคของประเทศไทย%2010%20พย%2060%20final%201.pdf

กลุ่มยุทธศาสตร์และประเมินผล สำนักวัณโรค. แผนยุทธศาสตร์วัณโรคระดับชาติ พ.ศ. 2560-2564 [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพมหานคร: สำนักวัณโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2560 [เข้าถึงเมื่อ 25 ธันวาคม2561]. เข้าถึงได้จาก: https://www.tbthailand.org/download/Manual/หนังสือแผนยุทธศาสตร์วัณโรคระดับชาติ%20FINAL_new%20des.pdf

Shen X, Deriemer K, Yuan Z, Shen M, Xia Z, Gui X, et al. Deaths among tuberculosis cases in Shanghai, China : who is at risk?. BMJ Infect Dis 2009;17:95.

Moorman J, Edginton ME. Cause of death of patient on treatment for tuberculosis: a study in a rural South African hospital. IntJTuberc Lung Dis 1999;3:786-90.

Walpola HC, Siskind V, Patel AM, Konstantinos A, Derhy P. Tuberculosis-related deaths in Queensland, Australia, 1989-1998 : characteristic and risk factors. Int J Tuberc Lung Dis 2003;7:742-50.

Waitt CJ, Squire SB. A systematic review of risk factors for death in adults during and after tuberculosis treatment.Int J Tuberc Lung Dis 2011;15:871-85.

Sterling TR, Zhao Z, Khan A, Chaisson RE, Schluger N, Mangura B, et al. Mortality in a large tuberculosis treatment trial: modifiable and non-modifiable risk factors. Int J Tuberc Lung Dis 2006;10:542-9.

Mathew TA, Ovsyanikova TN, Shin SS, Gelmanova I, Balbuena DA, Atwood S, et al. Causes of death during tuberculosis treatment in Tomsk Oblast Russia. Int J Tuberc Lung Dis 2006 ;10:857-63.

Oursler KK, Moore RD, Bishai WR, Harrington SM, Pope DS, Chaisson RE. Survival of patients with pulmonary tuberculosis: Clinical and molecular epidemiologic factors. Clinical infectious diseases 2002;34:752-9.

Okamura K, NagataN,Wakamatsu K, Yonemoto K, ikegameS,Kajiki A, et al. Hypoalbuminemia and Lymphocytopenia are predictive risk factors for in-hospital mortality in patients with tuberculosis. Intern Med 2013;52:439-44.

Nalabothu SK, Menon SK. Role of serum albumin in monitoring nutritional status in patients with pulmonary tuberculosis. Asian Pac J Health Sci 2014;1:486-91.

Isanaka S, Mugusi F, Urassa W, Willett WC, Bosch RJ, Villamor E, et al. Iron deficiency and anemia predict mortality in patients with tuberculosis. J Nutr 2012;142:350-7.

Lin CH, Lin CJ, Kuo YW, Wang JY, Hsu CL, Chen JM, et al. Tuberculosis mortality: patient characteristics and causes. BMC Infect Dis 2014;14:899-907.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2019-05-07

วิธีการอ้างอิง

ขุนรงณ์ ปรเมศร์. 2019. “สาเหตุของการเสียชีวิตระหว่างการรักษาวัณโรคในโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์”. Region 3 Medical and Public Health Journal - วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3 16 (1). Nakhonsawan Thailand:34-44. https://thaidj.org/index.php/smj/article/view/14405.

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article)