การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบทีมเป็นฐานในการติดตามเยี่ยมผู้ป่วยผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ
คำสำคัญ:
รูปแบบการเรียนรู้แบบทีมเป็นฐาน, การติดตามเยี่ยมผู้ป่วย, ผ่าตัดแบบวันเดียวกลับบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาและศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนรู้แบบทีมเป็นฐานในการติดตามเยี่ยมผู้ป่วยผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ
วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีขั้นตอนของการวิจัยเป็น 4 ระยะ ได้แก่ การศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการ การออกแบบและพัฒนารูปแบบ การทดลองใช้ และการประเมินผลระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการติดตามเยี่ยมผู้ป่วยผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ โดยทำ การสัมภาษณ์แบบกลุ่ม ตัวอย่างประกอบด้วยแพทย์ พยาบาล บุคลากรทางการแพทย์ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และผู้ป่วยที่เข้ารับบริการ จำนวน 10 คน ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบทีมเป็นฐานในการติดตามเยี่ยม ผู้ป่วยผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ โดยนำข้อมูลจากระยะที่ 1 และจากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องพัฒนาโปรแกรมและเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยและให้ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบและ ให้ข้อเสนอแนะ ระยะที่ 3 และ4 ทดลองใช้รูปแบบฯและ การประเมินผล โดยใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้นและประเมินประสิทธิ ผลของการใช้รูปแบบฯ โดยใช้แบบประเมินในด้านความรู้ ความเครียด กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ จำนวน 30 คน ตามเกณฑ์การคัดเลือกที่กำหนดไว้ ดำเนินระหว่างเดือนมกราคมถึงมิถุนายน 2566
ผลการศึกษา: ระยะที่ 1 ปัญหาและความต้องการด้านผู้ป่วย เช่น ผู้ป่วยมีความกังวลเกี่ยวกับการผ่าตัด ปัญหาความต้องการบุคลากร เช่น การให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยและการปฏิบัติที่ถูกต้อง และการติดตามผู้ป่วยก่อนจะมารับการผ่าตัดก็ไม่สามารถทำได้ครบทุกคน ระยะที่ 2 รูปแบบการเรียนรู้ฯ มีคุณภาพ และสามารถนำมาใช้ได้จริง ระยะที่ 3 และ4 การทดลองใช้และ การประเมินผล พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ได้รับการผ่าตัด Laparoscopic Cholecystectomy ภายหลังการทดลองกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เพิ่มขึ้น และมีระดับความเครียดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p-value น้อยกว่า 0.05
สรุป: รูปแบบการเรียนรู้แบบทีมเป็นฐานในการติดตามเยี่ยมผู้ป่วยผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ เป็นรูปแบบที่มีการดูแลร่วมกันระหว่างทีมสุขภาพรวมถึงการดูแลสุขภาพปฐมภูมิที่บ้านและชุมชน เพื่อให้ผู้ป่วยมีความรู้และลดความเครียดในการดูแลตนเอง และมีการประสานงานกันอย่างต่อเนื่องระหว่าง โรงพยาบาลและชุมชนภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นหลังผ่าตัด
คำสำคัญ: รูปแบบการเรียนรู้แบบทีมเป็นฐาน, การติดตามเยี่ยมผู้ป่วย, ผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ
เอกสารอ้างอิง
กระทรวงสาธารณสุข, กรมการแพทย์. ข้อเสนอแนะด้านการพัฒนาระบบบริการผ่าตัดวันเดียวกลับและการผ่าตัดแผลเล็ก (ODS&MIS) ปี 2566. กรุงเทพฯ : จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์, 2566.
Suominen T, Turtiainen A-M, Puukka P, Leino-Kilpi H. Continuity of care in day surgical care-perspective of patients. 2014; 28 (4), 706-715.
Fitriyanti P, Basilius Y. W., Febrina S.H.: The Role of the Nurse Unit Manager Function on Nursing Work Performance: A Systematic Review. Journal Ners 2019; 14: 231- 235.
Coleen Arlette Cox: Nurse manager job satisfaction and retention: A home health care perspective. Nursing management 2019, 17-23. content/uploads/ 2022/10/slide-29965.pdf สืบค้นเมื่อ 3 กรกฎาคม 2566
Larry K. Michaelsen. Getting Started with Team-based Learning. University of Oklahom. 2013.
Cohen J. Statistical Power Analysis for the Behavior Sciences. 2nd ed. Hillsdale, NJ: Lawrence Erlbaum Associate; 1988.
อวยพร จงสกุล และคณะ.การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับแบบครบวงจรของโรงพยาบาลพหลพยุหเสนา. วารสารแพทย์ เขต 4-5 2562; 39(1): 109-125.
ชญานิศ ธัมธนพัฒน์. ศึกษาการพัฒนาระบบการผ่าตัดและการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ (One Day Surgery: ODS) โรงพยาบาลสิรินธร จังหวัดขอนแก่น. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อม และสุขภาพชุมชน 2564; 6(1): 57-63.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2024 Region 3 Medical and Public Health Journal - วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.