ภาวะซึมเศร้าและปัจจัยเสี่ยงฆ่าตัวตายที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าช่วงหลังการระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 ในผู้ป่วยนอก คลินิกจิตเวชและยาเสพติด โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช จังหวัดลพบุรี

ผู้แต่ง

  • ชานนท์ ศิริกุล โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช

คำสำคัญ:

ซึมเศร้า, ฆ่าตัวตาย, ไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19), ความชุก, ปัจจัยเสี่ยง

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกของภาวะซึมเศร้าช่วงหลังการระบาดการของไวรัสโคโรนา 2019 และหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านอาการจากการประเมินภาวะซึมเศร้าช่วงหลังการระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 กับปัจจัยเสี่ยงฆ่าตัวตายความเสี่ยงในการฆ่าตัวตายในผู้ป่วยนอก คลินิกจิตเวชและ ยาเสพติด โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช จังหวัดลพบุรี

วิธีการศึกษา: การศึกษาแบบพรรณนาภาคตัดขวาง สัมภาษณ์และประเมินกลุ่มตัวอย่างโดยใช้แบบประเมิน Hamilton Rating Scale for Depression (HAM-D-7) ระหว่างเดือนมีนาคม-มิถุนายน พ.ศ. 2566 วิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงพรรณนาและการถดถอยโลจิสติก

ผลการศึกษา: ผู้เข้าร่วมวิจัยจำนวน 141 คน มีภาวะซึมเศร้าร้อยละ 85.1 ส่วนใหญ่เป็นระดับเล็กน้อย-ปานกลาง (ร้อยละ 82.3) ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 84.4) อายุ 25-60 ปี (ร้อยละ 62.4) ระดับการศึกษาต่ำกว่ามัธยมศึกษาปีที่ 6 (ร้อยละ 42.4) สถานภาพโสด (ร้อยละ 41.1) รายได้ต่อเดือนน้อยกว่า 15,000 บาท (ร้อยละ 55.3) ไม่มีโรคประจำตัว (ร้อยละ 51.2) เคยมีประวัติการรักษาทางจิตเวช (ร้อยละ 59.6) เคยกักตัวเนื่องจากติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ร้อยละ 72.3) และได้รับผลกระทบจากการจ้างงานช่วงโรคระบาด (ร้อยละ 48.3) ปัจจัยที่เพิ่มโอกาสเสี่ยงในการฆ่าตัวตายอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ ด้านความรู้สึกผิด อาการทางกาย อารมณ์ซึมเศร้า อาการวิตกกังวล อาการหมดเรี่ยวแรงในการใช้ชีวิต อาการหมดความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันและการทำงาน

สรุป: ภาวะหลังโรคระบาดจะพบผู้ป่วยที่มีอาการทางจิตเวช ซึมเศร้า เครียด วิตกกังวลได้เป็นจำนวนมาก และเป็นปัจจัยเสี่ยงฆ่าตัวตายความเสี่ยงในการฆ่าตัวตายได้

คำสำคัญ: ซึมเศร้า, ฆ่าตัวตาย, ไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19), ความชุก, ปัจจัยเสี่ยง

เอกสารอ้างอิง

World Health Organization. Depression [Internet]. Geneva: World Health Organization; 2023 [cited 2023 Jan 3]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/depression.

กรมสุขภาพจิต. เช็ค 9 สัญญาณ “ซึมเศร้า” แค่ไหน ถึงเป็น “โรคซึมเศร้า” [อินเตอร์เน็ต]. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข; 2565 [เข้าถึงเมื่อ 5 มกราคม 2566]. เข้าถึงได้จาก:https://dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=31458.

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. ข้อมูลรายงานการเข้าถึงบริการโรคซึมเศร้า [อินเตอร์เน็ต]. นนทบุรี: สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2566 [เข้าถึงเมื่อ 10 มกราคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://hdcservice.moph.go.th/.

Bueno-Notivol J, Gracia-García P, Olaya B, Lasheras I, López-Antón R, Santabárbara J. Prevalence of depression during the COVID-19 outbreak: A meta-analysis of community-based studies. Int J Clin Health Psychol 2021;21(1):100196.

Santomauro DF, Herrera AMM, Shadid J, Zheng P, Ashbaugh C, Pigott DM, et al. Global prevalence and burden of depressive and anxiety disorders in 204 countries and territories in 2020 due to the COVID-19 pandemic. Lancet 2021;398(10312) :1700-12.

วรินทิพย์ สว่างศรี, นันทยุทธ หะสิตะเวช, ชลธิชา แย้มมา, ณัฐปพน รัตนตรัย, ดุษฎี จึงศิรกุลวิทย์. ความชุกของการรับรู้ความเครียด ภาวะซึมเศร้าและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในผู้ป่วยโรคโควิด 19 เขต กรุงเทพมหานคร [Prevalence of perceived stress and depression and their associated factors among COVID-19 patients in Bangkok]. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย 2564;29(2):114-24.

Premraj L, Kannapadi NV, Briggs J, Seal SM, Battaglini D, Fanning J, et al. Mid and long-term neurological and neuropsychiatric manifestations of post-COVID-19 syndrome: A meta-analysis. J Neurol Sci 2022;434:120162.

Perlis RH, Ognyanova K, Santillana M, Baum MA, Lazer D, Druckman J, et al. Association of Acute Symptoms of COVID-19 and Symptoms of Depression in Adults. JAMA Netw Open 2021;4(3):e213223.

อัจฉราพร สี่หิรัญวงศ์, รณชัย คงสกนธ์. แบบวัด Hamilton Rating Scale for Depression: การวิเคราะห์การรวม กลุ่ม [Thai Version of Hamilton Rating Scale for Depression: Cluster Analysis]. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2544;46(4):311-21.

McIntyre RS, Konarski JZ, Mancini DA, Fulton KA, Parikh SV, Grigoriadis S, et al. Measuring the severity of depression and remission in primary care: validation of the HAMD-7 scale. CMAJ 2005;173 (11):1327-34.

Daniel, WW. Biostatistics: A Foundation for Analysis in the Health Sciences. New York: John Wiley & Sons; 1999.

Chew QH, Wei KC, Vasoo S, Chua HC, Sim K. Narrative synthesis of psychological and coping responses towards emerging infectious disease outbreaks in the general population: practical considerations for the COVID-19 pandemic. Singapore Med J 2020;61(7):350-6.

Ali M, Jatoi S, Maheshwari SD, Bawany MA, Bukhari D. Depression Among Survivors of Covid-19 Infection and Its Impact on the Quality of Life. APMC 2022;16 (1):41-4.

González ÁAO, García JFC, Sandoval LCP, Cuevas JRT, Ibarra SAH, Sandoval DAC, et al. Depressive symptomatology in adults during the COVID-19 pandemic. J Investig Med 2022;70(2):436-45.

Mazza C, Ricci E, Biondi S, Colasanti M, Ferracuti S, Napoli C, et al. A nationwide survey of psychological distress among Italian people during the COVID-19 pandemic: immediate psychological responses and associated factors. Int J Environ Res Public Health 2020;17(9):3165.

Wagner B, Hofmann L, Grafiadeli R. The relationship between guilt, depression, prolonged grief, and posttraumatic stress symptoms after suicide bereavement. J Clin Psychol 2021;77(11): 2545-58.

Kapfhammer HP. Somatic symptoms in depression. Dialogues Clin Neurosci 2022;8(2):227-39.

Sher L. Post-COVID syndrome and suicide risk. QJM 2021;114(2):95-8.

อรพิน ยอดกลาง, มธุรส ทิพยมงคลกุล. โครงการป้องกันและลดปัญหาการฆ่าตัวตายในประเทศไทย (Suicide prevention and reduce self harm in Thailand). ขอนแก่น: โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่น กรมสุขภาพจิต; 2563.

Hong S, Ai M, Xu X, Wang W, Chen J, Zhang Q, et al. Immediate psychological impact on nurses working at 42 government-designated hospitals during COVID-19 outbreak in China: A cross-sectional study. Nurs Outlook 2021;69(1):6-12.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-04-18

วิธีการอ้างอิง

ศิริกุล ชานนท์. 2024. “ภาวะซึมเศร้าและปัจจัยเสี่ยงฆ่าตัวตายที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าช่วงหลังการระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 ในผู้ป่วยนอก คลินิกจิตเวชและยาเสพติด โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช จังหวัดลพบุรี”. Region 3 Medical and Public Health Journal - วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3 21 (2). Nakhonsawan Thailand:67-74. https://thaidj.org/index.php/smj/article/view/14734.

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article)